การพัฒนาแนวทางปฏิบัติในการประเมินความสมเหตุผลของการใช้ยาโอเมพราโซลในการป้องกันแผลทางเดินอาหารจากการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ในโรงพยาบาลชุมพลบุรี

ผู้แต่ง

  • พิชญา อุดมศิลป์ เภสัชกรชำนาญการ กลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค โรงพยาบาลชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์
  • อุไรวรรณ อกนิตย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กลุ่มวิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ตุลาการ นาคพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาเภสัชกรรมสังคม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

แนวทางปฏิบัติ, การประเมิน, ความสมเหตุผล, โอเมพราโซล, แผลทางเดินอาหาร, ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้มีรูปแบบเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and development) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางปฏิบัติในการประเมินความสมเหตุผลของการใช้ยาโอเมพราโซลชนิดรับประทานในการป้องกันการเกิดแผลทางเดินอาหารจากการใช้ NSAIDs ในโรงพยาบาลและประเมินความคิดเห็นต่อการใช้แนวทางปฏิบัติในการประเมินความสมเหตุผลในการใช้ยาโอเมพราโซลในการป้องกันแผลทางเดินอาหารจากใช้ NSAIDs ที่พัฒนาขึ้น การวิจัยดำเนินการระหว่างเดือนกรกฎาคม - กันยายน พ.ศ.2566 แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาแนวทางปฏิบัติฯ และระยะที่ 2 การประเมินความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมการศึกษาต่อการใช้แนวทางปฏิบัติฯ ในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 13 คน ประกอบด้วย แพทย์ที่ทำการตรวจรักษา จำนวน 4 คน พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการในแผนกผู้ป่วยนอกและทำหน้าที่คัดกรองผู้ป่วย จำนวน 5 คน เภสัชกรห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอกและทำหน้าที่จ่ายยาแก่ผู้ป่วย จำนวน 4 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
     ผลการศึกษา: แนวทางปฏิบัติฯที่พัฒนาจากการศึกษานี้ประกอบด้วย  เกณฑ์อนุมัติการใช้ยา (ข้อบ่งใช้ วิธีการประเมิน และขนาดยา) การประเมินผลการรักษา และการใช้ระบบการแจ้งเตือนการสั่งยาผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ HOSxP ผู้เข้าร่วมการศึกษามีความคิดเห็นเชิงบวกต่อการนำแนวทางปฏิบัติฯไปใช้ทั้งทุกระยะ ได้แก่ ระยะก่อนพัฒนา ระยะหลังจากทดลองใช้ และระยะนำไปใช้จริง ค่าเฉลี่ยของคำถามด้านประโยชน์ของการใช้แนวทางปฏิบัติฯมีค่ามากที่สุด (4.33, 4.56 และ 4.62) ค่าเฉลี่ยของคำถามด้านความยาก-ง่ายในการใช้แนวทางปฏิบัติฯมีค่าน้อยที่สุด (3.25, 4.00 และ 4.13)

References

World Health Organization. Promoting rational use of medicines [online]. 2022 [cited 1 Mar 2022]. Available from: https://www.who.int/activities/promoting-rational-use-of-medicines.

คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ. นโยบายแห่งชาติด้านยาและยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ. 2563-2565 (คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2564) [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงจาก: http://ndi.fda.moph.go.th/uploads/policy_file//20210330101713.pdf.

คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล. คู่มือการดำเนินงานโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Rational Drug Use Hospital Manual). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2558.

เวโรจน์ เหล่าโภคิน, ศุภานัน เดชะปักษ์, สิริอร ภาคพิชเจริญ, จิรวิชญ์ ยาดี, นันทวรรณ กิติกรรณากรณ์. ความปลอดภัยของการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (non-steroidal anti-inflammatory drugs, NSAIDs) กับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง (chronic kidney disease).บทความวิชาการ ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์; 2561.

Khan MA, Howden CW. The role of proton pump inhibitors in the management of upper gastrointestinal disorders. Gastroenterol Hepatol (NY) 2018; 14: 169-75.

สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย. รายงานการศึกษาประสิทธิผลรักษาและความปลอดภัยของยายับยั้งการหลั่งกรดกลุ่ม Proton Pump Inhibitors. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2555.

พิชญา อุดมศิลป์, ตุลการ นาคพันธ์ และอุไรวรรณ อกนิตย์. การประเมินความสมเหตุผลของการใช้ยาโอเมพราโซลตามแนวทางปฏิบัติทางคลินิกในการป้องการเกิดแผลทางเดินอาหารจากการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง. วารสารเภสัชกรรมไทย 2566; 15(1): 1-10.

Lanza FL., Chan FK. Quigley EM. Parameter Committee of the American College of Gastroenterololy (2009). Guidelines for prevention of NSAID-related ulcer complications2009. The American Journal of Gastroenterology.104, 728-38.

World Health Organization. ICD-10. International statistical classification of diseases and related health

problems 10th revision (ICD-10) [online]. 2019 [cited Oct 1,2022]. Available from: icd.who.int/brow se10/2019/en.

Omeprazole. In: DRUGDEX [database on the Internet]. Greenwood Village (CO): IBM Corporation;2022 [cited 2022 Oct 1]. Available from: www.micromedexsolutions.com. Subscription required to view.

Pittayanon R, Leelakusolvong S, Vilaichone RK, Roj borwonwitaya J, Treeprasertsuk S, Mairiang P, et al.

Thailand dyspepsia guidelines: 2018. Neurogastroen terol Motil 2019; 25: 15-26.

คณะกรรมการผู้จัดทำแนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนในประเทศไทย พ.ศ. 2563. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนในประเทศไทย พ.ศ. 2563 (Thailand GERD guideline 2020). กรุงเทพฯ: พริ้นท์เอเบิ้ล; 2563.

กลุ่มวิจัยโรคกระเพาะอาหาร. แนวทางเวชปฏิบัติในการวินิจฉัยและการรักษาผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori) ในประเทศไทย พ.ศ 2558. กรุงเทพฯ: คอนเซ็พท์ เมดิคัส จำกัด; 2558.

กนกนุช พิลากุล. การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการคัดกรองผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแผนกผู้ป่วยนอก.วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน. พ.ศ. 2567;9(1):786-794.

อัจฉรา ไชยธรรม, หทัยกาญจน์ เชาวนพูลผล. การพัฒนาระบบการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผล: กรณีศึกษาการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจและบาดแผลสดจากอุบัติเหตุของโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในภาคเหนือตอนบน. วารสารเภสัชกรรมไทย. พ.ศ. 2564;13(1):74-87.

ละมัย รอดทรัพย์, อรนิต สุรินทรากร. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. พ.ศ. 2556;21(1):22-34.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30