การพัฒนาศักยภาพด้านการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินเบื้องต้น โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม
คำสำคัญ:
การพัฒนาศักยภาพด้านการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินเบื้องต้น, การมีส่วนร่วมของชุมชนบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาศักยภาพด้านการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินเบื้องต้นโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และเพื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้และทักษะก่อนและหลังการพัฒนาศักยภาพด้านการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินเบื้องต้นโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านผู้นำชุมชน ในพื้นที่อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม จำนวน 275 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามการมีส่วนร่วมของชุมชนด้านการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้และทักษะการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินเบื้องต้น การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน และความพึงพอใจ มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติการทดสอบที่แบบกลุ่มสัมพันธ์
การศึกษานี้ทำให้ได้ประกอบด้วยกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนด้านการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน ซึ่งประกอบด้วย 4 กิจกรรมย่อย คือ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบการแพทย์ฉุกเฉิน 2 ทักษะการประเมินสถานการณ์ 3 ทักษะการประเมินสภาพผู้ป่วย และ 4 ทักษะการห้ามเลือดและทำแผล ผลลัพธ์จากการนำชุดกิจกรรมไปใช้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และทักษะการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินเบื้องต้นภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-23,893, p < 0.01) และมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนด้านการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินเบื้องต้นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
กิตติพงศ์ พลเสน, พรทิพย์ วชิรดิลก, ธีระ ศิริสมุด, นายสุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล, และณัฐวุฒิ คำนวณฤกษ์. (2559). สถานการณ์และปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่ใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินที่เข้ารับบริการแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินในประเทศไทย. รายงานการวิจัยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.
เพ็ญรุ่ง บุญรักษ์ และสุนิสา สุวรรณรักษ์. (2557). ตำราประกอบการอบรมหลักสูตรพนักงานฉุกเฉินการแพทย์. สมุทรสาคร: บริษัท บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง จํากัด.
ยุภาวดี คงดำ. (2562). ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินตามการรับรู้ของผู้ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาสาธารณสุขชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2562) แผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ฉบับที่ 3.1 พ.ศ. 2562 - 2564 (ฉบับปรับปรุงจากแผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2560-2564). นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. (2563). โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนด้านการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินเบื้องต้น จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่.
แสงอาทิตย์ วิชัยยา. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ระบบการแพทย์ฉุกเฉินของป่วยฉุกเฉินเร่งด่วนและผู้ป่วยวิกฤตในโรงพยาบาลฝาง. เชียงรายเวชสาร. 10(1): 93-102.
International Association for Public Participation. (2010). public participation processes. New York: International Association for Public Participation.
Rovinelli, R.J., & Hambleton, R.K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, (2), 49-60.
United Nations.(2010).Department of Economic and Social Affair Community Development and Related Service. New York: United Nation Republication.