การประเมินการถ่ายภาพรังสีทรวงอกจากเครื่องเอกซเรย์ดิจิตอล ด้วยเครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่ในทารกแรกเกิดในหอผู้ป่วยวิกฤติเด็ก โรงพยาบาลสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • อรทัย โยธิการ์ กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลสมุทรปราการ

คำสำคัญ:

ค่าดัชนีรังสี, ค่าเบี่ยงเบนรังสี, ภาพถ่ายรังสีทรวงอกทารกแรกเกิด, ระบบดิจิทัล

บทคัดย่อ

     งานวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพ และค่าดัชนีรังสี ค่าเบี่ยงเบนรังสีจากภาพถ่ายรังสีทรวงอกทารกแรกเกิดในหอผู้ป่วยวิกฤติเด็ก โรงพยาบาลสมุทรปราการกับเกณฑ์เหมาะสมของบริษัทผู้ผลิต และเทียบกับเป้าหมายหน่วยงาน จากระบบดิจิทัลเอกซเรย์เคลื่อนที่ (Mobile Carstream) โดยใช้ข้อมูลก่อนพัฒนาของทารกแรกเกิดในหอผู้ป่วยวิกฤติเด็ก ที่เข้ารับบริการตั้งแต่ 1 มกราคม 2566 – 30 มิถุนายน 2566 จำนวน 600 แผ่นภาพ (เดือนละ 100 แผ่นภาพ) และ ข้อมูลช่วงพัฒนา1กรกฎาคม 2566 – 31 ธันวาคม 2566 จำนวน 600 แผ่นภาพ (เดือนละ 100 แผ่นภาพ)  วิเคราะห์ค่าดัชนีรังสีและค่าเบี่ยงเบนรังสีและระดับคุณภาพ ช่วงก่อนพัฒนาและช่วงพัฒนา พรรณนาข้อมูลด้วย จำนวน ค่าร้อยละ และเทียบกับเป้าหมายหน่วยงาน
     ผลวิจัยกลุ่มทารกแรกเกิดในหอผู้ป่วยวิกฤติเด็ก มีช่วงอายุ 0-1 เดือน น้ำหนักตัวช่วง 800- 2500 กรัม  ในจำนวนภาพถ่ายรังสีทรวงอก 1,200 ภาพ ช่วงหกเดือนแรก กลุ่มก่อนพัฒนา 600 ภาพ (1 ม.ค.- 30 มิ.ย. 2566) มีร้อยละสัดส่วนเพศชายต่อเพศหญิง 52.8 ต่อ 47.2 และช่วงหกเดือนหลัง กลุ่มพัฒนา (1 ก.ค.- 31 ธ.ค. 2566) 600 ภาพ มีร้อยละสัดส่วนเพศชายต่อเพศหญิง ร้อยละ 50.4 ต่อ 49.6   ผลการประเมินค่าดัชนีรังสี (EI) ค่าเบี่ยงเบนรังสี (DI) ช่วงก่อนพัฒนาช่วงหกเดือนแรก อิงเกณฑ์เหมาะสมของบริษัท พบภาพรังสี (Under) ร้อยละ 3.50 ภาพรังสีที่มีค่าต่ำ (Low) 14.50 ภาพรังสี (Optimum)  68.34 ภาพรังสีที่มีค่าสูง (High) ร้อยละ 9.83  และภาพรังสีที่มีมีค่าสูงกว่า (Over) ร้อยละ 3.83 ช่วงพัฒนา ช่วงหกเดือนหลัง ไม่พบภาพรังสีที่มีต่ำกว่า (Under) หรือร้อยละ 0 ภาพรังสีที่มีค่าต่ำ (Low) เพียงร้อยละ 2.34 ภาพรังสีอยู่เกณฑ์เหมาะสม (Optimum)  เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 95 (เกินเป้าหมายหน่วยงานที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ90) ภาพรังสีที่มีมีค่าสูง (High) ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 2.99 และไม่พบภาพรังสีที่มีค่าสูงกว่า (Over) หรือร้อยละ 0

References

International Atomic Energy Agency (IAEA)(2004). Optimization of the radiological protection of patients undergoing radiography, fluoroscopy and computed tomography. Vienna: IAEA, 2004

กรรณิการ์อุดรพิมพ์, รัตติกาล คัมภีราวัฒน์.(2565). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของทารกเกิดก่อนกาหนดในหอทารกป่วยวิกฤตโรงพยาบาลกาฬสินธ์ุ วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 15(1) 350-64

สถิติกลุ่มงานงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลสมุทรสงคราม ประจำปี 2566.

Takaki, T, Takeda, K., Murakami, S., Ogawa, H., Ogawa, M., Sakamoto, M.(2016). Evaluation of the effects of subject thickness on the exposure index in digital radiography. Radiological physics and technology. 9(1), 116-120.

Wouter JHV, Lucia JMK, Jacob G.(2009) Dose and perceived image quality in chest radiography. Eur Radiol 72:209–217.

European Commission.(1999) Guidance on diagnostic reference levels for medical exposures. Radiation protection 109. Luxembourg: Office for Official Publications of the European Communities.

Hart D, Hillier MC, Wall BF.(2002). Doses to patients from medical X ray examinations in the UK 2000 review. Oxford: National Radiological Protection Board Publication, 2002

Neitzel U.(2006). The Exposure Index and its Standardization [Internet]. Philips Medical Systems, Hamburg, Germany; Available from: http://www.dimond3.org/Trier_2006/Exposure_Index_Standardization.pdf [Accessed 2013 November 18].

carestream DR (2025). [homepage on the Internet]. [updated 2025 May 16; cited 2026 Jan 9]. Available from: https://www.carestream.com/en/us/medical/dr-systems

สูตรคำนวณกลุ่มตัวอย่างประชากรในงานวิจัย [อินเตอร์เน็ต], สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2556 เข้าถึงได้จาก เวปไซด์ https://select-statistics.co.uk/calculators/sample-size-calculator-population-proportion/

ภัทรทิยา หมอยา, นาตาชา แสงเพ็ชร, สิริกาญจน์ ธรรมดอน, เสริมศักดิ์ แสงเพ็ชร, ธวัช สิริวิลาสลักษณ์ , ยะดา เสนาะสันต์.(2563) การประเมินค่าค่าดัชนีบ่งชี้ปริมาณรังสีในการถ่ายภาพเอกซเรย์ทรวงอกเด็ก จากการสร้างภาพรังสีด้วยระบบจิทัล. วารสารรังสีเทคนิค [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 25 มีนาคม 2564]; 45:28-33. เข้าถึงได้จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjrt/article/download/248315/169381/

จริญญา เต็งชัยภูมิ, จินดาวัลย์ วิบูลย์อุทัย, เพชรากร หาญพานิชย์.(2563). การศึกษาความสัมพันธ์ของปริมาณรังสีที่เหมาะสมตามเกณฑ์มาตรฐาน และเทคนิคการถ่ายภาพทางรังสี ในโรงพยาบาลหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 11 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://he01.tci thaijo.org/index.php/jmhs/article/download/241821/164473/

บรรจง เขื่อนแก้ว, วิชัย วิชชาธรตระกูล และปนัสดา อวิคุณประเสริฐ. (2555). การประเมิน S valueในการสร้าง ภาพทรวงอกท่า PA จากระบบการสร้างภาพรังสีด้วยคอมพิวเตอร์ของผู้ป่วยที่รับบริการในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.วารสารเทคนิคการแพทย์ 47, 23-29.

วีณา ผูกพานิช.(2566). การประเมินค่าดัชนีวัดปริมาณรังสี ในการถ่ายภาพรังสีทรวงอกเคลื่อนที่ ด้วยระบบดิจิทัล โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก." ประชุมวิชาการรังสีเทคนิค ประจำปี 2566. สมาคมศิษย์เก่ารังสีเทคนิครามาธิบดี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30