ผลของโปรแกรมการจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ โรงพยาบาลพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต จังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
โรคเบาหวานชนิดที่ 2, การจัดการตนเอง, ระดับน้ำตาลสะสมในเลือดบทคัดย่อ
การศึกษากึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ โรงพยาบาลพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ เลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติแบบเจาะจง จำนวน 30 คน ดำเนินการระหว่างเดือนธันวาคม 2566-กุมภาพันธ์ 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ โปรแกรมการจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพื้นฐานเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเปรียบเทียบใช้ Paired t-test
ผลการศึกษาพบว่าก่อนได้รับโปรแกรมการจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเองกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (=3.23, S.D.=0.24) และหลังได้รับโปรแกรมพบว่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองภาพรวมยังคงอยู่ในระดับปานกลาง (=3.52, S.D.=0.45) และพบว่าหลังได้รับโปรแกรมคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มตัวอย่างโดยภาพรวมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-3.526, p=0.001) และด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังได้รับโปรแกรมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ด้านการควบคุมอาหาร (t=-3.731, p=0.001) ด้านการจัดการกับความเครียด (t=-2.660, p=0.013) ด้านการใช้ยารักษาโรคเบาหวาน (t=-3.003, p=0.005) ด้านการดูแลตนเองเมื่อเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำ (t=-3.496, p=0.002) และด้านการดูแลรักษาต่อเนื่อง (t=-2.971,p=0.006) และผลการติดตามระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของกลุ่มตัวอย่างหลังได้รับโปรแกรมลดลงเมื่อเทียบกับก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=5.068, p<.001)
References
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566. กรุงเทพมหานคร: ศรีเมืองการพิมพ์จำกัด; 2566.
สมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี. รายงานสถานการณ์โรคเบาหวาน พ.ศ. 2563 [Internet]. สิงหาคม 2566 [เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2566]. แหล่งข้อมูล http://www.dmthai.org
กองโรคไม่ติดต่อ. จำนวนและอัตราผู้ป่วยในปี 2559 -2561 (ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, หลอดเลือดหัวใจ, หลอดเลือดสมอง, COPD) [Internet]. สิงหาคม 2566 [เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2566]. แหล่งข้อมูล http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=13684&tid=32&gid=1-020
กรมการแพทย์. รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (Chronic Care Model: CCM). นนทบุรี: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2559.
Chrvala Ca, Sherr D, Lipman RD. Diabetes self-management education for adults with type 2 diabetes mellitus: a systematic review of the effect on glycemic control. Patient Educ Couns 2016;99:926-943.
Humayan MA, Jenkins E, Knott J, Ryder J, Shaban C, Weiss M. et al. Intensive structured education for type 1 diabetes management using BERTIE: long-term follow-up to assess impact on glycemic control and quality of life indices. Diabetes Res Clin Pract 2018;143:275-281.
American Association of Diabetes Educators. AADE position statement. Individualization of diabetes self-management education. Diabetes Educ 2007, 33(1),45-49.
สาวิตรี นามพะธาย, วีนัส ลีฬหกุลและศากุล ช่างไม้. ผลของโปรแกรมการจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2561.
กฤตกร หมั่นสระเกษ, ทัศนีย์ รวิวรกุล และ สุนีย์ ละกำปั่น. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้อินซูลิน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2562, 25(2),87-103.
เพ็ญบุญญา สัตยสมบูรณ์, สุวรรณี สร้อยสงค์, ภัณฑิรชา เฟื่องทองและคุณญา แก้วทันคำ. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่ 2563, 6(1), 166-180.
ประพิมศรี หอมฉุย, ศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตรและชญานินท์ ประทุมสูตร. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลในกระแสเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2563, 12(1),240-254.
อณัญญา ลาลุนและบษพร วิรุณพันธ์. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อระดับน้ำตาลสะสมในเลือดและคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ 2564, 11(1),66-80.
สุปรียา เสียงดัง. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560, 4(1),191-204.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. การตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด;2549
ทัศนีย์ ขันทอง, แสงอรุณ อิสระมาลัยและพัชรี คมจักรพันธุ์. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้อินซูลิน. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์;2555.
กนกวรรณ ด้วงกลัด, ปัญญรัตน์ ลาภวงศ์วัฒนาและณัฐกมล ชาญสาธิตพร. โปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2563,36(1),66-83.