ประสิทธิผลของนวัตกรรม Save IV Line

ผู้แต่ง

  • ณีรนุช วงค์เจริญ อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • พิมพ์ใจ ลังการ์พินธุ์ อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • พัชรินทร์ ไชยบาล อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ทัพพ์ขวัญ ศรีรัตยาวงค์ อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • พรทิพย์ ปาอิน อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • วิชานีย์ ใจมาลัย อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • อิชยา มอญแสง อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

นวัตกรรม, อุปกรณ์ผูกยึดเข็มน้ำเกลือ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง แบบ 2 กลุ่มวัดผลหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของนวัตกรรม Save IV Line โดยใช้กระบวนการ PDCA และการมีส่วนร่วมของทีมพยาบาลหอผู้ป่วยใน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเด็กอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปี ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลปง จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ (1) แบบบันทึกอัตราการเลื่อนหลุดของเข็มแทงน้ำเกลือ (2) แบบบันทึกระยะเวลาที่ใช้ในเตรียมอุปกรณ์และการผูกยึดน้ำเกลือ และ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ และผู้ปกครองผู้ป่วยเด็ก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา independent t-test
     ผลการศึกษา พบว่า อัตราการเลื่อนหลุดของเข็มแทงน้ำเกลือในผู้ป่วยเด็กกลุ่มควบคุม เท่ากับร้อยละ 64.00 และกลุ่มทดลอง ร้อยละ 16.00 ระยะเวลาที่ใช้ในเตรียมอุปกณ์และการผูกยึดน้ำเกลือระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.001) โดยใช้ระยะเวลาเฉลี่ยในกลุ่มควบคุม เท่ากับ 177.16 วินาที (SD=16.44) ส่วนกลุ่มทดลอง เท่ากับ 45.04 วินาที (SD=5.10) พยาบาลวิชาชีพและผู้ปกครองผู้ป่วยมีความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรม นวัตกรรม Save IV Line เป็นอุปกรณ์ที่ตัดเย็บง่าย ผลิตจากวัสดุที่หาง่าย ใช้วัสดุเหลือใช้ในหน่วยงาน มีต้นทุนของวัสดุอุปกรณ์และการตัดเย็บต่ำ ในราคาชิ้นละ 20 บาท และสามารถนำมาใช้ซ้ำได้

References

Peterson KA, Phillips AL, Truemper E, Agrawal S. Does the use of an assistive device by nurses Impact peripheral intravenous catheter insertion success in children? J Pediatric Nurs 2012; 27(2): 134-43.

ทิพย์รัตน์ ไชยชนะแสง และพูลสุข ศิริพูล. ผลของการใช้เทคนิคเบี่ยงเบนความสนใจต่อความเจ็บปวดจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในผู้ป่วยเด็กวัยเรียน. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2553; 33(4): 78-86.

Lininnger RA. Pediatric peripheral IV insertion success rate. Pediatr Nurs 2003; 29(5): 351-4.

Hess HA. A biomedical device to improve pediatric vascular access success. Pediatr Nurs 2010; 36(5): 259-63.

สาวิตรี เชี่ยวชาญธนกิจ, ดวงใจ มาละเงิน, กิจจาณัฐ ไพรเผือก, ภัชรินพร ช่างสันเทียะ, เก็จชณัฐ มงคลชาติ, นัยน์ปพร หัวดง และคณะ. (2554). การจัดการความรู้: แนวปฏิบัติในการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในเด็ก. [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2563] เข้าถึงจาก: http://kcenter.anamai.moph.go.th:81/kmblog/webblog.php?ownerid=672&wbb_id=29

Lloyd M, Urquhart G, Heard A and Kroese B. When a child says “no”: experiences of nurses working with children having invasive procedures. Journal of Pediatric Nursing 2008; 20(4): 29-34.

จิราภรณ์ บุตรจรัญ. ถุงมือวิเศษ. เอกสารเสนอโครงการนวัตกรรม ตึกผู้ป่วยในโรงพยาบาลสร้างคอม.2553.

กองแก้ว ย้วนบุญหลิม, ปิยธิดา รุ้งมัจฉา, ปราณี ฉิมพาลี, ศุภางค์ ผาสุข, เฉลิมศรี พินิจเวชการ, วาสนา โพธิ์อุดม, ยุพิน เสงี่ยมพงษ์, อรทัย สมอบ้าน, จินดารัตน์ บริบูรณ์, จันร์แรม เกิดทอง และสุภาภรณ์ ศรีจันทร์. นวัตกรรมอุปกรณ์ผูกยึดแขนหรือขาผู้ป่วยเด็กระหว่างให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ. เอกสารประกอบการเสนอผลงานหอผู้ป่วยสามัญ-พิเศษรวมหญิง 10 และเด็กโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน. 2554.

สุกัญญา ฆารสินธุ์, อลงกรณ์ ทิพรักษ์ และสุพวรรณ ชะนะภู. การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม “อุปกรณ์ผูกยึดเข็ม IV (3 in1)” ในผู้ป่วยเด็กที่ได้รับสารละลายทางหลอดเลือดดำ. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 3 นวัตกรรมที่พลิกโฉมสังคมโลก 2562; 489-499.

Deming W. PDCA cycle a quality approach. Cambridge: MA MIT. 1993.

Cohen J. Quantitative methods in psychology: A power primer. Psychol Bul 1992; 112(1): 155-159.

Cohen J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Earlbaum Associates.

Burns N and Grove S. (2009) The practice of nursing research: Appraisal, synthesis and generation of evidence. 6th Edition, Saunders Elsevier, St. Louis.

Gupta R, Dutta TK, Kundu SS, Chatterjee A, Gautam M and Sarkar S. Nutritional evaluation of tree leaves of Ayodhya Hills of Purulia District, West Bengal. Indian J. Anim. Nutr 2016; 33(4): 404-410

กนกจันทร์ เขม้นการ. หัตถการแทงน้ำเกลือผู้ป่วยเด็ก: กลยุทธ์การพยาบาลสู่ความสำเร็จ. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2555; 35(2),131-139.

พิสิษฐ์ สมงาม และณีรนุช วงค์เจริญ. นวัตกรรมเขียงเลื่อนเพื่อนผู้พิการ. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564; 30(3), 460-467.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30