ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการเกินของนักเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ณัฐวดี เยาวะศรี นักศึกษาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กิตติ เหลาสุภาพ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, Corresponding author

คำสำคัญ:

นักเรียนมัธยมศึกษา, ภาวะโภชนาการเกิน

บทคัดย่อ

     การวิจัยแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการเกินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนมัธยมตระการพืชผล จำนวน 302 คน  ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage random sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การเปรียบเทียบข้อมูลที่เป็น Categorical data  ใช้ Chi-square test ในกรณีไม่เป็นไปตามเงื่อนไขจะใช้ Fishers’ exact test แทน
     ผลการวิจัย พบว่า  นักเรียนส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 50.3 รองลงมาความรู้ระดับดี ร้อยละ 28.5 และมีความรู้ระดับน้อย ร้อยละ 64 มีการออกกำลังกายน้อยกว่า 5 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 92.1 โดยใช้เวลาในการออกกำลังกายแต่ละครั้งน้อยกว่า 30 นาที พฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมอยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 95.7 เพศหญิงมีโอกาสที่จะมีภาวะโภชนาการเกินมากกว่าเพศชาย 1.71 เท่า กลุ่มอายุ 14-15 ปี มีโอกาสที่จะมีภาวะโภชนาการเกินมากกว่านักเรียนกลุ่มอายุ 12-13 ปี 2.6 เท่า เมื่อควบคุมปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องแล้ว พบว่า กลุ่มอายุ มีผลต่อการเกิดภาวะโภชนาการเกินในกลุ่มอายุ 14-15 ปีมากกว่านักเรียนกลุ่มอายุ 12-13 ปี 2.76 เท่า (P-value < 0.001)

References

สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. “คลังความรู้”, ภาวะโภชนาการเกินในเด็ก. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา; 2563.

World Obesity Federation. World Obesity Atlas 2024: No area of the world is unaffected by the consequences of obesity [Internet]. World Obesity Federation. [cited 2024 Mar 16]. Available from: https://www.worldobesity.org/news/world-obesity-atlas-2024

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ตารางการแปลผลภาวะโภชนาการ [Internet]. 2566 [cited 2024 Mar 16]. Available from: https://nutrition2.anamai.moph.go.th/th

สำนักโภชนาการ กรมอนามั ย. รายงานประจำ ปี 2565 เฝ้าระวังทางโภชนาการ [Internet]. 2565. Available from: https://nutrition2.anamai.moph.go.th/

กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลด้านโภชนาการ เด็กวัยเรียน อายุ 6-18 ปี [Internet]. HDC Report. 2565 [cited 2024 Mar 16]. Available from: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=formated/nutri6.php&cat_id=46522b5b

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ผลการรายงานผลการวิเคราะห์ตามตัวชี้วัด 1.11 ร้อยละของเด็กอายุ 6-14 ปี สูงดีสมส่วน. 2565.

Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Stat Med. 1998 Jul 30;17(14):1623–34.

ณัฐพงษ์ อัญชล, เบญจา มุกตพันธ์ุ. ิวิถีชีวิตและปัจจัยส่วนบุคคลที่สัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเกินของบุคลากร สายสนับสนุนมหาวิทยาลัยขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2563;35(1):89–91.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29