พฤติกรรมสุขภาพและความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลศีขรภูมิ
คำสำคัญ:
โรคหัวใจและหลอดเลือด, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน, พฤติกรรมสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางเพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพ และความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลศีขรภูมิ เก็บข้อมูลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับการรักษาที่คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลศีขรภูมิและได้รับการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2566 ใช้โปรแกรมประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดออนไลน์ (Thai CV risk calculator) ประเมินโอกาสเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดใน 10 ปีข้างหน้า วิเคราะห์เปรียบเทียบ 2 กลุ่มตัวอย่างโดยใช้ Mann-Whitney U test และ Chi-squared test
ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่าง 275 คน อายุเฉลี่ย 54.66±7.11 ปี พบผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูง ร้อยละ 6.18 (17 คน) พฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภค พฤติกรรมการใช้ยา และพฤติกรรมการจัดการความเครียด มีความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้ป่วยที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
References
จุรีพร คงประเสริฐ, สุมนี วัชรสินธุ์, ณัฐธิวรรณ พันธ์มุง. การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง นนทบุรี สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2558.
Gorog DA, Ferreiro JL, Ahrens I, Ako J, Geisler T, Halvorsen S, et al. De-escalation or abbreviation of dual antiplatelet therapy in acute coronary syndromes and percutaneous coronary intervention: a Consensus Statement from an international expert panel on coronary thrombosis. Nature Reviews Cardiology 2023;20(12):830-44.
Ibanez B, James S, Agewall S, Antunes MJ, Bucciarelli-Ducci C, Bueno H, et al. 2017 ESC Guidelines for the management of acute myocardial infarction in patients presenting with ST-segment elevation: The Task Force for the management of acute myocardial infarction in patients presenting with ST-segment elevation of the European Society of Cardiology (ESC). European heart journal 2018;39(2):119-77.
Gæde P, Lund-Andersen H, Parving H-H, Pedersen O. Effect of a multifactorial intervention on mortality in type 2 diabetes. New England Journal of Medicine 2008;358(6):580-91.
Li R, Zhang P, Barker LE, Chowdhury FM, Zhang X. Cost-effectiveness of interventions to prevent and control diabetes mellitus: a systematic review. Diabetes care 2010;33(8):1872-94.
Association AD. Standards of care in diabetes—2023 abridged for primary care providers. Clinical Diabetes 2023;41(1):4-31.
จุรีพร คงประเสริฐ, ธิดารัตน์ อภิญญา. คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค; 2558.
Azahar NMZM, Krishnapillai ADS, Zaini NH, Yusoff K. Risk perception of cardiovascular diseases among individuals with hypertension in rural Malaysia. Heart Asia 2017;9(2).
Rouyard T, Kent S, Baskerville R, Leal J, Gray A. Perceptions of risks for diabetes‐related complications in Type 2 diabetes populations: a systematic review. Diabetic Medicine 2017;34(4):467-77.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์. การป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ [cited 17 มีนาคม 2567]. Available from: https://srn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=f346e9d449b04c07cc80edeefc0cc360.
Krejcie RV, Morgan DW. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement 1970;30:607 - 10.
Bloom BS. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill; 1971.
จุรีพร คงประเสริฐ, สุมนี วัชรสินธุ์, ณัฐธิวรรณ พันธ์มุง. การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. กรุงเทพมหานคร: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค; 2558.
อุษนีย์ รามฤทธิ์. การพัฒนาโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน 2021;6(3):29-37.
จันทร์จิรา สีสว่าง, ปุลวิชช์ ทองแตง, ศิริรัตน์ วิชิตตระกูลถาวร, สุจิตรา ชัยวุฒิ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้โอกาสเสี่ยงของตนเองต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. NURS SCI J THAIL 2565;40(3):42-59.
พรภิมล กรกฎกำจร, รัชนี นามจันทรา, ฐิติอาภา ตั้งค้าวานิช. ความรู้ความเสี่ยงต่อกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และ พฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในเขตอำเภอเมืองเชียงราย. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2563;31(1):46-61.