การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งไตที่มีภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่แข็งตัวและได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วไปเพื่อผ่าตัดไตโดยการส่องกล้อง (Laparoscopic radical nephrectomy) :กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • นันทพร พืชพิสุทธิ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ (วิสัญญีพยาบาล) โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม

คำสำคัญ:

มะเร็งไต, ภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่แข็งตัว, ผ่าตัดไตโดยการส่องกล้อง

บทคัดย่อ

     กรณีศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์: เพื่อนำแนวคิดแบบแผนสุขภาพตามทฤษฎีทางการพยาบาลของกอร์ดอน และทฤษฎีทางการพยาบาลของโอเร็ม มาประยุกต์ใช้ในการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งไตที่มีภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่แข็งตัวและได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วไปเพื่อผ่าตัดไตโดยการส่องกล้อง (Laparoscopic radical nephrectomy) วิธีการศึกษา: ศึกษาผู้ป่วยมะเร็งไตและได้รับการผ่าตัดไตโดยการส่องกล้อง จำนวน 1 ราย ที่เข้ารับการดูแลรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า เครื่องมือที่ใช้เป็นเวชระเบียนผู้ป่วยใน โดยการศึกษาข้อมูลทั่วไป ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล และผลลัพธ์ทางการพยาบาล ในระยะก่อนได้รับยาระงับความรู้สึก ระยะขณะได้รับยาระงับความรู้สึก ระยะฟื้นจากการให้ยาระงับความรู้สึก และระยะหลังได้รับยาระงับความรู้สึก
      ผลการศึกษา พบว่า ระยะก่อนได้รับยาระงับความรู้สึกผู้ป่วยมีปัญหาไม่สุขสบายจากการปวดจุกบริเวณชายโครงด้านซ้ายร้าวไปเอวด้านหลัง และวิตกกังวลเกี่ยวกับการผ่าตัด ระยะขณะได้รับยาระงับความรู้สึก ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ ภาวะคุกคามชีวิต หากมีการบาดเจ็บในช่องท้อง และช่องเยื่อหุ้มปอด ระยะฟื้นจากการให้ยาระงับความรู้สึกเสี่ยงต่อภาวะหายใจลำบาก พร่องออกซิเจน และอาจต้องใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำ ในระยะหลังได้รับยาระงับความรู้สึก พบว่า ผู้ป่วยไม่สุขสบายจากการปวดแผล เสี่ยงต่อการติดเชื้อในช่องท้อง และผู้ป่วยขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเมื่อกลับไปอยู่บ้าน ซึ่งปัญหาและความเสี่ยงทุกอย่างได้รับการดูแลแก้ไข การทำผ่าตัดราบรื่นดี ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นเป็นลำดับ แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ และนัดตรวจหลังจำหน่ายกลับบ้าน  2 สัปดาห์ รวมเวลาในการรักษาตัวในโรงพยาบาล จำนวน 9 วัน

References

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. สถานการณ์ปัจจุบันของโรคมะเร็งในประเทศไทย. 2566 (ออนไลน์); (สืบค้น 1 ธันวาคม 2566) จาก https://www.bio-active.co.th/2023/10/27/ สถานการณ์ปัจจุบันของโรค

พิษณุ มหาวงศ์ และสุริธร สุนทรพันธ์: โรคที่พบบ่อยทางศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ. เชียงใหม่ หน่วยศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2558.

Capitanio U, Bensaiah K, Bex A, Boorjian SA, Bray F, Coleman J, et al. Epidemiology of renal cell carcinoma. Eur Urol (2019) 75(1): 74-84. Doi: 10. 1016/j. 2018.08.036.

วิโรจน์ เฉลียวปัญญาวงศ์, วรพัฒน์ อัตเวทยานนท์ และ ชูศักดิ์ ปริพัฒน: การรักษาก้อนขนาดเล็กที่ไต. สงขลานครินทร์เวชสาร, 2559; 34(3): 141-151.

ธันต์ชนก วนสุวรรณ ใน วิรัตน์ วศินวงศ์ และคณะบรรณาธิการ: การให้การระงับความรู้สึกสำหรับผ่าตัดส่องกล้อง. พิมพ์ครั้งที่ 2. ตำราวิสัญญีคลินิก. หน่วยผลิตตำราคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลับสงขลานครินทร์, 2555; หน้า 309-319.

ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า พ.ศ. 2562-2566. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2566 จาก http://203.157.95.66/data sys/report/tncd/menu.php?prepage=menu.php

น้ำทิพย์ ไตรยสุนันท์: การประเมินและการเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด (Preoperative operation and Preparation). คณะแพทย์มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556 จาก https://shorturl.asia/ym/eF.

ปฐมห์ ลีละเมียร ใน วรภา สุวรรณจินดา, อังกาบ ปราการรัตน์: การเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด. พิมพ์ครั้งที่ 3.ตำราวิสัญญีวิทยา. กรุงเทพวารสาร, 2558; หน้า 148-156

ภาวะวิกฤตทางวิสัญญีวิทยา Anesthetic crisis: ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพ, 2563.

บุศรา ศิริวันสาณฑ์. พิชยา ไวทยะวิญญู และปฏิภาณ ตุ่มทอง: Anesthesia and Perioperative care. พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด, 2560; หน้า 374-386.

พรศิริ พันธสี: กระบวนการพยาบาล & แบบแผนสุขภาพ และการประยุกต์ใช้ทางคลินิก (NURSING PROCESS & FUNCTIONAL HEALTH PATTER) . พิมพ์ครั้งที่ 25. กรุงเทพ: พิมพ์อักษร; 2564.

กิตติณัฐ กิจวิกัย: ตำราการผ่าตัดไตผ่านกล้อง และโดยใช้หุ่นยนต์. โครงการตำรารามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ, 2561

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30