เปรียบเทียบผลของการรับประทานยาบำรุงเลือดในสตรีตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย ต่อระดับฮอร์โมน TSH ในทารกแรกคลอด

ผู้แต่ง

  • สันทัด บุญเรือง นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย

คำสำคัญ:

สตรีตั้งครรภ์, สารไอโอดีน, ยาบำรุงเลือดที่ผสมไอโอดีน, ระดับฮอร์โมนทีเอสเอช

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยโดยการทดลองไปข้างหน้า (Prospective experimental research)  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการรับประทานยาบำรุงเลือด ObiminAZ® และ Triferdine ในสตรีตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย รวมทั้งศึกษาข้อมูลทั่วไปและอาการข้างเคียงจากการรับประทานยาต่อระดับ TSH ในทารกแรกคลอด ด้วยการสุ่มตัวอย่างสตรีตั้งครรภ์จำนวน 397 คนในปี พศ. 2560-2562 ต่อระดับฮอร์โมน TSH ในทารกแรกคลอดเมื่อครบ 48 ชม. แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับยา Obimin AZ® 199 คน และTriferdine 198 คน และตรวจระดับ TSH ในทารกแรกคลอดเมื่อครบ 48 ชั่วโมง เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย TSH ทั้งสองกลุ่ม การศึกษานี้ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์เปรียบเทียบด้วยสถิติ Independence t-test และ F-test
     ผลการศึกษา : พบว่าค่าเฉลี่ยระดับฮอร์โมน TSH ในมารดาที่รับประทาน ObiminAZ® เท่ากับ 6.75 และ 7.10 ในกลุ่ม Triferdine ผลการศึกษาเปรียบเทียบการรับประทานยาบำรุงเลือดทั้ง 2 ชนิดต่อระดับระดับฮอร์โมน TSH ในทารกแรกคลอด พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p=.381) ปัจจัยทั่วไปและอาการข้างเคียงของการรับประทานยาไม่มีผลต่อระดับระดับฮอร์โมน TSH ในทารกแรกคลอด

References

ธีระ ทองสง. ใน: ธีระพร วุฒยวนิช, ธีระ ทองสง, จตุพล ศรีสมบูรณ์, บรรณาธิการ. สูติศาสตร์. : พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: พี.บี.ฟอเรน บุ๊คส เซนเตอร์; 2539. 341-348.

Cuningham FC, Gant NF, Leveno KJ, Gilstrap LC, Wenstrom KD, editors. Thyroid and other endocrine disorders. Williams Obstetrics. 23rd ed. New York: McGraw-Hill; 2010. P 1126-1144.

ดาราวดี พลอยเลื่อมแสง. ใน: ธีระพร วุฒยวนิช, ธีระ ทองสง, จตุพล ศรีสมบูรณ์, บรรณาธิการ. สูติศาสตร์. : พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: พี.บี.ฟอเรน บุ๊คส เซนเตอร์; 2539. 53-70.

สายพิณ โชติวิเชียร. สารอาหารสำคัญเพื่อแม่ลูกคุณภาพ. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

ปราโมทย์ มาตย์สุริย์, การป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ในอำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ปี 2554. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 เมย.-กย. 2555: 27-40.

ภัสสร สมภาร, มานพ คณะโต, ภัสสร์วัลย์ รังสิปราการ. พฤติกรรมป้องกันภาวะขาดสารไอโอดีนของสตรีตั้งครรภ์กับระดับฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ของทารกแรกเกิดในอำเภอนาวังและอำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 2556. 117-130.

สายพิณ โชติวิเชียร. แผนปฏิบัติการด้านโภชนาการระดับชาติ 5 ปี พ.ศ. 2562-2566 ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 3 อาหารศึกษา กรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2561-2580); สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข: พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน); ธันวาคม 2562.

World Health Organization/ International Council for the Control of the Iodine Deficiency Disorders / United Nations Children Fund (WHO/ ICCIDD/ UNICEF). Assessment of the iodine deficiency disorders and monitoring their elimination. 3rd edition. Geneva: WHO ; 2007.

เตือนหญิงตั้งครรภ์ขาดไอโอดีน. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2560 จาก: URL; http://www.thaihealth.or.th/Content/10302-เตือนหญิงตั้งครรภ์%20“ขาดไอโอดีน”.html

องค์การอนามัยโลก. (2007). การประเมินภาวะบกพร่องไอโอดีนและการตรวจสอบการขจัดภาวะบกพร่อง: คู่มือสำหรับผู้จัดการโครงการ (พิมพ์ครั้งที่ 3). ค้นจาก https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/43781/9789241595827_eng.pdf;jsessionid=3917D7F16C0B96649328118E517471B1?sequence=1

ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๖. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2560 จาก :https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/E/126/11.PDF

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29