การพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีโรคร่วมได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม : กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
กระบวนการพยาบาล, ผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีโรคร่วมได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมดบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา 2 ราย ในผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีโรคร่วมได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เพื่อเปรียบเทียบ สาเหตุการเกิดโรค อาการ การรักษา ภาวะแทรกซ้อน โดยใช้วิธีศึกษาด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา จากประวัติเวชระเบียน การสังเกต และการสัมภาษณ์ ประเมินตามกรอบการประเมินภาวะสุขภาพ 11 แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน ปฏิบัติการพยาบาลตามแนวคิดกระบวนการพยาบาล กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล สรุปและประเมินผลลัพธ์ในระยะก่อนการผ่าตัด หลังการผ่าตัด การฟื้นฟูสภาพ และการดูแลต่อเนื่อง โดยใช้ทฤษฎีการปรับตัวของรอย (Roy adaptation theory) สู่การปฏิบัติการพยาบาลในระยะนี้ เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถเรียนรู้ ส่งเสริมศักยภาพ ปรับตัว ได้อย่างเหมาะสม ใช้ระยะเวลาศึกษา เดือนมกราคม 2566 – สิงหาคม 2566
ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยส่งเสริมการเกิดภาวะข้อเข่าเสื่อมของกรณีศึกษาผู้สูงอายุทั้ง 2 ราย ที่เหมือนกันคือ อายุที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะข้อเข่าเสื่อม โดยกรณีศึกษาที่1 หญิงสูงอายุรูปร่างท้วมก่อนผ่าตัดควบคุมโรคความดันโลหิตสูงด้วยยาที่ใช้อยู่เป็นประจำ รักษาด้วยการผ่าตัด Bilateral Total knee arthroplasty (TKA) with medial release โดย ทำ epidural block in bilateral TKA จัดการอาการปวดด้วย Epidural morphine 72 ชั่วโมงหลัง และบริหารข้อเข่าทั้ง 2 ข้าง โดยใช้เครื่องบริหารข้อเข่าต่อเนื่อง ได้ 0-120 องศา ฝึกเดินด้วยเครื่องพยุงเดิน 4 ขา ระยะเวลานอนในโรงพยาบาล 8 วัน ส่วนกรณีศึกษาที่ 2 หญิงสูงอายุกว่า รูปร่างผอม มีโรคประจำตัวเป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะที่ 4 โรคโลหิตจางเรื้อรัง และโรคความดันโลหิตสูงที่ใช้ยาไม่ต่อเนื่อง รักษาด้วยการผ่าตัด Left knee arthroplasty หลังการผ่าตัด 24 ชั่วโมง มีอาการ Acute chest pain รักษาด้วยยา ASA gr.V, Palvix, Enoxaparin หลังผ่าตัด 48 ชั่วโมง อาการดีขึ้น บริหารข้อเข่าซ้าย เครื่องบริหารข้อเข่าต่อเนื่องได้ 0-90 องศา และฝึกเดิน ระยะเวลานอนในโรงพยาบาล รวม 10 วัน กรณีศึกษาทั้ง 2 รายนัดติดตามการรักษา 2 สัปดาห์ โดยกรณีศึกษารายที่ 2 นัดฟื้นฟูสภาพข้อเข่าที่แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลขอนแก่นทุกวัน
References
สุวรรณี สร้อยสงค์, อังคณา เรือนก้อน, ภัณฑิรชา เฟื่องทอง, ผุสดี สระทอง. Nursing Care for Elderly People with Knee Osteoarthritis. Reg 11 Med J. 1 เมษายน 2019;33(2):197–210.
ปิยาวดี เจี่ยเจริญ. การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมด : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 31 ธันวาคม 2023;8(3):386–92.
สารสนเทศทางการแพทย์ โรงพยาบาลขอนแก่น. รายงานการผ่าตัดผู้ป่วยเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. โรงพยาบาลขอนแก่น; 2566.
8/1 KhonKaen-Hospital. ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (ADL). Report No.: From 13/1_NUR Asessment 2.
Butsankot P, Kongklang J. การพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยบาดเจ็บกระดูกสันหลังและไขสันหลังในระยะฟื้นฟู. Srinagarind Med J-ศรีนครินทร์ เวช สาร. 2021;36(5):639–48.
วรรณี สัตยวิวัฒน์. การพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วน จำกัด เอ็นพีเพรส.; 2553.
ระพีพัชร หิรันย์ณรงค์, มลิวัลย์ ออฟูวงศ์, ปัณณวิชญ์ เบญจวลีย์มาศ. Patient’s Perceptions on Complications and Practices When Receiving Spinal Anesthesia in Songklanagarind Hospital. Srinagarind Med J-ศรีนครินทร์เวชสาร. 30 มิถุนายน 2022;37(3):218–24.
ภาวะดี ณ นคร. การพยาบาลผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม : กรณีศึกษา 2 ราย. Acad J Mahasarakham Prov Public Health Off. 10 พฤศจิกายน 2020;104–21.
เสาวณีย์ ศิริพันธุ์, อุดรทักษ์ อ, ละม้ายศรี ว, คาดีวี ย. ผลการจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีภาวะน้ำเกิน คลินิกไตวายเรื้อรัง โรงพยาบาลเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2563. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 30 กันยายน 2020;5(3):1–9.
ไสว นรสาร, พีรญา ไสไหม. แนวคิดและหลักการจัดการผู้ป่วยบาดเจ็บสำหรับพยาบาล. กรุงเทพ: บียอนด์ เอ็นเทออร์ไฟรซ์; 2559. (การพยาบาลผู้บาดเจ็บ Trauma nursing).
รักสกุลชัย ทองจันทร์, กิตติวรรณ จันทร์ฤทธิ์, ธนากร ธนวัฒน์. ปัจจัยทำนายความเสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี งิ้วงาม. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2564;7(02):118–118.