การพัฒนาโปรแกรมการสอนแนะและพัฒนาทักษะผู้ดูแลเพื่อป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะที่บ้าน
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะที่บ้านบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาโปรแกรมการสอนแนะและพัฒนาทักษะผู้ดูแลเพื่อป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะที่บ้าน กลุ่มตัวอย่างเป็นอสม. หรือผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและการดูแลผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะและแบบประเมินการฝึกทักษะตามมาตรการป้องกันการติดเชื้อ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลการศึกษาก่อน-หลัง ด้วยสถิติ paired t-test
ผลการศึกษาพบว่า ด้านความรู้ 1) ความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมมีค่าคะแนนเฉลี่ย 7.93 อยู่ในระดับปานกลาง หลังเข้าร่วมกิจกรรมมีคะแนนความรู้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 8.83 อยู่ในระดับดีมาก เปรียบเทียบก่อน-หลัง เข้าร่วมกิจกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2) ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะและการป้องกันการติดเชื้อ ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมก่อนเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ มีค่าคะแนนเฉลี่ย 8.67 อยู่ในระดับดีมาก หลังเข้าร่วมกิจกรรมมีคะแนนความรู้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 9.77 อยู่ในระดับดีเยี่ยม เปรียบเทียบก่อน-หลัง เข้าร่วมกิจกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ด้านทักษะการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อ 1) การล้างมือ 7 ขั้นตอน 2) การสวมใส่และถอดถุงมือ 3) การใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก 4) การสวมใส่เสื้อคลุมแบบสะอาด ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มตัวอย่าง มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในช่วงไม่ปฏิบัติ จำนวน 2-3 ข้อ หลังเข้าร่วมกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในช่วงปฏิบัติถูกต้องทุกข้อ การนำผลงานวิจัยไปใช้ อสม. หรือผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver)อายุที่เข้าร่วมอบรมตามโปรแกรมฯ ดูแลผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะที่บ้าน จำนวน 28 ราย เมื่อติดตามผู้ป่วยครบ 3 เดือน พบว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
References
กาญจนา ชวนไชยสิทธิ์, กิตติรัตน์ สัสสติวัดษ์ และ ศันสนีย์ ชัยบุตร. (2561). การพัฒนาระบบการพยาบาลเพื่อป้องกันและควบคุมการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยที่ได้รับการใส่คาสายสวนปัสสาวะ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36 (1); 224-233.
จุฬาพร ขำดี. (2561). ผลการส่งเสริมปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ งานผู้ป่วยในโรงพยาบาลศรีประจันต์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุพรรณบุรี, 1(2); 39-55.
ปาณิสรา ส่งวัฒนายุทธ. (2564). บทบาทพยาบาลในการสอนแนะเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมในสตรี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 8(2); 304-314.
มนสภรณ์ วิทูรเมธา (2566). การดูแลผู้ใส่คาสายสวนปัสสาวะเมื่ออยู่บ้าน (Indwelling urinary catheter care). สืบค้นจาก https://haamor.com/ /การดูแลผู้ใส่คาสายสวนปัสสาวะเมื่ออยู่บ้าน
อนุสรา แก้ววิชัย (2558). ผลของการส่งเสริมการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในการป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมระบบประสาทโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ.
วนิดา สมภูงาและพุทธิไกร ประมวล. (2565). การพัฒนาและการประเมินผลของรูปแบบการจัดการตนเองแบบมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 15 (1); 273-287.