ผลของกระบวนการพัฒนาตำบลต้นแบบส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยชุมชนมีส่วนร่วม ในเขตพื้นที่ตำบลหนองช้าง อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ประครอง วิเชียรสาร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองช้าง อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การพัฒนาตำบลต้นแบบ, ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก , ชุมชนมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลกระบวนการพัฒนาตำบลต้นแบบส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยชุมชนมีส่วนร่วมในเขตพื้นที่ตำบลหนองช้าง อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูล ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมายเชิงพื้นที่ ได้แก่ ตำบลหนองช้าง จำนวน 1 ตำบล ,กลุ่มเป้าหมายเชิงสถานที่ ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 3 แห่ง และกลุ่มตัวอย่างเด็กปฐมวัยและผู้เลี้ยงดู จำนวน 45 คู่ โดยใช้เกณฑ์คัดเข้ากลุ่มตัวอย่างและการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ระยะเวลาศึกษา เดือน มิถุนายน 2566 – กุมภาพันธ์ 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เกณฑ์ตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus ,เกณฑ์สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยตามมาตรฐานแห่งชาติ ด้านสุขภาพ 4D ,คู่มือ DSPM ,Program Triple P ,แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ และแบบวัดทักษะพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการของผู้เลี้ยงดู สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบความแตกต่างภายในกลุ่มด้วย Paired t-test
     ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการพัฒนาตำบลต้นแบบส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยชุมชนมีส่วนร่วมมีกระบวนการเรียนรู้แก่แกนนำชุมชนที่เกี่ยวข้อง โดยการขับเคลื่อนการพัฒนาตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus ที่ครอบคลุมการดูแลเด็กปฐมวัยในกลุ่มอายุ 0 - 2 ปี รวมถึงครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์ กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ และกลุ่มหญิงหลังคลอด ร่วมกับการยกระดับสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยตามมาตรฐานแห่งชาติ ด้านสุขภาพ 4D สำหรับกระบวนการเรียนรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า ใช้โปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวกโดยครอบครัวมีส่วนร่วมที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัยในกลุ่มอายุ 2 - 5 ปี ซึ่งตำบลหนองช้างผ่านการรับรองเป็น ตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus ,สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยตามมาตรฐานแห่งชาติ ด้านสุขภาพ 4D ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 100 และหลังเข้าร่วมกระบวนการ เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัยทั้ง 5 ด้าน ร้อยละ 100 ,ระดับความฉลาดทางด้านอารมณ์ ด้านดี ส่วนใหญ่ ปกติ ร้อยละ 88.89 ,ด้านเก่ง ส่วนใหญ่ ปกติ ร้อยละ 91.11 และด้านสุข ส่วนใหญ่ ปกติ ร้อยละ 100 และทักษะพฤติกรรมของผู้ปกครองของเด็กปฐมวัย ส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 91.11 โดยภาพรวมหลังเข้าร่วมโปรแกรม ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยมีทักษะพฤติกรรม สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05)

References

ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์,อมรา ธนศุภรัตนา,กีรติ ลิ่มสืบเชื้อ,บรรณาธิการ. โปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวก โดยครอบครัวมีส่วนร่วม (Preschool Parenting Program ;Triple P). เชียงใหม่ : บริษัทสยามพิมพ์นานา จำกัด : 2565. [เข้าถึงเมื่อ 9 ก.ค.2564]. เข้าถึงได้จาก https://www.dmh.goth /bp/files/modelkid.pdf

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. ระบบฐานข้อมูลกลางกระทรวงสาธารณสุข HDC : Health Data Center ; 2565.

จันทร์อาภา สุขทัพภ์, บรรณาธิการ. เดินหน้า สร้างเด็กไทย ไอคิวดี การสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญา (IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) เด็กไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประจำปี 2564. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพ:โรงพิมพ์บียอนด์พับลิสซิ่ง จำกัด; 2565

สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการส่งเสริมคุณภาพสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ด้านสุขภาพ (4D) ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. กรุงเทพ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2564.

สราญจิต อินศร , ยศสยา อ่อนคำ และฤทธิรงค์ เรืองฤทธิ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวกโดยครอบครัวมีส่วนร่วมต่อพัฒนาการเด็กอายุ 3 – 5 ปี จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม 2564 ; 10 : 143 – 60.

วารีทิพย์ พึ่งพันธ์ ,วราภรณ์ จิตอารี และภาพิมล บุญอิ้ง. แนวทางการดำเนินงานตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน. นนทบุรี. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ; 2565.

ศูนย์สุขภาพจิตที่ 7. คู่มือประกอบการจัดกิจกรรม Smart Kids Area 7 : SA. ขอนแก่น ; 2566.

สำนักนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย กระทรวงศึกษาธิการ. แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564 – 2570. กรุงเทพฯ. บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด ; 2564.

สิรินรัตน์ แสงศิริรักษ์ และเอกลักษณ์ แสงศิริรักษ์. ประสิทธิภาพของโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิตต่อพัฒนาการเด็กของ. วารสารการแพทย์ 2563 ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 (2020) : มกราคม-เมษายน 2563.

ฐาปนิต อมรชินธนา. การศึกษาการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนนโยบาย โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต จังหวัดสุรินทร์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2565 ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 (2022) : มกราคม-เมษายน 2565.

วาธิณี วงศาโรจน์ ,โชติ บดีรัฐ และศรชัย ท้าวมิตร. รูปแบบการบริหารการส่งเสริมคุณภาพสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านสุขภาพ ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ในจังหวัดสระบุรี. Journal of Roi Kaensarn Academi ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 (2024) : มีนาคม 2567.

วิมลพรรณ สังข์สกุล ,ปัทมา ผ่องศิริ ,จรูญศรี มีหนองหว้า และวิภาวี พลแก้ว. สถานการณ์และแนวทางการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่มุ่งเน้นผลลัพธ์. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล 2564; 1:1–18

ศิริกัญญา ฤทธิ์แปลก. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ 1 – 3 ปี โดยครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม : กรณีศึกษาชุมชนตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฎเลย 2559 ; 11 : 99-109.

จุฬาลักษณ์ ยะวิญชาญ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว. ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และเสริมสร้างวินัยเชิงบวกในเด็กปฐมวัย โดยครอบครัวมีส่วนร่วม อำเภอปัว จังหวัดน่าน. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ 2562 ; 1 : 70 – 85.

เบ็ญจมาศ สลิลปราโมทย์. คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลเด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการล่าช้า. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2566 ; 3 : 114 - 25.

วลัยพร ศรีรัตน์ ,สุขุม เฉลยทรัพย์ และชนะศึก นิชานนท์ (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์. Journal of Roi Kaensarn Academi ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนตุลาคม 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30