ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) ของนักเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสตูล

ผู้แต่ง

  • นวพรรณ ศุขมณี โรงพยาบาลละงู
  • นภาภรณ์ แก้วเหมือน โรงพยาบาลละงู

คำสำคัญ:

ปัจจัย, การตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโคโรนาไวรัส, นักเรียนมัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) ของนักเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสตูล กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1–6 ปีการศึกษา 2565 จังหวัดสตูล จำนวน 520 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างสุ่มแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามแรงจูงใจในการป้องกันการติดเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) มีค่าความเชื่อมั่นของแอลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติ Multiple Logistic Regression Analysis
     ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านการรับรู้ความรุนแรงของการติดเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) (gif.latex?\bar{X}=4.05, SD=0.62) 2. ด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) (gif.latex?\bar{X}=4.10, SD=0.60) 3. ด้านความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนองต่อการป้องกันการติดเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) (gif.latex?\bar{X}=3.97, SD=0.66) และ 4. ด้านการรับรู้ความสามารถตนเองต่อการป้องกันการติดเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) (gif.latex?\bar{X}=4.02, SD=0.62) และยังพบว่า ความสัมพันธ์ต่อแรงจูงใจในการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) การรับรู้ความรุนแรงของการติดเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) ความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนองต่อการป้องกันการติดเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) และการรับรู้ความสามารถตนเองต่อการป้องกันการติดเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

References

World Health Organization. Coronavirus disease 2019 (COVID-19) WHO Thailand Situation Report 235 - 11 May 2022 [EN/TH] [Internet]. [cited 2023 Dec 12]. Available from: https: / /reliefweb.int/report/thailand/ Coronavirus -disease -2019 - covid- 19-who-thailand-situation-report-235-11-may-2022

National Institute of Vaccines. National agenda on vaccines. Bangkok: Basic Gear; 2011.

Bureau of Communicable Diseases. Vaccines and immunization textbooks. 1st Ed. Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University;2013. Available from: http://odpc9.ddc.moph.go.th/ SRRTcenter/57-Vaccine2556.pdf (In Thai)

Shipara A, Zachary B, Anjali K, Luke P, Phil G, Rachel P, Jason H, Peter WF. Race and Socioeconomic Status Independently Affect Risk of Major Amputation in Peripheral Artery Disease, Journal of the American Heart Association. 2018; 7:e007425. DOI: 10.1161/JAHA.117.007425

National Statistical Office (TH). Report of the situation of children and women in Thailand. [Internet]. 2012. [cited 2023 Dec 12]. Available from: https://www.nso.go.th/nsoweb/storage

/ebook/2023/20230509194824_87675.pdf (In Thai)

World Health Organization. Vaccination and trust: How concerns arise and the role of communication in mitigating crises; Technical Documents. [Internet]. 2017. [cited 2023 Dec 15]. Available from: https://www.who.int /publications/i/item/vaccination-and-trust

Philip K, Gary A. Marketing An Introduction. 4th Ed. New Jersey: Prentince Hall International; 1997.

Siriwan S. Consumer behavior. Bangkok: Pattanasauksa Publishing Limited; 1995.

National Health Security Office (TH). 10 things to know about health insurance rights. [Internet]. 2017. [cited 2023 Dec 15]. Available from:https://stream.nhso.go.th/assets/portals/1/fileups/(24)%2000.pdf (In Thai)

National Vaccines Institute (Public Organization) (TH). Workshop for immunization for health promotion and prevention personnel. [Internet].2018. [cited 2023 Dec 12]. Available from: http://nvi.go.th/wp-content/uploads/2019/12 /หลักสูตรเชิงปฏิบัติการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค_2561.pdf (In Thai)

Kanyapak P. Factor of motivation protection in diseases affecting services influenza vaccination in the elderly sansuk subdistrict, muang chonburi district, chonburi province [M.P.H. Public Health]. Chonburi: Burapha University; 2016. 81 p. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29