การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง คัดกรองสุขภาพจิตในชุมชน จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • ศิลา จิรวิกรานต์กุล นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

สุขภาพจิต, เฝ้าระวัง, คัดกรอง, บุรีรัมย์

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and development: R&D) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง คัดกรองสุขภาพจิตในชุมชน จังหวัดบุรีรัมย์ แบ่งออกเป็น 5 ระยะ คือ ระยะที่ 1) การประเมินสภาพปัญหาปัจจุบัน ระยะที่ 2) ยกร่างรูปแบบการเฝ้าระวัง คัดกรอง ระยะที่ 3) ปรับปรุงพัฒนา ระยะที่ 4) นำรูปแบบไปทดลองใช้ และระยะที่ 5) การประเมินผลการดำเนินงานตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น (Model Evaluating) โดยใช้ระยะเวลาการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 – เดือนมกราคม พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดย การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test
     ผลการศึกษา พบว่า ผู้ดูแลผู้ป่วย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง และเป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป แต่ไม่มีโรคประจำตัว มีอาชีพเป็นเกษตรกร ร้อยละ 57.78 มีรายได้ 5000 ถึง 10,000 บาทต่อเดือน ผู้ดูแลผู้ป่วยมีความสัมพันธ์เป็นพี่น้องกับผู้ป่วย คิดเป็นร้อยละ 35.56 มีลักษณะโครงสร้างของครอบครัวเป็นครอบครัวเดี่ยว คิดเป็นร้อยละ 76.67 ค่าเฉลี่ยของระยะเวลาการดูแลผู้ป่วยเท่ากับ 15.12 ปี ภาพรวมของสัมพันธภาพในครอบครัวอยู่ในระดับปานกลาง แต่ขาดการสนับสนุนให้ผู้ป่วยมีรายได้ สร้างอาชีพ ภาพรวมภาระเชิงปรนัยและอัตนัยอยู่ในระดับปานกลาง ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทำนายกับตัวแปรตาม พบว่า ระบบบริการในชุมชน แกนนำผู้ดูแลผู้ป่วยสุขภาพจิตในชุมชน การดูแลผู้ป่วยและญาติ และการดำเนินงานสุขภาพจิตในชุมชน มีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 นำมาสู่การยกร่างรูปแบบการเฝ้าระวัง คัดกรองสุขภาพจิต โดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง คือ “BRM Model” หรือ “บุรีรัมย์ โมเดล” นำรูปแบบไปทดลองใช้ในปี 2565 ผลการดำเนินงานตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น (Model Evaluating) พบว่าในปี 2563 ผู้ป่วยจะเข้ารับบริการเฉลี่ย 3.11 ครั้ง/ คน/ ปี ซึ่งน้อยกว่าช่วงหลังการนำระบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้ ซึ่งพบว่าผู้ป่วยเข้ารับบริการสุขภาพจิตและจิตเวชในการให้บริการผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้นเป็น 4.77 ครั้ง/ คน/ ปี ที่ระดับ (t-test) = -5.468 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อัตราการฆ่าตัวตายลำเสร็จลดลง และร้อยละของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการเพิ่มสูงขึ้น

References

คณะโฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ. (2563). กรมสอบสวนคดีพิเศษแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์กราดยิงผู้บริสุทธิ์ที่จังหวัดนครราชสีมามอบศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษเขตพื้นที่ 3 ประสานงานช่วยเหลือ,. กรุงเทพมหานคร: กรมสอบสวนคดีพิเศษ Retrieved from https://www.dsi.go.th/en/Detail/ef47f07fb5838a9407549606baed5f3c

สกุลศรี ศรีสารคาม. (2565). หตุสะเทือนขวัญ “หนองบัวลำภู” สื่อหลักส่วนน้อยยังหลุดกรอบ ย้ำเติมความรู้สื่อรุ่นใหม่. สภาการสื่อสารมวลชนแห่งชาติ. https://www.presscouncil.or.th/8228

ณัฐญา นิยมทอง (2564). เอกสารประกอบการตรวจราชการและนิเทศงานกระทรวงสาธารณสุขกรณีปกติ รอบที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จังหวัดบุรีรัมย์,.

อุษา แก้วอำภา. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาระในการดูแล กับสุขภาพจิต ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 26(3), 127-143. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JPNMH/article/view/18110/15977

กำทร ดานา. (2564). การพัฒนาบทบาทการดูแลผู้ป่ วยจิตเวชของครอบครัวและภาคีเครือข่ายในชุมชน. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 30(3), 406-414. https://thaidj.org/index.php/JHS/article/download/10199/8976/15526

ปราณี สุทธิสุคนธ์, เกรียงศักดิ์ ซื่อเลื่อม, ดุษณี ดํามี, & เริงวิชญ์ นิลโคตร. (2552). สัมพันธภาพในครอบครัวไทย. ห. แท่นทองชินวัฒน์การพิมพ์.

หทัยกาญจน์ เสียงเพราะ. (2564). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่กลับมารักษาซ้ำโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์,, 36(2), 413-426. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/252861/172040

สุพรรณี สายบุตร, & ชานนท์ โกมลมาลย์. (2561). การตัดสินใจและความต้องการการสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวในการรับผู้ป่วยจิตเภทไปดูแลต่อเนื่อง. Retrieved from https://socadmin.tu.ac.th/uploads/socadmin/file_research/research_Split/13.pdf

เสาวนีย์ คงนิรันดร. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท มหาวิทยาลัยบูรพา]. https://buuir.buu.ac.th/bitstream/1234567890/11620/1/53920628.pdf

Tausig, M., Subedi, S., Broughton, C. L., Subedi, J., & Williams-Blangero, S. (2003). Measuring Community Mental Health in Developing Societies: Evaluation of a Checklist Format in Nepal. International Journal of Social Psychiatry, 49(4), 269-286. https://doi.org/10.1177/0020764003494005

Whitton, A. E., Hardy, R., Cope, K., Gieng, C., Gow, L., MacKinnon, A., Gale, N., O'Moore, K., Anderson, J., Proudfoot, J., Cockayne, N., O'Dea, B., Christensen, H., & Newby, J. M. (2021). Mental Health Screening in General Practices as a Means for Enhancing Uptake of Digital Mental Health Interventions: Observational Cohort Study. J Med Internet Res, 23(9), e28369. https://doi.org/10.2196/28369

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30