ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมเรียนรู้เรื่องเช็ดตัวลดไข้ต่อความสามารถของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กไข้สูง ในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • วันทนีย์ เชื่อมรัมย์ พยาบาลวิชาชีพระดับชำนาญการ หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลลำพูน

คำสำคัญ:

โปรแกรมการมีส่วนร่วม, เช็ดตัวลดไข้, ผู้ดูแล

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนหลังการทดลอง (One group pre-post research design) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้เรื่องเช็ดตัวลดไข้ และทักษะการเช็ดตัวลดไข้ของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กไข้สูงก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการมีส่วนร่วมเรียนรู้เรื่องเช็ดตัวลดไข้ ในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม  โรงพยาบาลลำพูน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลผู้ป่วยเด็ก ที่มารับการรักษาที่หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลลำพูน ในช่วงเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกรกฎาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและ Paired Samples t-test และกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
     ผลการศึกษา พบว่าหลังจากได้รับโปรแกรมผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กไข้สูง มีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยเด็กไข้สูงเพิ่มสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กไข้สูงมีทักษะการดูแลผู้ป่วยเด็กไข้สูงถูกต้องเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 50.3 เป็นร้อยละ 98.0 ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีทักษะการดูแลผู้ป่วยเด็กไข้สูงเพิ่มขึ้นในทุกกิจกรรม และอุณหภูมิกายของผู้ป่วยเด็กหลังจากผู้ดูแลได้รับโปรแกรมการมีส่วนร่วมเรียนรู้เรื่องเช็ดตัวลดไข้ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

ปิติกานต์ บูรณาภาพ. คู่มือตรวจโรคเด็ก ด้วยตนเองเบื้องต้น: กรุงเทพฯ: ซีเอ็คยูเคชั่น; 2554.

ศิริพร ผ่องจิตสิริ. Acute Care Pediatrics. กรุงเทพ: เอ-พลัส พริ้น; 2554.

สุวรรณี พันเจริญ. Febrile Convulsion. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์จจำกัด; 2552.

ขนิษฐา คูศิวิไลส์. ตำรากุมารเวชศาสตร์. กรุงเทพฯ: ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2557.

สุมิศรา อารีย์วัฒนานนท์. ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดไข้ชักซ้ำในผู้ป่วยเด็กโรคไข้ชักครั้งแรกของโรงพยาบาลหนองคาย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2559;13(3):119-128.

Vicens-Blanes F, Miro-Bonet R, Molina-Mula J. Analysis of the perceptions, knowledge and attitudes of parents towards fever in children: a systematic review with a qualitative meta-synthesis. J Clin Nurs.2022;22(1):1–27.

Barbi E, Marzuillo P, Neri E, Naviglio S, Baruch S, Krauss BS. Fever in Children: Pearls and Pitfalls. PMC Disclaimer. 2017;4(9): 81-93.

หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลลำพูน. รายงานจำนวนผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลลำพูน ปี 2563 – 2565. ลำพูน: หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลลำพูน;2565.

Schepp K. (1995). Psychometric assessment of the preferred participation scale for parents of hospitalized children. Washington: University of Washington, School of Nursing, Seattle, WA;1995.

วิไลยวัลน์ พนาลิกุล. ผลการพัฒนาความสามารถของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กชักจากไข้สูงโดยใช้โปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วม. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา. 2563;3(2):44-55.

บงกช นิลอ่อน, ยุนี พงศ์จตุรวิทย์, นุจรี ไชยมงคล. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของมารดาต่อความสามารถในการดูแลบุตรที่มีภาวะชักจากไข้สูง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2557;22(3):30-41

สุภาพรรณ เอี่ยมทา, ฉัตรฤดี พุ่มลัดดา, ภภาอัมพ์ บุญทองนุ่ม และเบญจา พุฒซ้อน. ประสิทธิภาพการเช็ดตัวลดไข้ในผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับ การรักษาที่หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร. ชัยนาท: โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร;2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29