ผลของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในการป้องกันการติดเชื้อ ฟังก์ชั่นเสี่ยงอันตราย และระยะปลอดเหตุการณ์ ตามสูตรการได้รับวัคซีนของประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
ผลของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19, สูตรวัคซีนโควิด-19, ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ, ระยะเวลาปลอดการติดเชื้อบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นแบบ Retrospective cohort study เพื่อศึกษา 1) ผลของวัคซีนโควิด-19 ในการป้องกันการติดเชื้อ 2) อัตราความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และระยะเวลาปลอดการติดเชื้อ ตามจำนวนเข็มชนิดและสูตรของวัคซีน ของจังหวัดนครศรีธรรมราช สุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม จำนวน 11,160 ตัวอย่าง จากประชากรอายุ 12 ปีขึ้นไปที่มารับบริการตรวจวินิจฉัย ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 30 กันยายน 2565 ในโรงพยาบาลชุมชน 4 แห่ง เชื่อมโยงข้อมูลการรับวัคซีนจากฐานข้อมูลการรับวัคซีนกระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกพหุ วิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและระยะเวลาปลอดการติดเชื้อ ด้วย cox regression analysis โดยควบคุมตัวแปร เพศ และประเภทกลุ่มเป้าหมายการรับวัคซีน
ผลการศึกษาพบว่า การรับวัคซีน 3 เข็มมีโอกาสลดการติดเชื้อได้ร้อยละ 52.0 โดยวัคซีนชนิด InV และ ViralV มีการติดเชื้อน้อยกว่า mRNA อย่างมีนัยสำคัญ กรณีรับวัคซีน 2 เข็ม สูตร InV-ViralV มีการติดเชื้อน้อยกว่า mRNA 2 เข็ม ร้อยละ 50.4 และกรณีรับวัคซีน 3 เข็ม วัคซีนสูตร ViralV-ViralV-mRNA มีการติดเชื้อน้อยกว่า mRNA 3 เข็มร้อยละ 95.9 และพบว่า ความเสี่ยงในการติดเชื้อ ของวัคซีน 2 เข็ม สูตร InV-ViralV น้อยที่สุด วัคซีนสูตร 3 เข็มที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อน้อยที่สุดคือ ViralV- ViralV-mRNA ส่วนระยะเวลาปลอดการติดเชื้อนานที่สุดตามลำดับคือ วัคซีน 2 เข็ม สูตร InV-ViralV, ViralV- ViralV ส่วน 3 เข็ม ได้แก่สูตร ViralV-ViralV-mRNA, สูตร InV-ViralV-ViralV และ InV-ViralV-mRNA
References
จรัส รัชกุล, ชาติชาย สุวรรณนิตย์, ฐิติภรณ์ ตวงรัตนานนท์, พุฒิปัญญา เรืองสม, จีรวรรณ หัสโรค์ และ โศภิสุดา วิบูลย์พันธ. (2564). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการการประเมินการปฏิบัติตนของประชาชน ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564. กรุงเทพฯ: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธาณณสุข. (2565). แผนและมาตรการการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น (ENDEMIC APPROACH TO COVID-19). สืบค้นวันที่ 10 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.pyomoph.go.th/backoffice/files/42148.pdf.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563. (2565,20 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 223 ง. หน้า 1.
ศูนย์ระบาดวิทยานครศรีธรรมราช. (2565). รายงานสถานการณ์การระบาดโรคโควิด-19. [เอกสารประกอบการประชุม].
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2565). รายงานข้อมูลการฉีดวัคซีน. สืบค้นวันที่ 2 ตุลาคม 2565, จาก http://61.19.202.217/covid19nst/index.php?p=vaccine_report&hospcode =11322.
กรมควบคุมโรค. (2564). รายงานผลการทบทวนสถานการณ์โรคโควิด-19 และมาตรการควบคุมป้องกัน ในระดับโลกและในประเทศไทย. สืบค้นวันที่ 10 พฤษภาคม 2565, จาก http://www.thaincd.com/document/file/download/knowledge/COVID19.65.pdf.
สุมลรัตน์ ขนอม และเฉลียว ผจญภัย. (2567). ผลของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ตามชนิดของวัคซีน และสูตรการได้รับวัคซีนในการป้องกันการติดเชื้อของประชาชน อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา. 4(1); 18-34.
ยง ภู่วรวรรณ, ณศมน วรรณลภากร, ณัฐินี สุทธินรเศรษฐ์, สิทธิชัย กนกอุดม, หนึ่งฤทัย สุนทรวงศ์, จิระ จันทร์แสนโรจน์ และคณะ. (2566). รายงานฉบับสมบูรณ์ ความปลอดภัยและผลการกระตุ้นภูมิต้านทาน ในประชากรผู้ใหญ่หลังให้วัคซีนโควิด-19 ชนิดเชื้อตาย (Sinovac) ครบแล้ว 2 เข็ม ด้วยวัคซีนโควิด-19 ชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกัน. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
ภาสกร ศรีทิพย์สุโข, บุญยิ่ง ศิริบำรุงวงศ์, พิชญ ตันติยวรงค์, อารยา ศรัทธาพุทธ, พรรณศจี ดำรงเลิศ และพีร์
จารุอำพรพรรณ. (2565). รายงานฉบับสมบูรณ์ ประสิทธิผลของวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย: การศึกษาในสถานการณ์จริง (ปีที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นิรันดร ยิ้มจอหอ, ปณิธี ธัมมวิจยะ, กฤชวัฐ ปลอดดี, ระพีพงศ ์สุพรรณไชยมาตย์ และณัฐปราง นิตยสุทธิ์. (2566). การประเมินประสิทธิผลวัคซีนโควิด 19 ในพื้นที่ 4 จังหวัดที่พบการระบาดเป็นกลุ่มก้อนของสายพันธุ์โอมิครอน ประเทศไทย เดือนมกราคม 2565. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ กระทรวงสาธารณสุข ปีที่ 54 ฉบับที่ 29(กรกฎาคม 2566).
Andrews, N., Stowe, J., Kirsebom, F., Toffa, S., Rickeard, T., Gallagher, E., & Lopez Bernal, J. (2022). Covid-19 vaccine effectiveness against the Omicron (B. 1.1. 529) variant. New England Journal of Medicine, 386(16), 1532-1546.
Au, W. Y., & Cheung, P. P. H. (2022). Effectiveness of heterologous and homologous covid-19 vaccine regimens: living systematic review with network meta-analysis. Bmj,
ศูนย์วิจัยคลินิกคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล. (2564). ศิริราชปลื้ม! WHO อ้างอิงผลวิจัยวัคซีน "สูตรไขว้ เข็มสาม" เผยแพร่ทั่วโลก. สืบค้นวันที่ 25 มกราคม 2566, จาก https://sicres.org/2021/12/28/who-reference-sicres-research/?lang=th.
ภาสกร ศรีทิพย์สุโข, บุญยิ่ง ศิริบำรุงวงศ์, พิชญ ตันติยวรงค์, อารยา ศรัทธาพุทธ, พรรณศจี ดำรงเลิศ และ พีร์ จารุอำพรพรรณ (2565) รายงานฉบับสมบูรณ์ประสิทธิผลของวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย: การศึกษาในสถานการณ์จริง (ปีที่ 1) . กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พัทธรา ลีฬหวรงค์, ยศ ตีระวัฒนานนท์, วรรณฤดี อิสรานุวัฒนชัย, นันทสิทธิ์ เหลืองอาสนะทิพย์, วิริชดา ปานงาม, สมภพ ศรลัมพ์ และคณะ. (2564). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการประเมินผลกระทบและความคุ้มค่าของวัคซีนโควิดที่พึงประสงค์เพื่อใช้ในการพัฒนาและคัดเลือกวัคซีนสำหรับใช้ในประเทศไทย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.