การพัฒนาแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุม เพื่อยุติการแพร่กระจายของวัณโรคในจังหวัดชัยนาท

ผู้แต่ง

  • มนตรี หนองคาย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท

คำสำคัญ:

แนวทางการเฝ้าระวัง, การแพร่กระจาย, วัณโรค

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ( Participatory Action Research) มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1 ) ศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์วัณโรคในจังหวัดชัยนาท 2) ศึกษาและวิเคราะห์แนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมวัณโรคของจังหวัดชัยนาท 3) พัฒนาแนวทางการการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมวัณโรคของจังหวัดชัยนาท เก็บข้อมูลจากการสนทนาแบบกลุ่ม ( focus group discussion ) การสัมภาษณ์เชิงลึก (in depth interview ) กำหนดกระบวนการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานควบคุมวัณโรคในพื้นที่ วิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จากการสนทนากลุ่มนำเสนอข้อมูลเป็นความเรียง (Descriptive Analysis) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบคัดกรองอาการสงสัยวัณโรคปอดของกองวัณโรคที่ประยุกต์ให้เป็นรูปแบบออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาและเชิงเนื้อหา       ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุม เพื่อยุติการแพร่กระจายของวัณโรคในจังหวัดชัยนาท กำหนดให้เน้นการดำเนินการเชิงรุกในชุมชน ด้วยการใช้แบบคัดกรองอาการสงสัยวัณโรคปอด ของกองวัณโรค ซึ่งประยุกต์ให้เป็นรูปแบบออนไลน์ มาใช้ในการคัดกรอง สร้างรูปแบบการบันทึกข้อมูลผ่าน google form สำหรับการบันทึกข้อมูลของเจ้าหน้าที่ นำผู้ที่มีคะแนนประเมินตั้งแต่ 3 คะแนนขึ้นไป เข้าสู่การตรวจที่โรงพยาบาลในเครือข่ายผ่านการนัดอย่างเป็นระบบ ดำเนินการขึ้นทะเบียนเมื่อวินิจฉัยเป็นวัณโรค เข้าสู่กระบวนการรักษาติดตาม และรายงานตามระบบ ตลอดจนมีการนัดหมายติดตามอาการ กรณีตรวจไม่พบวัณโรค กำหนดเป้าหมายการคัดกรองประชาชนทุกกลุ่มไม่เฉพาะเจาะจงใน 7 กลุ่มเสี่ยง ตามผลการศึกษาที่พบว่ามีผู้ได้รับการวินิจฉัยวัณโรคปอด เป็นกลุ่มที่อยู่นอก 7 กลุ่มเสี่ยง จำนวน 127 ราย คิดเป็นร้อยละ 51.63 ของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยทั้งหมด

References

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. แผนปฏิบัติการระดับชาติ ด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ. 2560 - 2564 . กรุงเทพมหานคร: กองวัณโรค; 2560.

สุพร กาวินำ ส.ม.,การคัดกรองเพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในประชากรกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ติดสุรา.วารสารวิชาการ สาธารณสุข 2560; 26(3) 561-570

Systematic screening for active tuberculosis : anoperational guide. Geneva: World Health Organization; 2015.

กองวัณโรค กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข.แนวทางบริหารจัดการและการปฏิบัติทางห้องปฏิบัติการด้าน วัณโรค. กรุงเทพมหานคร: กองวัณโรค; 2562.

Kemmis S.Action research as a practice-based practice. Educational Action Research. 2009; 17(3): 463-74.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการสอบสวนและควบคุม วัณโรค. กรุงเทพมหานคร: สำนักวัณโรค; 2564.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการสอบสวนและควบคุม วัณโรค. กรุงเทพมหานคร: สำนักวัณโรค; 2564.

สิริหญิง ทิพศรีราช ,ทรงยศ คำชัย และคณะ. การพัฒนารูปแบบการค้นหาวัณโรคในพื้นที่เขตเมือง โดยการประเมิน ความเสี่ยงด้วยตนเอง. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10จังหวัดอุบลราชธานี . 2565; 20(2): 84-96

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข.การคัดกรองเพื่อค้นหาวัณโรคและวัณโรคดื้อยา . 2” กรุงเทพมหานคร : อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.

ศศิธร ศรีโพธิ์ทอง.การคัดกรองวัณโรคปอดในกลุ่มเสี่ยง และประสิทธิภาพของแบบคัดกรองอาการสงสสัยวัณโรค. พุทธชินราชเวชสาร 2018; 35(3) :394-400

สุธิดา อิสระ,อรสา กงตาล.การพัฒนาแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมวัณโรคในชุมชนเขตเมือง กรณีศึกษา ในชุมชนของเทศบาลนครขอนแก่น อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น.วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2563; 40(2); 148-162

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30