การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานก่อนและขณะตั้งครรภ์ : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • สารณี ไชยวิเศษ งานห้องคลอด โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

สตรีตั้งครรภ์, เบาหวานขณะตั้งครรภ์, การดูแล

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เพื่อศึกษาและพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานก่อนและขณะตั้งครรภ์ อาการทางคลินิก ภาวะแทรกซ้อน การรักษาและการพยาบาล ผลลัพธ์การรักษา ผลลัพธ์ด้านทารก และจำนวนวันนอนโรงพยาบาล การศึกษาสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์  มี 4 ระยะ ได้แก่ ระยะรอคลอด ระยะคลอด ระยะหลังคลอด ระยะจำหน่าย การวางแผนการจำหน่ายตามหลัก D-METHOD
     ผลการศึกษาพบว่า : การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานก่อนและขณะตั้งครรภ์  ที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์โดยใช้แนวคิดการประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนกอร์ดอน เพื่อค้นหาปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยนำมาปฏิบัติตามกระบวนการพยาบาล โดยสตรีตั้งครรภ์ที่มารับบริการเป็นผู้ป่วยที่มาเองและผู้ป่วยที่ส่งต่อรักษาจากโรงพยาบาลชุมชน และได้จัดการปัญหาเพื่อช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ จนกระทั่งปลอดภัยและจำหน่ายกลับบ้านทั้งมารดาและทารก

References

กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.(2561). แนวทางการพัฒนาระบบบริการพยาบาล: Service Plan. บริษัท สำนักพิมพ์สื่อตะวัน จำกัด. ปทุมธานี.

คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามา มหาวิทยามหิดล.(n.d.).การใช้และปัญหาจากยาใกล้ตัว : ทำความรู้จักยาพาราเซตามอล (paracetamol) . สืบค้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2565.จาก:https://www.rama.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/pois-cov/Paracet.

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.(2563).หน่วยเภสัชสนเทศและบริการสังคมเพื่อการศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป.สืบค้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2565 .จาก: http://drug.pharmacy.psu.ac.th/webboard/wball. php?idqa=66

จุฑารัตน์ ชัยวีรพันธ์เดช และสิวิลักษณ์ กาญจนบัตร.(2559).ผลกระทบต่อทารกจากมารดาที่ใช้สารเมทแอมเฟตามีนก่อนคลอด. Vajira Med J.; 60(1): 53-64.

จิรัชยา หนูสิงห์, สุพิศ ศิริอรุณรัตน์ , ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี.(2557). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการดำเนินชีวิตกับการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 14(1),226-240.

ชัยกิจ อุดแน่น.(2565). ปัจจัยทำนายการคลอดก่อนกำหนดในสตรีตั้งครรภ์ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช.The Journal of Prapokklao Hospital Clinical Medical Education Center วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 39 (3) ,294-301.

ฐิติพร สิริวชิรชัยและคณะ.(2560).คู่มือการดูแลรักษาสตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงและโรคสตรีทางนรีเวช เขตสุขภาพที่7.ปรับปรุงครั้งที่3 .ขอนแก่น: พิมพ์ที่ หจก.ขอนแก่นการพิมพ์

ฐิรวรรณ บัวแย้ม เพียงบุหลัน ยาปานและสุจิตตรา พงศ์ประสบชัย. (2562). การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด . Rama Nurs J .2019 ; 25(3) ,243-254.

บุศรินทร์ เขียนแม้น เยาวเรศ ก้านมะลิ และวรรณวิมล ทุมมี. (2562). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ,15 (3), 286 -300.

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย.(2560).แนวทางเวชปฏิบัติ เรื่อง การดูแลรักษาภาวะเจ็บครรภ์คลอด และถุงน้ำคร่ำรั่วก่อนกำหนด The Management of Preterm Labour and Preterm Premature Rupture of Membranes.กรุงเทพมหานคร: ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย.

รัชนี ผิวผ่อง.(2564).เอกสารประกอบการสอนวิชา 9552203 การประเมินภาวะสุขภาพ ,คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

รัชนี ผิวผ่อง.(2562).11 แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน. สืบค้นวันที่ 20 ตุลาคม 2564 จากhttps://nursing62.blogspot.com/2019/09/11.html.

ประไพรัตน์ แก้วสิริ,ดารุนนีย์ สวัสดิโชตติ์ และตรีนุช คำทะเนตร.(2562). ปัจจัยทำนายการคลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์ในจังหวัดนครพนม .วารสารกองการพยาบาล ,นนทบุรี : กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขม33(1),73-86.

เฟื่องลดา ทองประเสริฐ.(n.d.).ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด Preterm Labor เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม2565.จาก: https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lessons/preterm-labor/

วรชัย ชื่นชมพูนุท. (n.d.). ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2565.จาก: https://medparkhospital.com/content/preterm-labor.

ศรินรัตน์ ศรีประสงค์. (2562). การซักประวัติตามแบบแผนสุขภาพ. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564. จากhttps://issuu.com/sarinrutsriprasong/docs/______________11_______

ศศิกานต์ กาละ.(2562).การพยาบาลสตรีที่มีการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด (Preterm Labour) ในสุนันทา ยังวนิชเศรษฐ ,วรางคณา ชัชเวช, สุรีย์พร กฤษเจริญและ ศศิกานต์ กาละ (บรรณาธิการ) ,การพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 2 (เล่ม 2) Maternal Newborn Nursing and Midwifery 2.(หน้า62-75)กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ศิริวรรณ แสงอินทร์.(2557). การพยาบาลมารดาที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด.วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา,22 (1), 27-38.

สุนทรีย์ ศรีโกไศยและพันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์.(n.d.). ผลกระทบของการเสพเมทแอมเฟตามีนในผู้หญิง:การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ Impacts of mathamphetamine Use in woman: A systematic Review.วารสารสำนักงาน ป.ป.ส.,52-64.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น.(2566). สถิติ Health Data Center : ผู้คลอดที่มารับบริการด้วยภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดระหว่างปี พ.ศ.2563 – 2565. สืบค้นวันที่ 20 ตุลาคม 2565 จากhttps://nursing62.blogspot.com/2019/09/11.html.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29