ผลของการใช้แนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ตึกพิเศษร่มเย็น 5 โรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • กาญจนา ประสงค์ทรัพย์ โรงพยาบาลลำพูน

คำสำคัญ:

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย, แนวปฏิบัติ, ญาติผู้ดูแล

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) แบบวัดกลุ่มเดียวก่อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของพยาบาลวิชาชีพ ก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติ ประเมินความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติ และเปรียบเทียบความพึงพอใจของญาติผู้ดูแลต่อการดูแลตามแนวปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) กับพยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยพิเศษร่มเย็น 5 และพยาบาลประคับประคอง โรงพยาบาลลำพูน จำนวนทั้งสิ้น 7 คน ช่วงระหว่างเดือนเมษายน – พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ แนวปฏิบัติและคู่มือในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินสำหรับทีมพยาบาลวิชาชีพผู้ร่วมใช้แนวปฏิบัติ  และแบบประเมินสำหรับญาติผู้ดูแล การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired Samples t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
     ผลการศึกษา พบว่า หลังการใช้แนวปฏิบัติ พบว่าทีมพยาบาลวิชาชีพมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ และความสามารถในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) มีความพึงพอใจต่อการใช้แนวทางปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=4.17) และญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมีความพึงพอใจในบริการการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=4.07) 

References

สุวคนธ์ กุรัตน์, พัชรี ภาระโข และสุวิริยา สุวรรณ โคตร. การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย: มิติใหม่ที่ท้าทายบทบาทของพยาบาล. มหาสารคาม: วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข; 2556.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนยุทธศาสตร์ระดับชาติว่าด้วยการสร้างเสริมสุขภาวะในระยะท้าย พ.ศ.2556-2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ; 2556.

อุกฤษฏ์ มิลินทางกูร. การบริบาลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ; กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์; 2565.

รัชนีย์ ป้อมทอง. การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย End of Life Care. กรุงเทพฯ: คณะกายภาพบำบัดมหาวิทยาลัยมหิดล; 2559.

ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราคล. แผนยุทธศาสตร์ระดับชาติว่าด้วยการส่งเสริมสุขภาวะในระยะสุดท้ายของชีวิต. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ; 2556.

Risch NC, Rabinowitsch D. What's in a Definition? Holistic Nursing, Integrative Health Care and Integrative Nursing: Report of an Integrated Literature Review. J Holist Nurs. 2019;37(3):260-272.

สถาบันแพทย์แผนไทย.การแพทย์แผนไทยการแพทย์แบบองค์รวม. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์แผนไทย; 2560.

จันทิรา จิตต์วิบูลย์. การรับรู้สุขภาพและการดูแลตนเองตามทางเลือกในการรักษาของผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว. สงขลา: วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2553.

อังศุมา อภิชาโต และกานดาวศรี ตุลาธรรมกิจ. ประสบการณ์การใช้ธรรมะและสมาธิในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับรังสีรักษา. สงขลา: คณะพยาบาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2557.

สาวิตรี มณีพงศ์. การพัฒนาแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายหอผู้ป่วยเวชบำบัดวิกฤตอายุรกรรม แผนกการพยาบาลอายุรกรรม โรงพยาบาลศรีนครินทร์. ขอนแก่น: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.

ปราณี อ่อนศรี. บทบาทพยาบาลกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามความเชื่อทางศาสนา. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557:15(2):39-43.

หอผู้ป่วยพิเศษร่มเย็น 5 โรงพยาบาลลำพูน. รายงานการให้บริการผู้ป่วยที่มีปัญหาทางอายุรกรรม. ลำพูน: หอผู้ป่วยพิเศษร่มเย็น 5 โรงพยาบาลลำพูน; 2565.

วีรยา อินทร์คง. ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบบูรณาการ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเวียงสระ สุราษฎร์ธานี. นนทบุรี: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2558.

รุ่งทิวา จุลยามิตรพร. การพัฒนาโปรแกรมการตัดสินใจเชิงจริยธรรมในการจัดการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า. นนทบุรี: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2557.

กฤษณา นิลบดี. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย โรงพยาบาลแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่; 2566.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29