การพัฒนานวัตกรรมการพยาบาล “มาเบิ่งเด้อ” สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านไวรัส โรงพยาบาลน้ำโสม

ผู้แต่ง

  • หงษ์ทอง บุตรพรม โรงพยาบาลน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี
  • นภชา สิงห์วีรธรรม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • กิตติพร เนาว์สุวรรณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • อัจฉรา คำมะทิตย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

นวัตกรรม, ผู้ติดเชื้อเอชไอวี, ยาต้านไวรัส

บทคัดย่อ

     การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมนี้ เพื่อศึกษาพัฒนานวัตกรรมทางการพยาบาล “มาเบิ่งเด้อ” และศึกษาประสิทธิผลนวัตกรรม “มาเบิ่งเด้อ” สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านไวรัสในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง จำนวน  45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นวัตกรรมการพยาบาล“มาเบิ่งเด้อ” แบบบันทึกผลปริมาณไวรัสเอชไอวีในเลือดของผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV viral load) และแบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านไวรัส วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Wilcoxon signed ranks test ดำเนินการ 2 วงรอบโดยวงรอบที่ 1 เป็นการศึกษาผลปริมาณไวรัสเอชไอวีในเลือดของผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV viral load) หลังใช้นวัตกรรม“มาเบิ่งเด้อ”แบบย้อนหลัง(Retrospective study) และวงรอบที่ 2 เป็นการศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ติดเชื้อเอชไอวีแบบศึกษาไปข้างหน้า(Prospective study)
     ผลวิจัยพบว่า หลังใช้นวัตกรรม “มาเบิ่งเด้อ” ผลปริมาณไวรัสเอชไอวีในเลือดของผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV viral load) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (p<.001) และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ติดเชื้อเอชไอวี เพิ่มขึ้นจากระดับปานกลาง เป็นระดับสูง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (p <0.05)

References

กรมควบคุมโรค(2565).แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทยปี2564/2565.ห้างหุ้นส่วนจำกัดสำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.1(1):65-71

คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์(2560).ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติ ปัญหาเอดส์ พ.ศ.2560 - 2573 .บริษัท เอ็นซี คอนเซ็ปต์ จำกัด.1(1):25-26

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. (2nd). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175-191.

Orem, D.E. (1995).Nursing: Concepts of practices (5th ed.).St.Louis: Mosby Year Book.

นิตยา ดาววงศ์ญาติ(2564).คุณภาพชีวิต ความพึงพอใจต่อการจัดบริการและการกดไวรัสในกระแสเลือด ของผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่ได้รับบริการแบบที่ให้ความสำคัญกับผู้บริการเป็นศูนย์กลาง ณ คลินิกเติมยา โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์.วารสารโรคเอดส์.33(3):102-110

นิภาพร คนงาน(2555).ประสิทธิผลของวิธีให้ความรู้เรื่อง ยาต้านไวรัส 4 วิธี ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่รักษาด้วยยาต้านไวรัส โรงพยาบาลดอกคําใต้จังหวัดพะเยา.สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยพะเยา.สืบค้น 1 กุมภาพันธ์ 2565, จากhttp://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/885

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29