การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลคัดกรองผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรงพยาบาลคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ผจงจิต สุวรรณศรี งานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลคำม่วง

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาลคัดกรอง, ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด, 3C-PDSA

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาแนวและผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลคัดกรองผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรงพยาบาลคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์  ศึกษาด้วยรูปแบบ (R&D) ประยุกต์ใช้กระบวนการพัฒนาคุณภาพ 3C-PDSA ในการศึกษาครั้งนี้ได้หมุน 3 วงรอบการพัฒนา เก็บข้อมูลจากเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละและค่าเฉลี่ย
     ผลการศึกษาพบว่าการพัฒนาแนวปฏิบัติทำให้พยาบาลคัดกรองผู้ป่วยที่มารับบริการด้วยอาการเจ็บแน่นหน้าอกสามารถปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยเปรียบเทียบกันก่อนและหลังการพัฒนาพบว่า ระยะเวลาที่ผู้ป่วยได้รับการตรวจคลื่นหัวใจไฟฟ้าและรายงานแพทย์ลดลงจาก 9.60+0.65 นาที เหลือเป็น 5.58+0.83 นาทีต่อราย การประเมินผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 98.00 อัตราการเสียชีวิตลดลงเหลือเพียง 3.77 จากเดิม 15.38 แนวปฏิบัติทางการพยาบาลคัดกรองผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่พัฒนาขึ้นจากการประยุกต์ใช้กระบวนการ 3C-PDSA สามารถใช้งานได้จริงเกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วย พยาบาลผู้ปฏิบัติงานมีระดับความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติระดับดีมาก ค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.83+0.21 ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติติทุกครั้งร้อยละ 98.25

References

ณรงค์กร ชัยวงศ์ และปณวัตร สันประโคน. ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน : ความท้าทายของการพยาบาลฉุกเฉินในการดูแลผู้ป่วยระยะวิกฤต. ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. 2562; 14(1) : 43-51.

American College of Cardiology Foundation. Statistic of Cardiovascular disease. American Heart Association 2007.

สถาบนวิจัยโภชนาการ มหาวทยาลยมหดล (2552) “ ร่างแผนยุทศาสตร์ดีวิถีชีวิตไทย (Thailand Healthy Lifestyle Strategic Plan) พ.ศ. 2550 – 2559 ” สำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2564 (Public Health Statistics A.D. 2021). พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2565 (Public Health Statistics A.D. 2021). พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข; 2565.

เพ็ญจันทร์ แสนประสาน. การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลโรคหัวใจโดยการจัดการความรู้. วารสารพยาบาลโรคและทรวงอก 2013; 24: 84-95.

Health car financing review: Medicare and Medicaid statistical supplement. Health Care Financing Administration Baltimore 1998.

ศูนย์พัฒนาคุณภาพ โรงพยาบาลคำม่วง. รายงานการประเมินตนเอง SAR. โรงพยาบาลคำม่วง 2565.

งานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โนงพยาบาลคำม่วง. รายงานการประเมินตอนเองตามตัวชี้วัดผลลัพธ์ขององค์กร. โรงพยาบาลคำม่วง 2565.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน กระทรวงสาธารรสุข. เกณฑ์วิธีการคัดแยกและจัดลำดับการจ่ายงานบริบาลผู้ป่วยฉุกเฉินตามหลักเกณฑ์ที่ กพฉ.กำหนด พ.ศ.2556.พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กระทรวงสาธารณสุข; 2556.

ขวัญใจ ศุกรนันทน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในมหาวิทยาลัยมหาสาคาม. วารสารวิชาการสาธารรสุขชุมชน 2019; 6: 136-148.

อรอนงค์ ช่วยณรงค์ และดาราวรรณ รองเมือง. การพัฒนาแบบประเมินคัดกรองผู้ป่วยเจ็บแน่น-แน่นหน้าอกหรือใต้ลิ้นปี่หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลระนอง. วารสารกองการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2561; 36(3): 187-96.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29