ประสิทธิผลของการดูแลผู้ป่วยเบาหวานให้เข้าสู่ระยะสงบ อำเภอพิบูลมังสาหาร

ผู้แต่ง

  • ชณัฏฐา เรืองสุทธิภาพ โรงพยาบาลพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยเบาหวาน, โรคเบาหวานระยะสงบ

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 75 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวานให้เข้าสู่ระยะสงบโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มงวด แบบบันทึกภาวะสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Chi-square test และ Paired sample t-test เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการดูแลผู้ป่วยเบาหวานให้เข้าสู่ระยะสงบ ในด้านความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือด การลดยา และการหยุดยารักษาโรคเบาหวาน
     ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการลดยาเบาหวาน ตั้งแต่เดือนที่ 3 เป็นต้นไป ร้อยละ 61.33 และเมื่อสิ้นสุดการศึกษาเดือนที่ 6 พบว่ามีผู้ป่วยเบาหวาน ที่สามารถเข้าสู่ระยะสงบได้ ร้อยละ 13.33 โดยพบว่าระดับความดันโลหิต ไขมันแอลดีแอล และ ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับก่อนศึกษา (p<0.05) และอัตราการกรองไตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p<0.05)

References

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. แนวทางการดำเนินงานการดูแลผู้ป่วยเบาหวานให้เข้าสู่ระยะสงบ (Remission service). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2566.

สมาคมแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป, สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, สมาคมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน. แนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวานให้เข้าสู่ โรคเบาหวานระยะสงบด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มงวดสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข [Internet]. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย; 2565 [cited 2024 Feb 28]. Available from: https://drive.google.com/file/d/1_pooxEPbFFvH6IR5DR3tNjk9q1nOUIUD/view?usp=share_link&usp=embed_facebook

Diabetes Australia National Office. Position Statements Diabetes Australia [Internet]. 2019 [cited 2024 Mar 2]. Available from: https://www.diabetesaustralia.com.au/position-statements/

Taylor R. Type 2 diabetes and remission: practical management guided by pathophysiology. J Intern Med. 2021 Jun;289(6):754–70.

ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์ (HDC) กระทรวงสาธารณสุข. รายงานตามตัวชี้วัดNCD ClinicPlus ปี 2567 [Internet]. 2567 [cited 2024 Mar 3]. Available from: https://ubn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page_kpi.php?flag_kpi_level=9&flag_kpi_year=2024

Kang H. Sample size determination and power analysis using the G*Power software. J Educ Eval Health Prof [Internet]. 2021 Jul 30 [cited 2024 Mar 2];18. Available from: https://synapse.koreamed.org/articles/1149215

อุทัย เจริญจิตต์. ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวานต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ 2ส ของผู้ป่วยโรคเบาหวานศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลบ้านโป่ง. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล. 2561;3(2):58–72.

พิชิต สุขสบาย. ประสิทธิผลการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ให้เข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มงวด จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11. 2567;38(1):1–15.

คมกริช ฤทธิ์บุรี. กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนงานเพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานเข้าสู่ภาวะ “Remission”: กรณีศึกษา กลยุทธ์การขับเคลื่อน อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2566;5(1):123–36.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30