ผลของรูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยโดยบทบาทของพยาบาลวิชาชีพและการใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินระยะรอคอย โรงพยาบาลกุดจับ
คำสำคัญ:
การคัดกรองผู้ป่วย, พยาบาลวิชาชีพ, การใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินระยะรอคอยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยโดยใช้การปฏิบัติบทบาทอิสระของพยาบาลวิชาชีพ ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉิน และประสิทธิผลของการใช้รูปแบบต่อระยะเวลารอคอยของผู้ป่วย ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 – มีนาคม พ.ศ. 2567 กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติหน้าที่คัดแยกแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลกุดจับ อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 16 คน เครื่องมือ ได้แก่ รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยโดยบทบาทของพยาบาลวิชาชีพและการใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินระยะรอคอย แบบสังเกตการจำแนกผู้ป่วย แบบบันทึกระยะเวลารอคอยของผู้ป่วย และแบบสอบถามการปฏิบัติบทบาทอิสระของพยาบาลวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและเชิงปริมาณ ด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ One sample t-test statistic และ Paired t-test statistic ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
พบว่า รูปแบบฯ กำหนดประเภทผู้ป่วยออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ วิกฤต (Immediate) ได้รับการดูแลรักษาทันทีเจ็บป่วยรุนแรง (Emergency) ได้รับการรักษาภายใน 10 นาที เจ็บป่วยปานกลาง (Urgency) ได้รับการรักษาภายใน 30 นาที เจ็บป่วยเล็กน้อย (Semi-Urgency) ได้รับการรักษาภายใน 60 นาที และเจ็บป่วยทั่วไป (Non-Urgency) สามารถรอรับการรักษาได้ภายใน 120 นาที ด้านประสิทธิผลของการใช้ รูปแบบ หลังการใช้รูปแบบการคัดแยก ระยะเวลารอคอยของผู้ป่วยวิกฤตเท่ากับเกณฑ์มาตรฐานของออสเตรเลีย (เฉลี่ย 0.02 นาที, <0 นาที)
References
กงทอง ไพศาล. (2554). การพัฒนาเครื่องมือจำแนกประเภทผู้ป่วย งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น, วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 34 (3) : 57-64
อัมภา ศรารัชต์, จินนะรัตน์ ศรีภัทรภิญโญ และอมรรัตน์ อนุวัฒ นนทเขตท์. (2547). การจำแนกประเภทผู้ป่วย งานบริการพยาบาลผู้ป่วยใน กรุงเทพ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
สุดาพรรณ ธัญจิรา และวนิดา ออประเสริฐศักดิ์. (2546). การพยาบาลฉุกเฉินและอุบัติภัยหมู่ พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพ : สามเจริญพาณิชย์
โรงพยาบาลกุดจับ. ความเสี่ยงกลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลกุดจับ.; 2565.
Australian Government. (2007). Emergency Triage Education Kit [Online]. Available from: http://www.ag.gov.au/cca [2023, August 20]
Gilboy N, Tanabe P, Travers D, Rosenau, AM. Emergency Severity Index (ESI): A Triage Tool for Emergency Department Care, Version 4. Implementation Handbook 2012 Edition. AHRQ Publication No.12-0014. Rockville, MD: Agency for Healthcare Research and Quality; 2015.
Australian Government. EmergencyTriage Education Kit 2019. [Online]. 2019 [2023, August 20]. Available from: www.ag.gov.au/cca
กฤษณาพร ทิพย์กาญจนเรขา. การดูแลผู้สูงอายุในภาวะฉุกเฉิน. [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.bcn.ac.th/infomation/Files/Attachfile
ภุมรินทร์แซ่ลิ่ม, ประสิทธิ์วุฒิสุทธิเมธาวี. การคัดแยกด้วยเกณฑ์คัดแยกและมาตรความเฉียบพลันแคนาดาในแผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร 2556;28(4):205-11.