ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมพลังสุขภาพจิตต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
คำสำคัญ:
โปรแกรมการเสริมสร้างพลังสุขภาพจิต, ภาวะซึมเศร้า, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุปะสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังสุขภาพจิต ต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 46 คน ที่มารับบริการรักษาที่คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาทและโรงพยาบาลหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี สุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 23 คน กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังสุขภาพจิต เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบประเมิน ภาวะซึมเศร้า 9Q ของกรมสุขภาพจิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ dependent t-test และ independent t-test
ผลการวิจัย พบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หลังได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) คะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
References
นงค์คราญ ชูอินทร์ และคณะ. (2565). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคเบาหวานของอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 38(1), 254-267
โรงพยาบาลวัดสิงห์. (2566). สถิติผู้ป่วยโรคเบาหวาน. ชัยนาท : โรงพยาบาลวัดสิงห์.
American Diabetes Association. (2013). Economic cost of diabetes in the U.S. in 2012. Diabetes Care, 36, 1033-1046.
สมพร รุ่งเรืองกลกิจ และคณะ. (2557). ความชุกและปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 59(3), 287-298.
ศุภพงศ์ ไชยมงคล. (2559). ความชุกแลปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการในคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลคอนสาร. ชัยภูมิเวชสาร, 36(1), 60-76.
กรมสุขภาพจิต. (2561). วันสุขภาพจิตโลก. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2566, จากhttp://www.klb.dmh.go.th/modules.php? m=news&gr=op=detail& news_id-9.
กัตติกา ธนะขว้าง และคณะ. (2558). การวิจัยภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคเบาหวานในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2566, จาก https://thaitgri.org/?p=37084?download
Grothberg, E.H. (2003). Resilience for today: gaining strength from adversity. Westport, CT: Praeger.
กนกภรณ์ ทองคุ้ม และคณะ. (2565). รูปแบบการเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่มีภาวะซึมเศร้าโดยบูรณาการทฤษฎีความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(5), 838-850.
Faul F, et al. (2007). G* Power 3: a flexible statistical power analysis program for the social, ehavioral, and biomedical sciences. Behav Res Methods, 9(2):175-191.
ไพจิตร พุทธรอด. (2564). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่เป็นโรคซึมเศร้า. วารสารชุมชนวิจัย, 15(1), 70-82.
มณีรัตน์ เอี่ยมอนันต์ (2562). ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาล, 68(1), 58-65.
ประมวล ตรียกุล. (2563). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจต่อภาวะซึมเศร้าและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วารสารโรงพยาบาลแพร่, 28(2), 76-89.