การพัฒนารูปแบบการจัดการสิ่งปฏิกูลจากรถสูบสิ่งปฏิกูลที่ถูกหลักสุขาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7
คำสำคัญ:
ระบบบำบัดสิ่งปฏิกูล, รูปแบบการพัฒนา, ผลกระทบต่อสุขภาพ, การจัดการสิ่งปฏิกูล, สิ่งปฏิกูล, พยาธิใบไม้ตับ, รถสูบสิ่งปฏิกูล, นโยบายและศักยภาพบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา สถานการณ์การจัดการสิ่งปฏิกูล นโยบายศักยภาพและการพัฒนารูปแบบการจัดการสิ่งปฏิกูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่เทศบาลหรือ อบต.ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 จำนวน 423 แห่ง และแบบเจาะจงที่จัดทำระบบบำบัดสิ่งปฏิกูลจำนวน 15 แห่ง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ไคสแควร์และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่าเทศบาลหรืออบต. มีข้อบัญญัติท้องถิ่นเรื่องการจัดการปฏิกูลมูลฝอย ร้อยละ67.1 นำสิ่งปฏิกูลไปทิ้งที่ทางสาธารณะ ร้อยละ 75.9 ด้านนโยบาย พบว่า ร้อยละ 67.8 ของผู้บริหารสนใจการพัฒนาแก้ไขปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ด้านศักยภาพ พบว่า ร้อยละ 91.2 เจ้าหน้าที่ทุกระดับให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในงานขององค์กร และพบว่าผู้บริหารสนใจแก้ไขปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กับการกำหนดนโยบาย ส่วนการพัฒนารูปแบบการจัดการสิ่ง
ปฏิกูลที่ถูกหลักสุขาภิบาล ด าเนินการใน 7 ขั้นตอน ได้แก่1) ด้านการสร้างความสนใจแก่ผู้บริหาร 2) ด้านการสร้างองค์ความรู้ 3) ด้านการสร้างความร่วมมือ 4) ด้านการวางแผนดำเนินการ 5) ด้านกระบวนการจัดทำระบบบ าบัด 6) ด้านการควบคุมกำกับการบริหารจัดการ 7) ด้านการสร้างคุณค่าสร้างแรงจูงใจ
References
Waraporn Phimpaphai, Sirikachorn Tangkawattana, Suwicha Kaseamsuwan, Banchob Sripa. Social Influence in Liver Fluke Trasmission: Application of Social Network Analysis of Food Sharing in THAI Isaan Culture. Advances in Parasitology 2018: 101 ;97- 124.
Jongsuksuntigul P, Imsomboon T. Epidemiology of opisthorchiasis and national control program in Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 1998; 29:327-32.
Piboon Sithithaworn, Rose H Andrews Nguyen Van De, Thitima Wongsaroj, Muth Sinuon, Peter Odermatt, et al., The current status of opisthochiasis and clonochiasis in the Mekong Basin. Parasitology International Vol61, 2012; 10-16
เขตสุขภาพที่ 7, ข้อมูลการตรวจอุจจาระประชาชนในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7. 2566 ; อ้างถึงใน รายงานการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 7
วาทินี จันทร์เจริญ และปิยมาภรณ์ ดวงมนตรี. รูปแบบการจัดการสิ่งปฏิกูลของผู้ประกอบการรถ สูบสิ่ง ปฏิกูลและการปนเปื้อนของไข่พยาธิ ตัวพยาธิ จากตะกอนสิ่งปฏิกูลที่รถสูบสิ่งปฏิกูลนำไป ทิ้งในที่ทางสาธารณะหรือเอกชนในพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ ศูนย์อนามัยที่ 7 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2562
สุกานดา พัดพาดี ,ปิยมาภรณ์ ดวงมนตรี ,วาสนา ลุนสำโรง ,สุพัฒน์ เพ็งพันธ์ ,ชนะจิตร ปานอู. การศึกษาสถานการณ์การจัดการสิ่งปฏิกูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดกาฬสินธุ์. กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2558
สำนักงานสารนิเทศ. แหล่งข่าวเพื่อมวลชน:สธ. เผย WHO ระบุพยาธิใบไม้ตับเป็นเชื้อก่อมะเร็งท่อ น้ำดีพบมากที่สุดในโลกที่ภาคอีสาน. กระทรวงสาธารณสุข ; 18 มกราคม 2559
วาทินี จันทร์เจริญ และปิยมาภรณ์ ดวงมนตรี. การศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพจากการจัดการสิ่ง ปฏิกูลในครัวเรือนของประชาชนในพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำลำปาว จ.กาฬสินธุ์. ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
Taro Yamane. Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row; 1973.
อมรรัตน์ นธะสนธิ์, นพวรรณ เปียซื่อ และไพลิน พิณทอง.ความรู้ทางโภชนาการ ทัศนคติ เกี่ยวกับอาหาร พฤติกรรมการรับประทานอาหารและภาวะโภชนาการใน กึ่งชนบทจังหวัด อุบลราชธานี. Rama Nurs J• ;2017 Vol. 23(3): 344-357 เข้าถึงใน file:///C:/Users/admin/Downloads/rnjbenjawan,+Journal+manager,+%E0%B8%9A%E0%B8% 97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88+7.pdf
สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม. การจัดการสิ่งปฏิกูลสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น “การรองรับ การเก็บ การขนและการกำจัดสิ่งปฏิกูล” กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.2562 เข้าถึงใน https://env.anamai.moph.go.th/web-upload/11xc410600758f76a9b83604e779b2d1de5/202211/m_page/37639/2169/file_download/c3e17819ae0c88400a646ab6d1e9eae7.pdf
สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม คู่มือการจัดการสิ่งปฏิกูลแบบครบวงจร กรมอนามัย กระทรวง สาธารณสุข ; เข้าถึงจากhttps://hpc2service.anamai.moph.go.th/emedia/files/p//132_20150907124444.pdf
ไฉไล ช่างดำ บุญเกิด เชื้อธรรม สุกัญญา เชื้อธรรม รูปแบบการจัดการสิ่งปฏิกูลขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในเขตสุขภาพที่10 อุบลราชธานี วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2564; 4 (1) :12-27
ธนัชชา ชวลิขิต. ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาองค์กรให้มีศักยภาพในการทํางานสูงในเขตกรุงเทพ สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคําแหง ผู้รับผิดชอบบทความ. เข้าถึงจาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/twin10/6314154251.pdf