การพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูสภาพในชุมชน: กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • นภาพร ธีระนันท์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมอง, ชุมชน, ระยะฟื้นฟูสภาพ

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูสภาพในชุมชน 2 ราย วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ดูแลต่อเนื่องระยะฟื้นฟูสภาพในชุมชน เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน จำนวน 2 ราย เครื่องมือที่ใช้ประกอบการศึกษาประกอบด้วย ข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย แบบบันทึกข้อมูลเยี่ยมบ้านตามแนวทาง IN HOME SSS แบบประเมินกิจวัตรประจำวัน ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel Activities of Daily Living: ADL) การสัมภาษณ์ และการสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูล เปรียบเทียบ พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดงการรักษา แบบแผนสุขภาพ ปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพที่ส่งผลต่อการเกิดโรค ปัญหาและข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและการดูแลฟื้นฟูสภาพในชุมชน โดยการประสานงานร่วมกันของทีมสหวิชาชีพทั้งในและนอกองค์กร กรณีศึก: เปรียบเทียบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 2 ราย รายที่ 1 ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 85 ปี อาการสำคัญ ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรงข้างช้าย 40 นาที ก่อนมาโรงพยาบาลได้รับการวินิจฉัย Acute Ischemic stroke รายที่ 2 ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 83 ปี อาการสำคัญ ซึม พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว แขนขาข้างซ้ายอ่อนแรง 6 ชั่วโมง ก่อนมาโรงพยาบาลได้รับการวินิจฉัย Acute Ischemic stroke ผู้ป่วยทั้งสองรายรับไว้รักษา ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน หลังผ่านช่วงวิกฤตของโรคสู่ระยะฟื้นฟูสภาพ แพทย์จำหน่ายและส่งต่อเพื่อดูแลต่อเนื่องระยะฟื้นฟูสภาพที่บ้านโดยทีมดูแลต่อเนื่องในชุมชนร่วมกับทีมสหวิชาชีพ
     จากการศึกษาในครั้งนี้พบว่า ผู้ป่วยได้รับการรักษาตามสภาพปัญหา ในรายที่มาถึงโรงพยาบาลล่าช้า เกินกว่า 4.5 ชั่วโมง จึงไม่สามารถให้ยาละลายลิ่มเลือด rt-PA ได้ ซึ่งพยาบาลวิชาชีพมีบทบาทสำคัญในการดูแลติดตามอาการตั้งแต่แรกรับ ระยะนอนรักษาในโรงพยาบาล และระยะที่กลับไปอยู่ในชุมชนเพื่อฟื้นฟูสภาพ ทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ ลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยและญาติเมื่อผู้ป่วยกลับมาอยู่ที่บ้าน นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ญาติ ผู้ดูแล และเครือข่ายมีความรู้ในการดูแลฟื้นฟูและลดปัจจัยเสี่ยงโอกาสกลับมาเป็นซ้ำ ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน โดยการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ และมีช่องทางสื่อสารที่สะดวกรวดเร็วเมื่อผู้ป่วยและญาติต้องการความช่วยเหลือ

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2560). คู่มือโรคหลอดเลือดสมองสำหรับประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สถาบันประสาทวิทยา.

มินตรา ธรรมกุล. (2564). การพยาบาลผู้ป่วยโรคสมองตีบในชุมชน: กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต,1(2), 64-76.

จุฑากานต์ โชติรัตนะศิริ และยงชัย นิละนนท์. (2562). คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองผ่านช่องทางเร่งด่วน (stroke fast track) ของโรงพยาบาลศิริราช. คืนเมื่อ 26 ตุลาคม 2566, จาก https://www.sirirajstrokecenter.org/2019/3641.html

แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. (2559). ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

ศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ จังหวัดชลบุรี. (2554). คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล. คืนเมื่อ 26 ตุลาคม 2566, จาก https://shorturl.asia/dOMLX

สมศักดิ์ เทียมเก่า. (2566). อุบัติการณ์โรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทย. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย,39(2), 39-46.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. (2566). ข้อมูลผู้ป่วยจากฐานระบบ Health data center ขอนแก่น. ค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2566, จาก https://www.kkpho.go.th/index.php

World Stroke Organization [WSO]. (2019). About World Stroke Day. Retrived October 22, 2023, from https://ncdalliance.org/news-events/news/worldstrokeday2019

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29