การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดร่วมกับภาวะไตวายเฉียบพลัน: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • พรทิพา พรรณา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

การพยาบาล, ช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด, ภาวะไตวายเฉียบพลัน

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วย2 ราย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดร่วมกับภาวะไตวายเฉียบ: กรณีศึกษา 2 รายเลือกแบบเฉพาะเจาะจงในผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดร่วมกับภาวะไตวายเฉียบ กรณีศึกษา 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากประวัติการเจ็บป่วย การรักษา เวชระเบียน สัมภาษณ์ และประเมินภาวะสุขภาพ การกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลโดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประวัติการเจ็บป่วย การรักษา เวชระเบียน สัมภาษณ์ และประเมินภาวะสุขภาพวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลทั่วไป ข้อวินิจฉัยการพยาบาลและผลลัพธ์ทางการพยาบาล
     ผลการศึกษาพบว่า แพทย์วินิจฉัยเป็น Septic shock โดยเน้นการให้ออกซิเจน การให้สารน้ำอย่างพียงพอ การให้ยากระตุ้นการหดตัวของหลอดเลือด เพื่อเพิ่มความดันโลหิต การส่งเลือดตรวจเพาะเชื้อ การให้ยาปฏิชีวนะที่รวดเร็วภายใน 1 ชั่วโมงหลังได้รับการวินิจฉัย ผู้ป่วยทั้ง 2 รายได้เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักวิกฤต มีภาวะแทรกซ้อนจากภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ลักษณะคล้ายกัน คือ ภาวะของเสียคั่งในร่างกาย มีภาวะเลือดเป็นกรด มีภาวะโพแทสเซียมในร่างกายสูง ได้รับการรักษาเหผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่อง (CRRT) ผู้ป่วยรายที่ 1 ญาติตัดสินใจในการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไตต่อเนื่องหลังจากที่แพทย์ให้ข้อมูลทันที ส่วนผู้ป่วยรายที่ 2 ญาติไม่สามารถตัดสินใจได้ ระยะเวลาที่รอญาติตัดสินใจในการรักษาบำบัดทดแทนไตต่อเนื่องประมาณ 4 ชั่วโมง ถึงแม้ว่าผู้ป่วยทั้ง 2 รายจะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่คล้ายคลึงกัน แต่ความรุนแรงของโรค มีความแตกต่างกัน

References

ข้อมูลตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุขhttps://hdcservice.moph.go.th

Srisawat N, Peerapornratana S,Tiranathanagul K, Praditpornsilpa K,Tungsanga K, Eiam-ong S. CRRT continuousrenal replacement therapy. 2nd ed. Bangkok,Thailand: Text and Jounal PublicationCompany Limited; 2018)

(Romagnoli S, Ricci Z, Ronco C. CRRT for sepsis-induced acute kidney injury.Curr Opinion Crit Care 2018;24(6):483-92 )

งานจัดการสารสนเทศ กลุ่มงานสารสนเทศทางการแพทย์โรงพยาบาลขอนแก่น : (เข้าถึงเมื่อ 9 มกราคม 2567)

นนทรัตน์ จำเริญวงค์, สุพรรณิการ์ ปิยะรักษ์, ชยธิดา ไชยวงษ์. การประเมินและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจาการติดเชื้อในกระแสเลือด. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2563;7(3):319-29

เอกรินทร์ ภูมิพิเชษฐ์. สาระสำคัญของ Surviving Sepsis Campaign guideline 2012. ในเอกรินทร์ ภูมิพิเชษฐ์. บรรณาธิการ.เวชบำบัดวิกฤตพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: บิยอนเอนเตอร์ไพรซ์; 2556. หน้า 259-306.

Dellinger R.P, Levy M.M, Rhodes A, et al. Surviving Sepsis Campaign international guideline for management of severe sepsis and septic shock 2021. Critical Care Medicine 2013;41(2):580-637.

กนกพร เทียนคำศรี และธนพล บรรดาศักดิ์.(2562). การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อ. วารสารศูนย์การแพทย์ศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 36(4): 347-355.

สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ. การประเมินผู้ป่วยระยะวิกฤต: FANCAS ใน สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ, กาญจนา สิมะจารึก, เพลินตา ศิริปการและชวนพิศ ทำนอง (บรรณาธิการ). การปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่ระยะวิกฤต. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2556. หน้า 1-32.

วิจิตรา กุสุมภ์. กระบวนการพยาบาลและข้อวินิจฉัยการพยาบาล: การนำไปใช้ในคลินิก. กรุงเทพ: บพิธการพิมพ์; 2552.

วิจิตรา กุสุมภ์. การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤตแบบองค์รวม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลสหประชาพาณิชย์; 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29