การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพสำหรับประชาชนกลุ่มวัยทำงาน อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ถนัต จ่ากลาง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, กลุ่มวัยทำงาน, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลรูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพสำหรับประชาชนกลุ่มวัยทำงาน อายุ 35-59 ปี ในอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ที่มีผลการคัดกรองยืนยันความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประชากรกลุ่มตัวอย่างสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 60 คน รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และอภิปราย การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ t-test
     จากการศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพแต่ละด้าน พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง 5 ด้าน คือ ด้านความรู้ความเข้าใจ ก่อนการพัฒนาร้อยละ 46.0 หลังการพัฒนาร้อยละ 40.0 แต่ระดับดีเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 21.8 เป็นร้อยละ 36.0 ด้านการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการสุขภาพ ก่อนการพัฒนา ร้อยละ 48.3 หลังการพัฒนาเพิ่มเป็นร้อยละ 62.0 ด้านการสื่อสารสุขภาพ ก่อนการพัฒนาร้อยละ 56.8 หลังการพัฒนาร้อยละ 60.5 ด้านการจัดการตนเอง ก่อนและหลังการพัฒนาร้อยละ 61.8 แต่ระดับดีเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 21.8 เป็นร้อยละ 30.5 และด้านพฤติกรรมสุขภาพ ก่อนและหลังการพัฒนา ร้อยละ 66.8 แต่ระดับดีเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 15.0 เป็นร้อยละ 25.0 และส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี 2 ด้าน คือ ด้านการรู้เท่าทันสื่อ ก่อนการพัฒนาร้อยละ 73.3 หลังการพัฒนาร้อยละ 86.8 และด้านทักษะการตัดสินใจเลือกปฏิบัติ ก่อนการพัฒนาร้อยละ 48.4 หลังการพัฒนาร้อยละ 56.9 โดยทุกด้านมีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=<0.05) 

References

Nutbeam D. Health promotion glossary. Health Promotion International 1998; 13(4): 349-364.

อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์. การขับเคลื่อนความรอบรู้ด้านสุขภาพและการสื่อสารสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 23 ก.ย. 2566]. แหล่งข้อมูล: http://doh.hpc.go.th/data/HL/HL_DOH_drive.pdf

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2561. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2561.

สุพัตรา ศรีวณิชชากร. สถานการณ์การป่วยและการตายด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 และโรคหัวใจและหลอดเลือด) ในประเทศไทยในระยะ 5 ปี (2553-2557). วารสารควบคุมโรค 2560;43(4):379-90.

จุรีพร คงประเสริฐ, ธิดารัตน์ อภิญญา. บรรณาธิการ. คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2558.

กมลรัตน์ เทอร์เนอร์, สมพร รักความสุข, อรวรรณ ดวงใจ. ความฉลาดทางสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2561;12(1),1-9.

สุพัตรา แก้วเมือง, สุนีรัตน์ ยั่งยืน, อุดมศักดิ์ มหาวีรวัฒน์, ชัชฎา มหาวีรวัฒน์. ความรู้เท่าทันด้านสุขภาพกับพฤติกรรมดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในเขตชนบท. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชนมหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2563;(3):311-322.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเป้าหมายการดำเนินงาน ปีงบประมาณ พ.ศ.2560 กรุงเทพมหานคร. 2560.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น (2565). รายงานภาวะสุขภาพกลุ่มวัยทำงาน. [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 20 พ.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: http://www.kkpho.go.th

Kemmis S, Mc Taggart R. Participatory Action Research: Communicative Action and The Public Sphere. In Handbook of Qualitative Research. 3rd (edit by Denzin N.K.&Lincoln YS). London: Sage Publications; 2005.

Altin S, Stock S. Health Literate Health care Organizations and Their Role in Future Health care. Journal of Nursing and Care 2015; 4(2): 1-3.

สมพงษ์ จันทร์โอวาท, สุภาพร สุโพธิ์, นวรัตน์ บุญนาน. การพัฒนารูปแบบการ มีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้ป่วยโรค เรื้อรัง. วารสาวิชาการสาธารณสุข 2557; 23(3), 394-402.

พิชชาดา สุทธิแป้น. (2559). การวิจัยและพัฒนาโปรแกรมการจัดการตนเองที่มีต่อพฤติกรรมการดำเนินชีวิตอย่างมีสุขภาวะที่ดีและผลลัพธ์สุขภาพ สำหรับผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูง. ปริญญานิพนธ์ ปร.ด. (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Bjørk IT, Lomborg K, Nielsen CM, Brynildsen G, Frederiksen AS, Larsen K, et al. From Theoretical Model to Practical Use: an Example of Knowledge Translation. Journal of Advanced Nursing 2013; 69(10): 1-11.

รุ่งนภา อาระหัง. (2560). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน]. นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2560.

กชกร ธรรมนำศีล, ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ,พัชราพร เกิดมงคล, จินตนา อาจสันเที๊ยะ. ผลของโปรแกรม การส่งเสริมการดูแลตนเอง ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้. วารสารวิพยาบาลสาธารณสุข 2558; 29(2),43-55.

เอื้อจิต สุขพูล, ชลดา กิ่งมาลา, ภาวิณี แพงสุข, ธวัชชัย ยืนยาว, วัชรีวงค์ หวังมั่น. ผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับประชาชนกลุ่มวัยทำงาน. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2563; 29(3): 419-429.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29