ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ โรงพยาบาลโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • วันวิสาข์ บัวสาย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง, ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้, การส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เปรียบเทียบก่อนและหลังชนิดแบบ 1 กลุ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ โรงพยาบาลโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม โดยศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ที่มารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรัง กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลโพนสวรรค์ ที่มีความสมัครใจและยินยอมเข้าร่วมโครงการ ในระหว่างเดือน มกราคม-มีนาคม 2567 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และแบบสอบถามพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป การรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ พฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมแบบสอบถามพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและผลลัพธ์ทางคลินิกโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาหาความถี่ ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างเพื่อเปรียบเทียบโดยใช้สถิติ Paired t-test
     ผลการศึกษา : พบว่า 1) การรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ หลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) พฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ หลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ผลลัพธ์ทางคลินิกผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ได้แก่ ดัชนีมวลกาย, ระดับน้ำตาลในเลือด, ความดันโลหิต, ระดับไขมันรวมโคเลสเตอรอลในเลือด ระดับไขมันในเลือดชนิดไม่ดีแอลดีแอล ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ และระดับไขมันในเลือดชนิดดีเอชดีแอล พบว่าหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยดีกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

World Health Organization. (2004). Leading Cause of Death by Income Group. [Online]. Available from: http://www. Int/healthinfo/global_burden_disease 2004_report_ update/en/index,html [accessed August 29, 2012].

สมาคมความดันโลหิตสูงแหงประเทศไทย. (2558). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป. กรุงเทพฯ: สมาคมความดันโลหิตสูงแหงประเทศไทย.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2558). รายงานประจำปี 2558. กรุงเทพ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์

สุดาพรรณ ธัญจิรา และอรสา พันธภักดี. (2556). ความผิดปกติของหลอดเลือด. ใน สุจินดา ริมศรี ทอง อรุณศรี เตชัสหงส และสุภามาศ ผาติประจักษ (บรรณาธิการ). พยาธิสรีรวิทยาทางการพยาบาล เล่ม 2 (พิมพครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สามเจริญพานิชย.

ผ่องพรรณ อรุณแสง. (2555). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด (พิมพ์ครั้งที่ 9). ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางในการรักษาภาวะความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://www. thaihypertension.org/2019guideline.pdf [สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2566].

Rosenstock, I. M. (1974). The health belief model and preventive health behavior. Health Education Monographs, 2, 329-386.

วรรณชนก จันทชุม. (2545). สถิติประยุกต์ทางพฤติกรรมศาสตร์ พร้อมตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS for Windows. ขอนแก่น : ขอนแก่นการพิมพ์.

ขวัญเรือน แก่นของ, ศิริรัตน์ อนุตระกูลชัย, สุณี เลิศสินอุดม, อัมพรพรรณ ธีรานุตร. (2562). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1-3 a. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ; 37:211-20.

บุปผา ศิริรัศมี, จรรยา เศรษฐบุตร, & เบญจา ยอดดำเนิน-แอ็ตติกจ์. (2544). จริยธรรมสำหรับการศึกษาในคน. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ทัศนะ วงศ์รัตนดิลก. (2560). ผลของการประยุกต์ใช้โปรแกรมการเดินเร็วในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยงเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ตําบลมะเกลือเก่า อําเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รุ่งโรจน์ พรมอยู่, สุภาพร แนวบุตร, และชมนาด วรรณพรศิริ. (2558). ผลของโปรแกรมการดูแลสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง, วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 10(3), 108-120

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29