การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้และการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะหอบกำเริบในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลเรณูนคร จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • นวพร เกตสุระ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลเรณูนคร จังหวัดนครพนม

คำสำคัญ:

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, การให้ความรู้, การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการให้ความรู้และการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะหอบกำเริบในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลเรณูนคร จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ได้รับการสุ่มแบบง่าย จำนวน 65 คน มี เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินปัจจัยเสี่ยง แบบวัดความรู้โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และแบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพ การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลทั่วไป แบบประเมินปัจจัยเสี่ยงใช้ค่าจำนวน ร้อยละ ความรู้และพฤติกรรมสุขภาพใช้คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลลัพธ์ ก่อน-หลัง การพัฒนารูปแบบฯ โดยใช้สถิติ paired t-test
     ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 65 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 53 คน ร้อยละ 81.5 อายุ 70 ปีขึ้นไปมากที่สุด จำนวน 25 คน ร้อยละ 28 มีประวัติการสูบบุหรี่ จำนวน 44 คน ร้อยละ 67.7 ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดภาวะหอบกำเริบมากที่สุด คือ ความเย็นและความชื้น ร้อยละ 15.4 รองลงมาคือ ฝุ่น สัตว์เลี้ยง และเกสรดอกไม้ ร้อยละ 13.9, 12.3 และ 12.3 ตามลำดับ หลังการพัฒนารูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเพิ่มขึ้น (ก่อน; gif.latex?\bar{X}= 7.38, SD=1.548, หลัง;gif.latex?\bar{X}= 9.85, SD=.441) และแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.05 ด้านพฤติกรรมการดูแลตนเองพบว่า ด้านการใช้ยาและสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}=3.41-4.20) การออกกำลังกายและการรับประทานอาหารอยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{X}=2.61-3.40) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพรายด้านแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

References

สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย. (2565). แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคปอดอุดกันเรื้อรัง พ.ศ. 2565. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ. บริษัทภาพพิมพ์ จำกัด.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. (2566) Health Data Center สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์.

กัลยรัตน์ สังข์มรรทร, ศศิธร กระจายกลาง, และเพ็ญจันทร์ วันแสน. (2564). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 36 (2), 327-342.

พรวิภา ยาสมุทร, พิศมัย ศรีสุวรรณนพกุล, นันทณา วงศ์พรหม, วิภาพรรณ หมื่นมา, ช่อทิพย์ พรหมมารัตน์ และอรุณวดี โชตินันท์. (2563). การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบองค์รวมและครบทุกมิติโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(2); 281-292.

ปิยะวรรณ กุวลัยรัตน์, กมลพร มากภิรมย์, สุดฤทัย รัตนโอภาส. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะกำเริบและมารักษาที่แผนกฉุกเฉินของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(2); 29-41.

ปัทมาพร ชนะมาร. (2561). การพัฒนาโปรแกรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจังหวัดมหาสารคาม.[ปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขายุทธศาสตร์ การพัฒนาภูมิภาค]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เนาวรัตน์ ชำนาญกิจ. (2564).ผลของการใช้รูปแบบการบริการพยาบาลคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังคุณภาพแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 6(4); 158-167.

สราญรัตน์ ส่งข่าว, เขมารดี มาสิงบุญ, ชุติมา ฉันทมิตรโอภาสและปณิชา พลพินิจ.(2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการป้องกันการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. 17(4); 335-343.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29