ผลของการประคบสมุนไพรร้อนชื้นเพื่อลดอาการปวดหลังส่วนล่างในหญิงตั้งครรภ์แรกที่มีอายุครรภ์ไตรมาสที่ 3

ผู้แต่ง

  • จุฑารัตน์ แวดล้อม แพทย์แผนไทยชำนาญการ โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

คำสำคัญ:

การประคบสมุนไพรร้อนชื้น, อาการปวดหลังส่วนล่าง, หญิงตั้งครรภ์แรก, อายุครรภ์ 3 สัปดาห์

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการประคบสมุนไพรร้อนชื้นต่อระดับความปวดหลังส่วนล่างของหญิงตั้งครรภ์แรกที่มีอายุครรภ์ไตรมาสที่ 3 ก่อนและหลังได้รับการประคบสมุนไพรร้อนชื้น  กลุ่มตัวอย่างได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลโพนพิสัย  อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ด้วยวิธีการแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ และสถิติ Paired t test
     ผลการวิจัยพบว่า ผลการเปรียบเทียบอาการปวดหลังส่วนล่างของหญิงตั้งครรภ์แรกที่มีอายุครรภ์ไตรมาสที่ 3 ก่อนและหลังการประคบสมุนไพรร้อนชื้น พบว่า เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระดับความปวดก่อนและหลังการประคบสมุนไพรร้อนชื้น พบว่า การประคบสมุนไพรร้อนชื้นมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับความปวดหลังส่วนล่างในหญิงตั้งครรภ์แรกที่มีอายุครรภ์ไตรมาสที่ 3 ก่อนและหลังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)  โดยหลังจากการประคบสมุนไพรร้อนชื้นในหญิงตั้งครรภ์มีอาการปวด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.52  (S.D. = 1.208)  ซึ่งลดลงจากก่อนการประคบสมุนไพรร้อนชื้น ที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.39  (S.D. = 1.256) 

References

กาญจนา โกทิยะ และศิริพันธุ์ ศิริพันธุ์. การบริหารร่างกายของหญิงตั้งครรภ์เพื่อบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่าง ,วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 8(3) : 154-167; กันยายน– ธันวาคม, 2559.

โรงพยาบาลโพนพิสัย. ทะเบียนให้บริการหญิงตั้งครรภ์. หนองคาย : โรงพยาบาลโพนพิสัย, 2562

โรงพยาบาลโพนพิสัย. รายงานผลการดำเนินงานโรงพยาบาล. หนองคาย : โรงพยาบาลโพนพิสัย 2558

สถาบันการแพทย์แผนไทยกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุขและคณะกรรมการจัดทำแนวทางการให้บริการหัตถการด้านการแพทย์แผนไทยในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ. แนวทางเวชปฏิบัติด้านการแพทย์แผนไทยเพื่อส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรในระบบบริการสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2557.

สถาบันแพทย์แผนไทยกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. การดูแลสุขภาพด้วยวิถีแพทย์แผนไทยสำหรับประชาชน. กรุงเทพมหานคร : แมกเนทสโตร์, 2551.

ผกากรอง ขวัญข้าว. 1 ทศวรรษ วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร. กรุงเทพฯ: ปรมัตถ์การพิมพ์, 2561.

พรรณี ปึงสุวรรณและคณะ. การเปรียบเทียบผลของความร้อนระหว่างแผ่นประคบร้อนและลูกประคบสมุนไพรต่อการบรรเทาปวดและการเปลี่ยนแปลงสรีรวิทยา. วิทยานิพนธ์ พย.ม. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2552.

กลุ่มงานพัฒนาวิชาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร สถาบันแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์ แผนไทยและแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือประชาชนในการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์, 2547.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30