การศึกษาระยะเวลาการกลับมาอ้าปากปกติภายหลังการผ่าตัดในผู้ป่วยที่มีกระดูกขาไกรรไกรล่างหักและยึดตรึงกระดูกขากรรไกรบนล่าง (maxillo-mandibular fixation) ด้วยลวดเปรียบเทียบกับการใช้ยาง

ผู้แต่ง

  • อตินาต ธรรมรัชสุนทร โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ

คำสำคัญ:

กระดูกขาไกรรไกรล่างหัก, การผ่าตัดยึดตรึงกระดูกขากรรไกรบนล่าง, การมัดฟัน

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการศึกษาย้อนหลัง เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาในการกลับมาอ้าปากปกติของผู้ป่วยที่จำเป็นต้องยึดตรึงกระดูกขากรรไกรบนและล่างเข้าด้วยกันอีก 1-2 สัปดาห์ ระหว่างการใช้ลวด (stainless steel wire no 25) เทียบกับการใช้ ยางดึงฟัน (interarch elastic) กลุ่มตัวอย่าง วินิจฉัยกระดูกขากรรไกรล่างหัก ระหว่างปี 2555 – 2565 จำนวน 162 คน แบ่งเป็นกลุ่มใช้ลวดมัดฟันจำนวน 87 คน ใช้ยางมัดฟันจำนวน 75 คน เก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล ข้อมูลทางคลินิก และผลการรักษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา ไคสแควร์ และการทดสอบที
     ผลการวิจัย พบว่า ลักษณะส่วนบุคคล ข้อมูลทางคลินิก ทั้ง 2 กลุ่ม ไม่มีความแตกต่างกัน ผลการรักษา ในกลุ่มที่ใช้ยางมัดฟันมีปัญหากาสบฟันผิดปกติจำนวน 1 คน ระยะเวลาการกลับมาอ้าปากปกติภายหลังการผ่าตัดในกลุ่มที่ใช้ยางมัดฟันน้อยกว่ากลุ่มที่ใช้ลวดมัดฟันแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (1.38±0.489, 1.97 ± 0.156, p=0.000)

References

ไพศาล กังวลกิจ,เพียรชัย เธียรโชติ. (2538). การศึกษากระดูกขากรรไกรและใบหน้าหักในผู้ป่วย 1415 ราย. วารสารศัลย์ช่องปากแม็กซิลโลเฟเชียล; 9(1):3-7.

Morshed S. Current options for determining fracture union. Advances in Medicine 2014: 1-12.

สมร บุญเกษม และ วิจิตร ธรานนท์. (2538). การศึกษาผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บบริเวณกระดูกขากรรไกรและใบหน้า 342 ราย ณ โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น. วารสารศัลย์ช่องปากแม็กซิลโลเฟเชียล; 9(1):8-13.

Rahpeyma A, Khajehahmadi S. Force relaxation of 3/16 inch heavy orthodontic latex elastics used in maxillofacial trauma in simulated jaw fracture situation. Dent Hypotheses 2014;5:146-9.

Smith AT. The use of orthodontic chain elastic for temporary intermaxillary fixation. Br J Oral Maxillofac Surg 1993;31:250-1.

VP Singh, PR Pokhrae, K Pariekh, DK Roy, A Singla, KP Biswas. Elastics in orthodontics: A review. Health Renaissance. 2012; Vol 10 (No. 1);49-56

Asbell M B. “A brief history of orthodontics”. Am J Orthod Dentofac Orthop. 1990; 98: 176-182.

Graber TM ,Swain BF.”Current orthodontic concepts and techniques”. second edition. Toronto: W.B. Sounders company; 1975.

Hirani NH, Pujara N. Comparison of open reduction and internal fixation in case of symphysis and parasymphysis mandible fracture. International Journal of Science and Research 2015; 4(6): 2129-31.

Queiroz CS, Sarmento VA, Azevedo RA, Oliveira TF, Bastos LC. A comparative study of internal fixation and intermaxillary fixation on bone repair of mandibular fractures through radiographic subtraction. J Craniomaxillofac Surg 2014;42(5):152-6.

มัลลิกา สถิตนิรามัย. (2551). การหักของกระดูกขากรรไกรและใบหน้าในโรงพยาบาลสระบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข; 17(2): 266-273.

Amin M, Babar A, Ibrahim MW, Awan MUA. Post-operative complications in mandibular fractures. comparison of three different treatment modalities. Pak Armed Forces Med J 2016; 66(5): 720-5.

Anderson GF, Bishara SE. “Comparison of alastik chains to elastics involved with intra-arch molar-to molar forces”. Angle Orthod.1970; 40: 151-158.

Anyanechi CE, Saheeb BD. Complications of mandibular fracture: study of the treatment methods in Calabar, Nigeria. West Indian Med J 2014;63(4):349-53.

Baty DL.” Synthetic Elastomeric chains a Literature Review” .Am J Orthod Dentofac Orthop.1994;105:536- 42.

โจมา แสงแก้ว และสิทธิชัย ตันติภาสวศิน. (2560). การหายของกระดูกขากรรไกรล่างหักที่ได้รับการรักษาโดยการมัดฟันเป็นเวลา 3 สัปดาห์. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี; 44(2):109-118.

Kaya, Demet & Kocadereli, Ilken & Akcan, Cenk & Konaş, Ersoy & Mavili, Mehmet. (2013). Use of Acrylic Occlusal Splint and Direct Bonded Brackets for Intermaxillary Fixation in the Treatment of Unilateral Parasymphyseal and Condylar Fractures: A Case Report. CLINICAL DENTISTRY AND RESEARCH. 37. 46-50.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29