ลักษณะทางจุลชีววิทยา ของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบติดเชื้อในผู้ใหญ่โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา พ.ศ. 2559 – 2563

ผู้แต่ง

  • ศรีสกุล เจียมจิต โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา

คำสำคัญ:

โรคข้ออักเสบ, ติดเชื้อลักษณะทางจุลชีววิทยา, เชื้อดื้อยา

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางจุลชีววิทยาของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบติดเชื้อที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ปี พ.ศ. 2559 – 2563 โดย ศึกษาข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยโรคข้ออักเสบติดเชื้ออายุ 15ปีขึ้นไปที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน (In-patient department) โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 - 31 ธันวาคม 2563 ตามการลงรหัส ICD-10 ที่เข้าได้กับโรคข้ออักเสบติดเชื้อและได้รับการบันทึกวินิจฉัยโรคข้ออักเสบติดเชื้อโดยแพทย์ศึกษาตัวแปร อายุ โรคประจำตัว หอผู้ป่วยขณะนอนโรงพยาบาล ระยะเวลาแสดงอาการอาการแสดงในข้อและนอกข้อ จำนวนข้อที่อักเสบ ตำแหน่งข้อที่อักเสบ จำนวนครั้งของการเจาะข้อ ผลการเจาะข้อ และผลการรักษา ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ผลการศึกษา
     ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบติดเชื้อทั้งสิ้น 274 ราย ได้รับการเจาะข้อเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ 234 ราย และเจาะข้อสำเร็จ 228 ราย ผลการตรวจในจำนวนดังกล่าวไม่พบเชื้อ 150 ราย พบเชื้อ 78 รายเชื้อที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ Staphylococcus aureus 33 ราย (42.9%), Group B Streptococcus 14 ราย(18.2%), Streptococcus pyogenase 7 ราย (9.1%), Burkholderia pseudomallei 5 ราย (6.5%) และ Escherichia coli 5 ราย(6.5%) เป็นต้น พบเชื้อดื้อยาในน้ำเจาะข้อของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบติดเชื้อจำนวน 9ราย (11.7%) ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบติดเชื้อที่พบเชื้อ Group B Streptococcus จากน้ำเจาะข้อมีแนวโน้มพบอาการแสดงข้ออักเสบหลายข้อมากกว่าเชื้ออื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอัตราการเสียชีวิตจำแนกตามผลการติดเชื้อในน้ำเจาะข้อไม่แตกต่างกัน

References

Singh JA, Yu S. The burden of septic arthritis on the U.S. inpatient care: A national study. PLoS One. 2017 Aug 15;12(8):0182577. doi: 10.1371/journal.pone.0182577.

Wu CJ, Huang CC, Weng SF, Chen PJ, Hsu CC, Wang JJ, Guo HR, Lin HJ. Septic arthritis significantly increased the long-term mortality in geriatric patients. BMC Geriatr. 2017 Aug 9;17(1):178. doi: 10.1186/s12877-017-0561-x.

Vassallo C, Borg AA, Farrugia D, Mercieca C. The Epidemiology and Outcomes of Septic Arthritis in the Maltese Islands: A Hospital-Based Retrospective Cohort Study. Mediterr J Rheumatol. 2020 Jun 30;31(2):195-205. doi: 10.31138/mjr.31.2.195.

Mathews CJ, Weston VC, Jones A, Field M, Coakley G. Bacterial septic arthritis in adults. Lancet. 2010 Mar 6;375(9717):846-55. doi: 10.1016/S0140-6736(09)61595-6.

Smith EM, Khan MA, Reingold A, Watt JP. Group B streptococcus infections of soft tissue and bone in California adults, 1995-2012. Epidemiol Infect. 2015 Nov;143(15):3343-50. doi: 10.1017/50950268815000606.

Teparrukkul P, Nilsakul J, Dunachie S, Limmathurotsakul D. Clinical Epidemiology of Septic Arthritis Caused by Burkholderia pseudomallei and Other Bacterial Pathogens in Northeast Thailand. Am J Trop Med Hyg. 2017 Dec;97(6):1695-1701. doi:10.4269/ajtmh.17-0288.

สมคิด สุระชัย ผู้ป่วยข้ออักเสบติดเชื้อ : โรงพยาบาลนครพนม. วารสารการแพทย์โรงพยาบาล อุดรธานี. 2561;26:64-73

Helito, C. P., Noffs, G. G., Pecora, J. R., Gobbi, R. G., Tirico, L. E. P., Lima, A. L. M., de Oliveira, P. R., & Camanho, G. L. (2014). Epidemiology of septic arthritis of the knee at Hospital das Clínicas, Universidade de São Paulo. The Brazilian Journal of Infectious Diseases, 18(1), 28-33. doi: 10.1016/j.bjid.2013.04.010

Carpenter CR, Schuur JD, Everett WW, Pines JM. Evidence-based diagnostics: adult septic arthritis. Acad Emerg Med. 2011 Aug; 18(8):781-96. doi: 10.1111/j.1553-2712.2011.01121.x. Erratum in: Acad Emerg Med. 2011 Sep;18(9):1011.

Nolla JM, Gómez-Vaquero C, Corbella X, Ordóñez S, García-Gómez C, Pérez A, Cabo J, Valverde

J, Ariza J. Group B streptococcus (Streptococcus agalactiae) pyogenic

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29