ผลการกระตุ้นการไหลของน้ำนมในแม่หลังคลอดด้วยคลื่นเหนือเสียง (ultrasound diathermy)
คำสำคัญ:
คลื่นเหนือเสียง, การกระตุ้นการไหลของน้ำนม, ultrasound diathermyบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการกระตุ้นการไหลของน้ำนมในแม่หลังคลอดด้วยคลื่นเหนือเสียง (ultrasound diathermy ) กลุ่มตัวอย่างเป็นแม่หลังคลอดที่มาคลอดบุตรที่โรงพยาบาลโพนพิสัยในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2567 จำนวน 30 ราย คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งออกเป็นกลุ่มควบคุม 15 รายที่ได้รับการพยาบาลตามปกติและกลุ่มทดลอง 15 ราย ที่ได้รับโปรแกรมการกระตุ้นการไหลของน้ำนมด้วยคลื่นเหนือเสียงจำนวน 3 ครั้งคือหลังคลอด 24, 32 และ 40 ชั่วโมง โดยทำการกระตุ้นก่อนการให้นมบุตรหรือหลังการให้นมบุตรแล้ว 2 ชั่วโมง วัดปริมาณการไหลของน้ำนม ความสุขสบายและความเจ็บปวดเต้านมขณะให้นมบุตรก่อนการกระตุ้นครั้งแรกและหลังการกระตุ้นทุกครั้ง ใช้ความเข้มของคลื่นเหนือเสียงเท่ากับ 2.0 w/cm2 กระตุ้นเต้าละ 11 นาที โดยวน sound head บริเวณลานนม 1 นาทีและทำการวนรอบๆเต้านมอีก 10 นาที หลังจากนั้นบีบหัวนมเพื่อตรวจวัดปริมาณการไหลของน้ำนม สอบถามความสุขสบายและความเจ็บปวดขณะให้นมบุตร ผลการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองมีอายุเฉลี่ย 25.07 ปี (SD=3.94) อายุครรภ์เฉลี่ย 38.27 สัปดาห์ (SD=0.88) น้ำหนักทารกแรกคลอดเฉลี่ย 3,023.60 (SD=416.18 ) กลุ่มควบคุมมีอายุเฉลี่ย 24.13 ปี (SD=5.80) อายุครรภ์เฉลี่ย 38.13(SD=0.99) น้ำหนักทารกแรกคลอดเฉลี่ย 2,745 (SD=2,4,109) ทั้งสองกลุ่มมีความตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทุกรายส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 6-9 เดือน ปริมาณการไหลของน้ำนมของกลุ่มทดลองมากว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ P<0.05 ความสุขสบายขณะให้นมบุตรในกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ P<0.05 ความเจ็บปวดเต้านมขณะให้นมบุตรในกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ P<0.05 และความพึงพอใจของกลุ่มทดลองอยู่ในระดับดี
References
ปิยวรรณ แปลนดี. ประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันและการรักษาทางกายภาพบาบัดต่อภาวะเต้านมคัดตึง ในมารดาครรภ์แรก. Chumphuang Hospital, Nakhon Ratchasima, Thailand. Received: 26 Mar 2022; Revised: 14 Sep 2022; Accepted: 14 Sep 2022.วารสารกายภาพบำบัด 2566; 45(1): 13-24
คฑาวุธ เกษาพันธ์, จันทร์สุดา เลพล, จุฑามาศ เกตแก้ว, จุฬารัตน์ ห้าวหาญ, เจษฎาภรณ์ พงษ์เพชร,
ฉวีวรรณ เจียมรัมย์, ตะวันฉาย ลินลา, ปัณณธร สุวรรณฑา และ วิรตี เชื่อมั่น.การนวดเเละการประคบเต้านมเพื่อกระตุ้นการไหลของน้ำนมในมารดาหลังคลอด:การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ.วารสารวิจัยนวัตกรรมและหลักฐานเชิงประจักษ์ทางสุขภาพ, 1(2), 1-14. Received: 7 พฤศจิกายน 2565; Revised: 28 มกราคม 2566; Accepted: 21 มีนาคม 2566
Winichagoon P, Damrongwongsiri O. Breastfeeding situation, facilitators and obstacles, policy and program to promote breastfeeding in Thailand. J Nutr Assoc Thailand. 2020; 55(1): 66-81. (in Thai)
วิโรจน์ ฉิ่งเล็ก, วารุณี เกตุอินทร์ และ อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์. (2563). การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของ มารดาวัยรุ่น:บทบาทพยาบาลในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล Promotion of Breastfeeding
วาทินี วิภูภิญโญ. (2563). ปัจจัยล้มเหลวที่ส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในโรงพยาบาลชัยภูมิ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 35(5), 635-642.
SHELLSHEAR, Marguerite. Therapeutic ultrasound in post-partum breast engorgement. The Australian Journal of Physiotherapy, 1981, 27.1: 15-16.
กลไกการสร้างและหลั่งน้ำนม. Chulalongkornhospital. http://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/wpcontent/uploads/2022/10/Mechanism-and-Secrete-Milk.pdf
อานิตย์ อ๋องสกุล. (2564). ผลของการใช้นวัตกรรม Donut Heat Gel ต่อระยะเวลาการหลั่งน้ำนมครั้งแรกในมารดาหลังคลอดหอผู้ป่วยหลังคลอดโรงพยาบาลพัทลุง The Effectiveness Donut Hot Gel Compress on First-Time Lactation after Birth in Postpartum Women. วารสารวิชาการ, 1(1), 1-15.
MAGGI, L. E., et al. Thermographic Evaluation Before and After the Use of Therapeutic Ultrasound in Breast Engorgement. In: Brazilian Congress on Biomedical Engineering. Cham: Springer International Publishing, 2020. p. 2409-2412.
Best, John W.1981. Research in Education. 4 rd ed. Englewood.Cliff, N.J. : Prentice Hall.
มารียา มะแซ, ศศิกานต์ กาละ, วรางคณา ชัชเวช. (2562). ผลของโปรแกรมการนวดเต้านมด้วยตนเองต่อการไหลของน้ำนมในมารดาครรภ์แรก Effect of Self-Breast Massage Program on Milk Ejection of First-Time Mothers. วารสารมหาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 11(3), 3-11.
TREENUCHAKORN, Matchima, et al. ประสิทธิผลของการนวดกระตุ้นเต้านมต่อการไหลของน้ำนมในหญิงหลังคลอด. Journal of Health Science-วารสาร วิชาการ สาธารณสุข, 2022, 31.Supplement 2: 269-279.
โรงพยาบาล บางปะกอก3. ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด. https://www.bangpakok3.com/care_blog/view/253
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แนวทางการขับเคลื่อนมหัศจรรย์ 1000 วันแรกของชีวิต. หจก.เอ.วี.โปรแกรมชีฟ