การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • นภัสรดา จันทร์ขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • เกษร สำเภาทอง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคโควิด 19, พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19, ปัจจัยส่วนบุคคล, โรคโควิด 19

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและปัจจัยสวนบุคคล กับพฤติกรรมการ ปองกันโรคโควิด 19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 338 คน ในเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติ Multiple logistics regression นำเสนอค่าความสัมพันธ์ในรูปแบบAdjusted Odds Ratio (AOR) ช่วงความเชื่อมั่นที่ 95% ที่ระดับนัยสำคัญทางสถติ (p-value < 0.05)
     ผลการศึกษาพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.318, p < 0.001) ในส่วนของปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคโควิด 19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ได้แก่ เพศชาย (AOR = 0.41, 95% CI=0.19-0.86, p-value = 0.018) และการจบการศึกษาระดับชั้น ปวส. ขึ้นไป (AOR =0.33, 95% CI=0.16-0.68, p-value = 0.003) ในขณะเดียวกันพบว่าความรอบรู้ด้านสุขภาพและปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ได้แก่ ผู้ที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคโควิด 19 ในระดับไม่ดีและพอใช้ (AOR = 0.28, 95% CI=0.15-0.56), p-value < 0.001) ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป (AOR =2.32, 95% CI=1.21-4.46, p-value = 0.012) และผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวไม่เคยติดเชื้อโควิด 19 (AOR =3.16, CI=1.18-8.44, p-value = 0.022)

References

World Health Organization. [Internet]. Coronavirus disease (COVID-19) questions and answers (general); 2021- . [cited 2022 March 22]. from https://www.who.int/thailand

วิชัย เทียนถาวร และณรงค์ ใจเที่ยง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ในกลุ่มวัยเรียนมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พ.ค.-ส.ค. 2564;4(2):126-137.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. [Internet]. สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 อัพเดทรายวัน; 2565- .[เข้าถึงเมื่อ 22 กันยายน 2565]; จาก https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/

สุภาพร จรงูเหลือม และคณะ. การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ในโครงการ อสม.เคาะประตูบ้าน ต้านโควิด 19 ในช่วงควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลดอนเมือง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. [พยาบาลศาสตรบัณฑิต]. [นครราชสีมา]: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา, 2563

สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี. [Internet]. ต่างชาติยกย่องแนวทางไทยสู้โควิด-19 แต่ “การ์ดต้อง ไม่ตก”; 2563- .[เข้าถึงเมื่อ 18 กันยายน 2565]; จาก https://www.pmdu.go.th/thai-covid/

World Health Organization (Thailand). [Internet]. อสม.ไทยกว่าล้านคน หรือ “ผู้ปิดทองหลังพระ” ช่วยสอดส่องดูแลให้ชุมชนห่างไกลโควิด 19; 2020- [cited 2022 July 15]; from https://www.who.int/ thailand/news, 2020

สรวุฒิ เอี่ยมนุ้ย. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด-19 อําเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา. พ.ค.-ส.ค. 2564;1(2):75-90.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. [Internet]. 9 วิธีหนี COVID-19; 2563- . [เข้าถึงเมื่อ 10 กันยายน 2565]; จาก https://www.facebook.com/470988516420706/posts/1364378527081696/

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. [Internet]. Fake News ลวงให้เชื่อ หลอกให้แชร์; 2562- . [เข้าถึงเมื่อ 10 กันยายน 2565]; จาก https://www.etda.or.th/th/

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี. [Internet]. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ละรอกมกราคม 2565 จังหวัดปทุมธานี;2565-.[เข้าถึงเมื่อ 22 กันยายน 2565]; จาก https://www.facebook.com /pte.moph

กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง. [Internet]. โควตา อสม. สสอ.ธัญบุรี ประจำปีงบประมาณ 2565; 2565- . [เข้าถึงเมื่อ 10 กันยายน 2565]; จาก https://govwelfare.cgd.go.th/

World Health Organization. Division of Health Promotion, Education and Communications Health Education and Health Promotion Unit. Health promotion glossary, Geneva, Switzerland: Author; 1998

วัชราพร เชยสุวรรณ. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ : แนวคิดและการประยุกต์สู่ การปฏิบัติการพยาบาล. วารสารแพทย์นาวี. ก.ย.-ธ.ค. 2560;44(3):183-197.

Wayne, W. D. Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences (6th ed.). New York: John Wiley & Sons; 1995

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. [Internet]. แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนวัยทำงานในหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ; 2564-. [เข้าถึงเมื่อ 6 มิถุนายน 2565] จากhttp://www.hed.go.th

นพพร การถัก. การศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาลของผู้สูงอายุ จังหวัดขอนแก่น. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. ต.ค.-ธ.ค. 2565;7(4):145-155.

ปาจรา โพธิหัง. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในประเทศไทย: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. ก.ค.-ก.ย.64;29(3):115-130.

ดาวรุ่ง เยาวกูล. ความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตสุขภาพที่6. [วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. [ชลบุรี]: มหาวิทยาลัยบูรพา, 2565

มนันญา ผลภิญโญ, ธีรศักดิ์ พาจันทร์ และลำพึง วอนอก. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของพระสงฆ์และสามเณร อําเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. ก.ย.-ธ.ค. 2566;17(3),:827-841.

Maria G. and Mardiana D. Puspitasari. [Internet]. The Impact of COVID-19 Pandemic on Family Well-Being: A Literature Review. The Family Journal;2022. 31(4). [cited 2022 March 22]. from DOI: https://doi.org/10.1177/10664807221131006

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30