การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม

ผู้แต่ง

  • ภัทรมน ชิณจักร์ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยจิตเภท, พฤติกรรมก้าวร้าว, แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภท

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (Developmental Research) เพื่อพัฒนาและประเมินคุณภาพแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้พยาบาลวิชาชีพมีแนวทางในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวในแนวทางเดียวกัน โดยประยุกต์กรอบแนวคิดการพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกของสภาการวิจัยการแพทย์และสุขภาพแห่งชาติ ประเทศออสเตรเลีย (National Health and Medical Research Council [NHMRC],1998) ซึ่งประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ได้แก่      1) กำหนดประเด็นและขอบเขตของปัญหา 2) กำหนดทีมพัฒนา 3) กำหนดวัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมายและผลลัพธ์ 4) สืบค้นและการประเมินคุณค่าของหลักฐานเชิงประจักษ์ 5) ยกร่างแนวปฏิบัติการพยาบาล 6) ตรวจสอบเครื่องมือและแนวปฏิบัติการพยาบาล 7) ทดลองใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล และ 8) ประเมินผลการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลไปใช้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วยแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม และแบบประเมินความเป็นไปได้ของการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลไปใช้ วิเคราะห์ข้อมูลผลการประเมินการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลไปใช้ด้วยความถี่และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า

  1. แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลสมเด็จ พระยุพราชธาตุพนม พัฒนาจากการทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์ ได้องค์ประกอบในการให้การพยาบาลผู้ป่วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่  การประเมินการพยาบาลแรกรับ 2. การประเมินสภาพทางจิตและความรุนแรงของพฤติกรรม 3. การให้การพยาบาลผู้ป่วยตามระดับความรุนแรง และ 4. การให้ข้อมูลและการส่งต่อ ซึ่งแนวปฏิบัติการพยาบาลที่ได้พัฒนาขึ้นได้ผ่านการตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่าความสอดคล้องทางด้านเนื้อหารวม (S-CVI) เท่ากับ 0.87
  2. การประเมินคุณภาพแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม โดยพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย จำนวน 10 คน พบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ3 เห็นว่าแนวปฏิบัติมีความเหมาะสมและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ส่วนด้านความยาก-ง่ายของการใช้แนวปฏิบัติ พบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 87.85 เห็นว่าแนวปฏิบัติมีความง่ายต่อการปฏิบัติ แต่มีร้อยละ 12.15 เห็นว่าแนวปฏิบัติมีความยากต่อการปฏิบัติโดยเฉพาะในองค์ประกอบที่ 2 ด้านการประเมินสภาพทางจิตและความรุนแรงของพฤติกรรม

     จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม สามารถนำไปปฏิบัติใช้ในหน่วยงานได้จริง แต่จำเป็นต้องมีการฝึกอบรมเพิ่มความรู้และทักษะในการให้การพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการก้าวร้าวรุนแรงเพื่อให้พยาบาลมีความมั่นใจและสามารถปฏิบัติการพยาบาลตามแนวทางที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

มันฑนา กิตติพีรชล, ปัทมา ศิริเวช, บุรินทร์ สุรอรุณสัมฤทธิ์, และวีร์ เมฆวิลัย.(บรรณาธิการ). คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท สำหรับโรงพยาบาลในเขตสุขภาพ (ฉบับแพทย์). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:บริษัท วิคทอเรียอิมเมจ จำกัด. 2560.

เสาวลักษณ์ สุวรรณไมตรี,นางสาวอนงค์นุช ศาโศรก, สาวธนเนตร ฉันทลักษณ์วงศ์, ชุรีภรณ์ เสียงล้ำและวีร์ เมฆวิลัย. คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท สำ หรับโรงพยาบาลในเขตสุขภาพ(ฉบับพยาบาล/นักวิชาการสาธารณสุข). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:บริษัท วิคทอเรียอิมเมจ จำกัด. 2560.

มาโนช หล่อตระกูล และปราโมทย์ สุคนิชย์. (บรรณาธิการ). จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.2558

สุดาพร สถิตยุทธการ. การกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง: สถานการณ์แนวทางป้องกัน. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2559;28(3).1-15

วุฒิชัย ชวนชนก, ภัทราภรณ์ ภทรสกุล, และสมบัติ สกุลพรรณ์. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้ป่วยโรคจิตเภทในแผนกจิตเวชฉุกเฉิน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2565; 36(3). 81-97

สมภพ เรืองตระกูล. ตำราจิตเวชศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่10.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์เรือนแก้ว.2557

ศศินันท์ รักษาทรัพย์,ศิริลักษณ์ สว่างวงศ์สิน และนิตยา สุริยะพันธ์. พัฒนาแนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทพฤติกรรมรุนแรง ในโรงพยาบาลศรีธัญญา. วารสารโรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2564; 36(1).159-168.

Joanna Briggs Institute. JBI levels of evidence and grading of recommendations. 2008: Retrived February 19,2023, from http://jbiconnect.org/connect/info/jbi_ebhc_approach.php

อัจฉรา คำมะทิตย์. หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาล: ค้นหา วิเคราะห์ และนำไปใช้อย่างไร. วารสารการพยาบาลและสาธารณสุขเครือข่ายภาคใต้. 2564; 8(2). 318-328

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ = The methodology in nursing research. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550

ฟองคำ ติลกสกุลชัย. การปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์: หลักการและวิธีปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่6. กรุงเทพฯ: พรี-วัน. 2554.

สายรุ้ง ภูนาคำ. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวและมีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงจากการใช้สารเสพติด : กรณีศึกษา2 ราย. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2566; 8(3). 577-589

พจนา เปลี่ยนเกิด และสมพิศ เกิดศิริ. สมรรถนะของพยาบาลจิตเวชในการปฏิบัติการพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557; 15(2). 160-165.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29