การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพจิตภายหลังวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อำเภอกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • นิโลบล ช่วยแสง โรงพยาบาลกู่แก้ว

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การเฝ้าระวังภาวะสุขภาพจิต, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพจิตภายหลังวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อำเภอกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี การศึกษาแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ศึกษาภาวะสุขภาพจิตของประชาชนภายหลังวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพจิตภายหลังวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  และระยะที่ 3 ประเมินผลของรูปแบบการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพจิตภายหลังวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบการสำรวจสภาพปัญหาด้านสุขภาพจิต (S B S D Survey) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ Paired samples t-test
     ผลการวิจัยพบว่า ระยะที่ 1 ภาวะสุขภาพจิตของประชาชนภายหลังวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อำเภอกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี มีความเครียด ร้อยละ 4.51 และ ภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 11.14 ระยะที่ 2 รูปแบบการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพจิตภายหลังวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) ด้านการเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต 2) ด้านการดูแลรักษาและฟื้นฟูปัญหาสุขภาพจิต 3)ด้านการสื่อสารความเสี่ยงด้านสุขภาพจิต และสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต 4) ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในป้องกันปัญหาสุขภาพจิต  และระยะที่ 3 หลังจากการดำเนินการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพจิตภายหลังวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในอำเภอกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี เป็นไปในทิศทางที่ดี พบว่าระดับความเครียดและภาวะซึมเศร้าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < .05)

References

World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-19). (2021). [ออนไลน์] จาก: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/question-and-answers-hub/q-a-detail/coronavirus-disease-covid-19 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 เดือน ตุลาคม ปี 2565]

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. (2565). [ออนไลน์] สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no637-011064.pdf [เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 เดือน ตุลาคม ปี 2565]

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565. (2565, 20 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวทางการฟื้นฟูจิตใจในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (Combat 4th Wave of COVID-19 : C4). นนทบุรี: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอวัน ปริ้นติ้ง.

Zhang, M., Simon, M. A., & Dong, X. (2014). The prevalence of perceived stress among US Chinese older adults. AMIS Medical Science, 1(1), 40-56. https://doi.org/10.3934/medsci.2014.1.40

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). รายงานสถานการณ์ผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ต่อโรคไม่ติดต่อและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย.[ออนไลน์] สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1335820221025031629.pdf [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 เดือน มีนาคม ปี 2567]

กุลณ์วลี กิจวัฒนะโภคิน และธนาสิทธิ์ วิจิตราพันธ์. (2565). ความชุกของความเครียดและภาวะซึมเศร้า ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ของพนักงานโรงงานแห่งหนึ่งในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่.วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(3), 393-403.

ธนาสิทธิ์ วิจิตราพันธ์. (2564). ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดและภาวะซึมเศร้าในสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของประชาชนเขตคลินิกหมอครอบครัวบ้านทุ่งเสี้ยว อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 29(1), 12-2

ฐาศุกร์ จันประเสริฐ สุดา วงศ์สวัสดิ์ และปองพล ชุษณะโชติ. (2565) การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนารูป แบบการสร้างวัคซีนใจในชุมชนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 14(1), 1-18.

วิภา สุวรรณรัตน์, มาลี เกตแก้ว และกัณณวันฑ์ สกูลหรัง. (2565). การพัฒนาความเข้มแข็งทางใจในชุมชนในสถานการณ์ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). เข้าถึงจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/article/view/252384/174179[เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 เดือน มีนาคม ปี 2567]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29