การพยาบาลผู้คลอดที่ตกเลือดหลังคลอดเนื่องจากภาวะมดลูกไม่หดรัดตัว: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • เพ็ญจันทร์ ธรรมเกษร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

ตกเลือดหลังคลอด, ภาวะมดลูกไม่หดรัดตัว

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้คลอดที่ตกเลือดหลังคลอดจากภาวะมดลูกไม่หดรัดตัว กรณีศึกษา 2 รายเลือกแบบเจาะจง โดยคัดเลือกผู้คลอดที่มีตกเลือดหลังคลอดเนื่องจากภาวะมดลูกไม่หดรัดตัว เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จำนวน 2 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย จากผู้ป่วย และจากญาติ กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล โดยใช้แนวคิด 11 แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน วางแผนปฏิบัติการพยาบาลตามข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล สรุปและประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล
     ผลการศึกษา: กรณีศึกษาที่ 1 ผู้คลอดหญิงลาว อายุ 32 ปี G2P1A0L1 อายุครรภ์ 39 สัปดาห์ by ultrasound เจ็บครรภ์ก่อนมาโรงพยาบาล 2 ชั่วโมง เจ็บครรภ์คลอดทุก 5 นาที นาน 1 นาที มีมูกเลือดออกทางช่องคลอด ไม่มีน้ำเดิน เด็กดิ้นดี ทารกเป็นเพศหญิง น้ำหนักแรกคลอด 3,200 กรัม ใช้วิธี Active management เลือดออกก่อนรกคลอด 500 มิลลิลิตร 1 ชั่วโมงหลังคลอดปกติมีภาวะมดลูกหดรัดตัวไม่ดี เสียเลือด 1,000 มิลลิลิตร รวม 1,500 มิลลิลิตร นอนพักรักษาในโรงพยาบาล 3 วัน กรณีศึกษาที่ 2 ผู้คลอดหญิงไทยอายุ 24 ปี G1P0A0L0  อายุครรภ์ 39 สัปดาห์ 4 วัน 4 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล ท้องปั้นแข็ง ครั้งละน้อยกว่า 2 นาที ไม่สม่ำเสมอ ร่วมกับมีน้ำเดิน คลอดทารกเป็นเพศหญิง น้ำหนักแรกคลอด 4,050 กรัม ใช้วิธี Active management มีเลือดออกก่อนรกคลอด 500 มิลิลิตร รกคลอดมีเลือดออกทันที 500 มิลลิลิตร หลังคลอดปกติมีภาวะมดลูกหดรัดตัวไม่ดี ปากมดลูกฉีกขาด เสียเลือดรวมเป็น 1,000 มิลลิลิตร นอนพักรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลา 2 วัน

References

สุพัตรา ศิริโชติยะกุล. การดูแลปัญหาที่พบบ่อยทางสูติ-ศาสตร์: ภาวะตกเลือดหลังคลอด. กรุงเทพมหานคร: ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย; 2555.

เวชระเบียนห้องคลอด โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. สรุปรายงานคลอดปีงบประมาณ 2564-2566. กาฬสินธุ์ กลุ่มงานผู้คลอด โรงพยาบาลกาฬสินธุ์, 2566.

ธีระ ทองสง. สูติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: พีบีบุ๊ค: 2555.

แนวทางเวชปฏิบัติของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย.(2563). เรื่องการป้องกันและรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอด. คณะอนุกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2562-2564.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, อัตราส่วนการตายมารดาไทย. (2564) สืบค้นจาก https://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/mmr/index?year=2021

พิรุฬห์ สิทธิพล. (2020), การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะช็อกจากการตกเลือดหลังคลอด:กรณีศึกษา. Academic Journal of Mahasarakham Provincial Public Health Office, 277-292.

Alemu, F. M., Fuchs, M. C., Martin Vitale, T., & Abdalla Mohamed Salih, M. (2019). Severe maternal morbidity (near-miss) and its correlates in the world’s newest nation: South

Gordon, M. (1994). Nursing diagnosis: Process and Application. New York: McGraw-Hill

Jensen, S. (2019). Nursing health assessment: a best practice approach. Edition 3.Philadelphia: Wolters Kluwer Health.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29