การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันร่วมกับระยะฟื้นฟู : กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การพยาบาล, โรคหลอดเลือดสมอง, ระยะเฉียบพลันและระยะฟื้นฟูบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์การนำกระบวนการพยาบาลประยุกต์ใช้ร่วมกับแนวคิดทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันร่วมกับระยะฟื้นฟู เลือกศึกษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันที่เข้ารับบริการแผนกผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลเจ็ดเสมียน จำนวน 1 ราย ศึกษาโกดยใช้กรอบแนวคิดตามขั้นตอนกระบวนการพยาบาล ร่วมกับหน้าที่หลักทางคลินิกของพยาบาล : 7 Aspects of care โดยแก้ไขปรับปรุงแผนการพยาบาลให้เหมาะสมกับปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยที่มีการเปลี่ยนแปลง
ผลการศึกษา พบว่า จากกรณีศึกษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันร่วมกับระยะฟื้นฟู เป็นผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 72 ปี เข้ารับการรักษาที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวชในโรงพยาบาลเจ็ดเสมียน ด้วยอาการแขนขาซ้ายอ่อนแรง ปากเบี้ยว มุมปากซ้ายตก ได้ให้การดูแลรักษาเนื้อเยื่อสมองขาดออกซิเจนสงสัยจากการตีบตันของหลอดเลือดสมอง ป้องกันการเกิดความดันในกะโหลกศีรษะสูงจนผู้ป่วยปลอดภัยจึงส่งไปรับการรักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลโพธาราม และผ่าตัดสมองที่โรงพยาบาลศิริราช หลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลผู้ป่วยหลงเหลือความพิการ พยาบาลให้การดูแลต่อเนื่องโดยการเยี่ยมบ้านเพื่อฟื้นฟูสภาพ ตลอดจนช่วยเหลือปรับปรุงสภาพแวดล้อมในบ้านจนผู้ป่วยและญาติสามารถดูแลตนเองได้ ไม่กลับมาเป็นซ้ำของภาวะโรคหลอดเลือดสมอง
References
กระทรวงสาธารณสุขโดยกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 20 ธ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://bps.moph.go.th/
กระทรวงสาธารณสุขโดยกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายละเอียดตัวชี้วัด กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2566 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20 ธ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://bps.moph.go.th/
คลังข้อมูลการแพทย์และสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข. Health Data Center : HDC [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 20 ธ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php
จินตนา วัชรสินธุ์. การพยาบาลอนามัยครอบครัวที่มีสมาชิกเจ็บป่วยเรื้อรัง. ชลบุรี: ชลบุรีการพิมพ์; 2560.
ปราณี เกษรสันติ์. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารพยาบาลและกระทรวงสาธารณสุข. 2563; 80-95.
พรศิริ พันธสี. กระบวนการพยาบาลและระบบแผนสุขภาพ: การประยุกต์ใช้ทางคลินิก. พิมพ์ครั้งที่ 20. สมุทรปราการ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ; 2560.
เวชระเบียนและสถิติโรงพยาบาลบ้านโป่ง. รายงานสถิติประจำปี 2564-2566. ราชบุรี: โรงพยาบาลบ้านโป่ง; 2566.
เสาวลี นิจอภัย. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบในชุมชน. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2560;7(3):321-328.
สภาการพยาบาล. สมรรถนะผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ ฯ: สิริยอดการพิมพ์; 2556.
สิรัชชา จิรจารุภัทรและคณะ. การศึกษาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนโดยเน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง. วารสาร มฉก.วิชาการ. 2563;13(26):1-18.
สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์. แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันสำหรับแพทย์ Clinical Practice Guidelines for Ischemic Stroke. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ ฯ: บริษัทธนาเพรสการพิมพ์; 2562.
อรนันท์ หาญยุทธ. กระบวนการพยาบาล : ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ธนอรุณการพิมพ์; 2565.