ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุน ต่อความรู้ การคลอดก่อนกำหนดและการกลับมารักษาซ้ำในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลกุมภวาปี
คำสำคัญ:
ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุน, ความรู้, การคลอดก่อนกำหนด, การกลับมารักษาซ้ำ, ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุน ต่อความรู้เรื่องการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด การคลอดก่อนกำหนดและการกลับมารักษาซ้ำในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ณ โรงพยาบาลกุมภวาปี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การศึกษา คือ สตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 24 – 36 สัปดาห์ ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด และเข้ารับบริการรักษาโดยการยับยั้งการคลอด ที่ห้องคลอด โรงพยาบาลกุมภวาปี จำนวน 30 คน เก็บข้อมูลในระหว่างเดือนกันยายน - พฤศจิกายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานใช้สถิติ Paired t-test เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้เรื่องการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดก่อนและหลังการทดลอง
ผลการศึกษาพบว่า ก่อนการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด เท่ากับ 6.67 คะแนน(S.D.=1.80) อยู่ในระดับปานกลาง และหลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด เท่ากับ 9.77 คะแนน(S.D.= 0.43) อยู่ในระดับสูง และพบว่า หลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (t=9.820, p-value <0.001, 95% CI = 2.45 – 3.74) และนอกจากนี้สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและได้รับโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุน สามารถยับยั้งการคลอดก่อนกำหนดทุกคน คิดเป็นร้อยละ 100 และไม่มีการกลับมารักษาซ้ำด้วยภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 93.3
References
ประพนธ์ จารุยาวงศ์. มาตรฐานทางสูติศาสตร์กับปัญหาการคลอดก่อนกำหนด. ในวิทยา ถิฐาพันธ์, นิศารัตน์ พิทักษ์วัชระ และพจนีย์ ผดุงเกียรติวัฒนา (บรรณาธิการ), วิกฤตในเวชปฏิบัติปริกำเนิด.กรุงเทพฯ: พี. เอ.ลีฟวิ่ง; 2555.
ธีระ ทองสง, บรรณิการ. สูติศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 6). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2564.
Liu, L. et al. Global, regional, and national causes of under-5 mortality in 2000–15: An updated systematic analysis with implications for the Sustainable Development Goals. The Lancet 2016; 388(10063): 3027–3035.
Simmons, L. E., Rubens, C. E., Darmstadt, G. L., & Gravett, M. G. Preventing preterm birth and neonatal mortality: exploring the epidemiology, causes, and interventions. Seminars in perinatology2010; 34(6): 408–415. https://doi.org/10.1053/j.semperi.2010.09.005
จรินทร์ทิพย์ สมประสิทธิ์. การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. ใน: คมสันต์ สุวรรณฤกษ์ และเด่นศักดิ์ พงศ์โรจน์เผ่า (บรรณาธิการ). ภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีสมุทรสาคร; 2554.
ชุษณะ มะกรสาร (บรรณาธิการ). การแพทย์ไทย 2554 - 2557. นนทบุรี: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2557.
Frey, H.A., & Klebanoff, M.A. The epidemiology, etiology, and costs of preterm birth. Seminars in Fetal and Neonatal Medicine 2016; 21(2): 68–73.
สายฝน ชวาลไพบูลย์. ตำราคลอดก่อนกำหนด. กรุงเทพฯ:ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2553.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. รายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี งบประมาณ 2562. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
ประชุมพร สุวรรณรัตน์, ทิพย์วรรณ บุณยาภรณ์, ศศิธร คำพันธ์. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมศักยภาพสตรีตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดต่ออัตราการเกิดภาวะเจ็บครรภ์คลอดและการคลอดก่อนกำหนด. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา 2565; 5(3): 81-91.
สุภาพ ไทยแท้. การพยาบาลสูติศาสตร์ : ภาวะผิดปกติในระยะคลอด. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.
บังอร ล้อมไธสง. รูปแบบการวางแผนจำหน่ายหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดโรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2566; 3(3): 431-442.
ชุติมา เทียนชัยทัศน์, กนกภรณ์ อ่วมพราหมณ์, นภาภรณ์ เกตุทอง และ ชณุตพร สมใจ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ 2565; 5(1): 35-46.
Orem, D. E. Nursing Concepts of Practice. the United States of America: Mosby,Inc; 2001.
วรรณลักษณ์ สุประดิษฐอาภรณ์. ผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-4 คลินิกโรคไต โรงพยาบาลท่าตะโก. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอร์ทเทิร์น 2565, 3(4): 1-23.
วรรษมน ปาพรม, สมสมร เรืองวรบูรณ์, สมปอง พะมุลิลา, นุชรัตน์ มังคละศีรี, และ มารศรี ศิริสวัสดิ์. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดของมารดาวัยรุ่น. วารสารพยาบาลสงขลำนครินทร์ 2562; 39(9): 86-96.
ห้องคลอด โรงพยาบาลกุมภวาปี. สถิติการคลอด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563-2566. อุดรธานี: โรงพยาบาลกุมภวาปี; 2566.
Bloom, B.S. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill; 1971.
ศิริพร มีหมู่ และจินตนา ตั้งวรพงศ์ชัย. ผลของโปรแกรมสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแล ทารกคลอดก่อนกำหนดน้ำหนักน้อยของมารดาหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดกึ่งวิกฤต โรงพยาบาลศรีนครินทร์. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2560; 40(4): 21-30.
ทิพย์วรรณ ประสาสน์ศักดิ์, วิรัชนี สุขวัฒนานนท์, และศศิธร อินทุดม. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการป้องกันและการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลแพร่. วารสารโรงพยาบาลแพร่ 2563; 45: 47-55.
สุพัตรา ปิ่นแก้ว, เอมพร รตินธร, เยาวลักษณ์ เสรีเสถียร, วิบูลย์เรืองชัยนิคม. ผลของโปรแกรมการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดต่ออัตราการเกิดภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและอัตราการคลอดก่อนกำหนด.วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2557; 22:58-71.