ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการกินปลาดิบของประชาชนในพื้นที่ตำบลนาคำ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • เมืองแมน มนัสศิลา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนอุดม หมู่ 9ตำบลนาคำ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

การทำนายปัจจัยเสี่ยง, พฤติกรรมการกินปลาดิบ, ประชากรกลุ่มเสี่ยง, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการกินปลาดิบของประชาชนตำบลนาคำ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 18 – 60 ปี ตำบลนาคำ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 138 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน 2566 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์รายคู่ขั้นต้น โดยใช้ Chi square, Fisher’s Exact, Simple logistic regression และ Crude Odd วิเคราะห์ปัจจัยทำนายโดยใช้สถิติ Multiple logistic regression และ Adjusted Odd ratio
     ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เพศหญิงร้อยละ 76.09 มีอายุเฉลี่ย 40.29 ปี (SD = 11.39 ปี) สถานภาพสมรสคู่ร้อยละ 86.23 การศึกษาสูงสุดระดับมัธยมศึกษาร้อยละ 63.77 มีรายได้เฉลี่ย 11,720.00 บาท (SD=9,047.70 บาท) ประกอบอาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 89.13 และมีพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 17.39 พฤติกรรมการกินปลาดิบและการตรวจพยาธิ พบว่า พฤติกรรมกินปลาดิบในรอบ 1 ปีร้อยละ 18.12 (95%Cl :4.0–8.9) มีการตรวจหาไข่พยาธิในรอบปีที่ผ่านมาร้อยละ 57.97 (95%Cl :16.6–24.7) การใช้ยาถ่ายพยาธิใบไม้ในตับในรอบปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 50.00 (95%Cl :14.0–21.6%) การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการกินปลาดิบมีโอกาสเสี่ยงในระดับมากค่าเฉลี่ย 2.84 ครั้ง (S.D.=0.96ครั้ง) (95%CL2.74-2.80) การรับรู้ความรุนแรงของการกินปลาดิบอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ย2.75 ครั้ง(SD.=0.13 ครั้ง)(95%Cl:2.63–2.81) การรับรู้ประโยชน์ของการไม่กินปลาดิบอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ย 0.76 ครั้ง(SD.=0.53ครั้ง)(95%Cl:2.62–2.69) แรงสนับสนุนทางสังคมในการกินปลาดิบในภาพรวมระดับมากค่าเฉลี่ย 2.82 ครั้ง(SD.=0.37ครั้ง)(95%Cl:2.79–2.85) บรรทัดฐานกลุ่มของการกินปลาดิบระดับมากค่าเฉลี่ย 2.88 ครั้ง(SD.=0.35ครั้ง)(95%Cl:2.73–2.88) ความตั้งใจในการกินปลาดิบระดับมากค่าเฉลี่ย 2.88 ครั้ง(SD.=0.53ครั้ง)(95%Cl:2.81–2.87) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการกินปลาดิบ ได้แก่ สถานภาพโสด/หม้าย/หย่า/แยก(Adj.OR=1.31,95%Cl:0.43-3.98.14;p-value=0.548) อาชีพรับจ้าง(Adj.OR=11.30,95%Cl:2.96-43.14;p-value=0.002) การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์(Adj.OR=11.12,95%Cl:4.29-23.88;p-value=0.002)

References

สถิติสุขภาพคนไทย. https://www.hiso.or.th/thaihealthstat/area/index.php?ma=1&pf=01818101&tp=13_2. Accessed 5 May 2023. 2023.

Khuntikeo, N. and Yongvanit, P. Conceptual framework of health policy and strategies to administer and manage cholangiocarcinoma systematically and effectively. Srinagarind Medical Jurnal. 2012;27(suppl): 422-26. (in Thai)

ขจรศักดิ์ พันธ์ชัย, เกษมณีพิทักษ,์นิยม จันทร์นวล.. นิพนธ์ต้นฉบับปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริโภคปลาดิบของประชาชนตำบลเหล่ากวาง อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ.วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2565;11(1) 6-15.

Sripa,B.,Yongvanit, P. and Pairojkul, C. Etiology and Pathogenesis of cholangiocarcinoma : Introduction to the Association with Liver Fluke Infection. Srinagarind Medical Jurnal. 2548;20(3):22- 134. (in Thai).

Pamulila, S. and Bumpenchit, S. Care system for patients with cholangiocarcinoma. Journal of Nursing Science and Health. 2017;40(3) : 83-95. (in Thai).

Onsanit, W. Development of a system for reporting liver fluke and cholangiocarcinoma through Geographic Information System in the Northeast of Thailand. [Internet].2016 [cited 2017 May 5]. Available from:https://projectcs.kku.ac.th.

KhonKaen University, National Health Security Office and Ministry of Public Health.Strategies to reduce liver fluke and eliminate cholangiocarcinoma of Isan people. KhonKaen: Faculty of Medicine, KhonKaen University. (in Thai). 2012.

Rosenstock, I. M. The Health Belief Model : Explaining Health Behavior Through Expectancies. San Francecico.CA : Health Behavior and Health Education Jossey-Bass. 1990.

ธวัชชัย วรพงศธร และ สุรีย์พันธุ์วรพงศธร. การคำนวณขนาดตัวอย่างสำหรับงานวิจัย โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป G*Power Retrieve on January 20, 2019, From http://advisor.anamai.moph.go.th/download/Journal_health//2561HEALTH41_/2HEALTH_Vol41No2_.02pdf .2561.

วันชัย เหล่าเสถียรกิจ ศศิธร เจริญประเสริฐ กันยารัตน์ เหล่าเสถียรกิจ พุทธิไกร ประมวล และศักรินทร์ บุญประสงค์.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริโภคปลาดิบ-สุกๆ ดิบๆของประชาชนจังหวัดศรีสะเกษ ปี 2559. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2562;28 (6), 974-985.

วาสนา ผิวเหลือง. (2556). พฤติกรรมการบริโภคปลาดิบของประชาชน ตำบลจอมศรี อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี. [Internet]. 2556 [cited 2023April10]. Available from: http://203.157.168.8/research/index.php?opti o n = c o m _ c o n t e n t & v i e w = a r t i -cle&id=104:2013-01-15-05-55-44

Songserm, N., Promthet, S., Sithithaworn, P., Pientong, C., Ekalaksananan, T., Chopjitt, P., Parkin, D.M. Risk factors for cholangiocarcinoma in high-risk area of Thailand: role of lifestyle, diet and methylenetetrahydrofolate reductase olymorphisms.Cancer Epidemiol.2012;36, e89–e94.

Songserm, N.,Charoenbut, P., Bureelerd,O., Pintakham, K., Woradet, S.,Vanhnivongkham, P., Cua, LN., Uyen, NTT., Cuu, NC., Sripa, B.Behavior-related risk factors for opisthorchiasis-associated cholangiocarcinoma among rural people living along themekong river in five greater mekong subregion countries. Acta Trop.2019; 201(2020), 105221.

วันชัย เหล่าเสถียรกิจ.ศศิธร เจริญประเสริฐ,กันยารัตน์ เหล่าเสถียรกิจ,พุทธิ ไกรประมวลและศักรินทร์บุญประสงค์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริโภคปลาดิบ-สุกๆดิบๆของประชาชนจังหวัดศรีสะเกษปี 2559. วารสารวิชาการสาธารณสุข.2562;28 (6), 974-985.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29