การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ ทรวงอก ช่องท้อง และกระดูกไหปลาร้าหัก : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • ประไพ จอมสูง กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลหัวหิน

คำสำคัญ:

การพยาบาล, ผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อให้การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ ทรวงอก ช่องท้อง และกระดูกไหปลาร้าหักส่งผลให้ผู้ป่วยปลอดภัย ลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการบาดเจ็บ เป็นการวิเคราะห์กรณีศึกษาเปรียบเทียบหลักวิชาการและนำผลการศึกษาไปใช้ในชายไทย อายุ 33 ปี มาที่ห้องอุบัติเหตุด้วยอาการ ขี่จักรยานยนต์ชนสุนัข หมดสติ ไม่รู้สึกตัว กู้ภัยนำส่ง ขี่ 1 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล สัญญาณชีพ อุณหภูมิ 36.9 องศาเซลเซียส อัตราการหายใจ 28 ครั้ง/นาที ชีพจร 68 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต 129/81 มิลลิเมตรปรอท GCS: E3V1M5 = 6 pupil 2 mm RTLBE
     ผลการศึกษา พบว่า แพทย์วินิจฉัยว่ามีกระดูกซี่โครง ร่วมกับกระดูกไหปลาร้าด้านซ้ายหัก เลือดออกภายในช่องท้อง และมีการบาดเจ็บของม้าม รักษาโดยใส่ท่อช่วยหายใจ ใส่สาย ICD at left lung การดูแลตามแผนการรักษาของแพทย์ ได้รับการพยาบาลตามหลักการ Advance Trauma Life Support ตาม ABCDE ได้รับการประเมินตั้งแต่แรกรับ ผู้ป่วยได้รับการดูแลตามมาตรฐานการพยาบาล ปลอดภัยจากภาวะช็อก ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน และได้รับการประสานงานส่งต่อไปยังหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมอย่างปลอดภัย

References

ดวงกมล สุวรรณ์, วิภา แซ่เซี้ย และประณีต ส่งวัฒนา. ผลของการใช้รูปแบบการพยาบาลแบบการจัดการรายกรณีต่อผลลัพธ์การดูแลในผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ. วารสารสภาการพยาบาล 2561;33(4):33-45.

นพ. วิทยา ชาติบัญชาชัย และคณะ. เอกสารประกอบการอบรม การดูแลผู้ป่วยขั้นสูงรุ่นที่ 13 (Advanced trauma emergency care for nurse : ATEN). ขอนแก่น: บริษัทเพ็ญพรินติ้ง จำกัด; 2564.

นนทรัตน์ จําเริญวงศ์, สุพรรณิการ์ ปิยะรักษ์, และชยธิดา ไชยวงษ์. การประเมินและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาล และการสาธารณสุขภาคใต้ 2563;7(1):319–330.

ปทิตตา เสนะคุณ. การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบที่มีเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองร่วมกับเลือดออกในเยื่อหุ้มปอด : กรณีศึกษา Nursing care for multiple trauma patients with acute subdural hemorrhage and hemothorax. : case study. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน 2564;6(1):23-28.

ปราณี ทู้ไพเราะ. คู่มือยา Handbook of drugs. พิมพ์ครั้งที่14. กรุงเทพฯ: N P Press Limitef Partnership; 2559.

พรศิริ พันธสี. กระบวนการพยาบาลและระบบแผนสุขภาพ: การประยุกต์ใช้ทางคลินิก. พิมพ์ครั้งที่ 20. สมุทรปราการ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ; 2560.

ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. ตำราการบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ทรัสต์ อัส จำกัด; 2562.

ระบบคลังข้อมูลการแพทย์และสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข. Health Data Center : HDC [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 15 ก.พ. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php

วาสนา สุขกันต์, จุฬาวรี ชัยวงค์นาคพันธ์ และกชพร พงษ์แต้. ปัญหาและอุปสรรคของการใช้แบบประเมินสภาพแรกรับผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบในหอผู้ป่วยศัลยกรรมอุบัติเหตุและระบบประสาท Problems and Obstacles of Using the Initial Assessment of Form for Evaluating Multiple Injury Patients In the Trauma and Nervous System Units. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2563;12(2):100-112.

วิมล อิ่มอุไร. การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล 2562;4(1):54-68.

วิจิตรา กุสุมภ์. การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต:แบบองค์รวม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สหประชาพาณิชย์; 2561.

เวชระเบียนและสถิติโรงพยาบาลหัวหิน. รายงานสถิติประจำปี 2564-2566. ประจวบคีรีขันธ์: โรงพยาบาลหัวหิน; 2566.

อุษณีย์ หลิมกุล. คู่มือการเขียนข้อวินิจฉัยการพยาบาล. กรงุเทพฯ: ฝ่ายการพยาบาลวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ กรุงเทพมหานคร และวชิรพยาบาล; 2561.

Frink M, Lechler P, Debus F, Ruchholtz S. Multiple Trauma and Emergency Room Management. Dtsch Arztebl Int 2017;114(29-30):497-503.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29