การพัฒนารูปแบบการจัดการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน งานการพยาบาลผู้ป่วยในโรงพยาบาลคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • จันทร์เพ็ญ สีเครือดง งานการพยาบาลผู้ป่วยใน โรงพยาบาลคำม่วง

คำสำคัญ:

แนวทางการปฏิบัติทางการพยาบาล, ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ, ผู้ป่วยใน

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการจัดการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ผู้ป่วยเบาหวาน งานการพยาบาลผู้ป่วยใน โรงพยาบาลคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพจำนวน 24 คน ทำการพัฒนาแนวทาง   2 วงรอบและทำการสรุปถอดบทเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ 1) แบบประเมินความพึงพอใจของแนวทางการปฏิบัติทางการพยาบาล 2) แบบประเมินการปฏิบัติตามแนวทางการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
     ผลการวิจัยพบว่าสถานการณ์ผู้ป่วยเบาหวานมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 62.44 เป็นผู้สูงอายุ 66.42+10.76 ปี ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำร้อยละ 79.01 รุนแรงร้อยละ 20.98 ผลการทบทวนแนวปฏิบัติเดิมพบว่า มีอุบัติการณ์ของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระดับรุนแรงร้อยละ 50.00 และผู้ป่วยเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำซ้ำร้อยละ 39.84 น้ำตาลในเลือดต่ำระดับรุนแรงจนหมดสติต้องได้รับการช่วยเหลือทันที ร้อยละ 11.63 วันนอนรักษาตัวเฉลี่ยเท่ากับ 5.7 วัน กลับเข้ามารักษาซ้ำอยู่ร้อยละ 10.94 หลังการพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล 2 วงรอบและทดลองใช้ ด้านการพยาบาล มีระดับความพึงพอใจระดับมากที่สุดค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.62+0.05 มีการปฏิบัติได้ทุกครั้งมากกว่าร้อยละ 91.71 ด้านผู้ป่วยไม่พบการเกิดภาวะแทรกซ้อน และไม่พบอัตราการเสียชีวิต วันนอนรักษาตัวลดลงเฉลี่ยเท่ากับ 3.2 วัน

References

วราลี อภินิเวศ. การศึกษาสาเหตุของภาวะน้ำตาลต่ำ ณ ห้องฉุกเฉิน รพ.ภูมิพลอดุลยเดช. แพทยสารทหารอากาศ 2551; 54: 1-10.

ศิริมา มณีโรจน์, ธนัชพร ลาภจุติ และกัญจนา ปุกคำ. การพัฒนารูปแบบการจัดการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ สำหรับผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560; 27(2): 126-139.

Curkendall SM, Natoli JL, Alexander CM, Nathanson BH, Haidar T, Dubois RW. Economic and Clinical impact of inpatient diabetic hypoglycemia. EndocrPract.2009; 15(4):302-12.

Turchin A, Matheny ME, Shubina M, Scalon JV, Greenwood B, Pendergrass ML. Hypoglycemia and clinical outcomes in patients with diabetes hospitalized in the general ward. Diabetes Care.2009;32(7):1153-7.

สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566 (Clinical Practice Guideline for Diabetes 2023). พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร: ศรีเมืองการพิมพ์; 2566.

เสาวภา บุญมั่ง, ทวีศักดิ์ กสิผล, รัชนี นามจันทรา และปิ่นหทัย สุเมธาพร. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระดับรุนแรงในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ 2556; 9(2): 1-14.

Zoungas S, Patel A, Chalmes J, de Galan BE, Li Q, Billot L, et al. for the ADVANCE Collaborative Group. Severe hypoglycemia and risk of vascular event and death. N Engl J MED 2010; 363:1410-8.

Briscoe, V. J., & Stephen, N. D. Hypoglycemia in type 1 and type 2 diabetes: Physiology, pathophysiology, and management. Clinical Diabetes, 2006; 24(3):115-121.

ขวัญใจ ศุกรนันทน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในมหาวิทยาลัยมหาสาคาม. วารสารวิชาการสาธารรสุขชุมชน 2019; 6: 136-148.

รัตน์ศิริ ทาโต. การวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์ (หลักการและระเบียบวิธีวิจัย). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร, โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2556.

อรอนงค์ ช่วยณรงค์ และดาราวรรณ รองเมือง. การพัฒนาแบบประเมินคัดกรองผู้ป่วยเจ็บแน่น-แน่นหน้าอกหรือใต้ลิ้นปี่หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลระนอง. วารสารกองการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2561; 36(3): 187-96.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29