รูปแบบการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนผ่านกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล ตำบลเขาโร อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • โชติมา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต นักศึกษาปริญญาโท, หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาการจัดการระบบสุขภาพ) สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ซอฟียะห์ นิมะ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

การดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนผ่านกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล ตำบลเขาโร อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มประชาชน กลุ่มผู้ประกอบการ กลุ่มผู้ปฏิบัติงานและคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล จำนวน 151 คน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถามความพร้อมของชุมชน และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดย แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis)
     ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์ของการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน มีการพัฒนาฐานข้อมูลและพัฒนาศักยภาพด้านความรู้และพฤติกรรมของประชาชน มีการบริหารจัดการความเสี่ยง และดำเนินการตามกฎหมายเมื่อเกิดข้อร้องเรียน รวมทั้งการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ความพร้อมของชุมชนในด้านบรรยากาศ ภาวะผู้นำ ทรัพยากร อยู่ในระดับสามารถปฏิบัติกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชน มีรูปแบบการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างเครือข่าย สร้างการสื่อสารความรู้ นำไปสู่การสร้างกลไกการทำงานด้วยหลักธรรมาภิบาล เกิดนโยบายสาธารณะ นำไปสู่ชุมชนปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างยั่งยืน

References

ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ พ.ศ.2565. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 139, ตอนที่ 232 ง ฉบับพิเศษ (ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565).

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. รายงานประจำปี 2565 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2566.

Australian Institute of Health and Welfare. Suicide & self-harm monitoring [Internet]. 2020. Available from: www.aihw.gov.au/suicide-self-harm-monitoring/data/geography/suicide-by-remoteness-areas [Accessed 27th January 2021].

Wells R, Nemorin S, Steel Z, Guhathakurta M, Rosenbaum S. Physical activity as a psychosocial intervention among Rohingya refugees in Bangladesh: a rapid ecological community assessment. Intervention. 2019;17(2):140-148.

Schröder M, Babitsch B, Hassel H. Asessing readiness for childhood obesity prevention in German municipalities: application of the community readiness model. Health Promot Int. 2023;1-12.

Moss RH, Hussain J, Islam S, Small N, Dickerson DJ. Applying the community readiness model to identify and address inequity in end-of-life care in South Asian communities. Pallilative Med. 2023;567-574.

จันทร์จรีย์ ดอกบัว. บทเรียนจากการทำงานการจัดการยาไม่เหมาะสมในชุมชนภายใต้เครือข่ายเข้มแข็งคือแรงอันทรงพลัง. วารสารคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (Online). 2565;1-20.

Aspiranti T, Amaliah WRI. The measurement of community independence and participation in establishment of microfinance institutions. Mimbar. 2018;433-442.

วิษณุพงศ์ จตุเทน. การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลบึงนคร อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ. 2565;111-119.

พันมหา ลดาพงษ์. รูปแบบการดำเนินงานดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ โดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (พชต.) ตำบลพรรณา อำเภอพรรานิคม จังหวัดสกลนคร. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. มกราคม-มิถุนายน 2562;1:37-50.

สายันห์ ศิลาโชติ. การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 2563;543-556.

Carlson LA, Harper KS. Oetting ER, Plested BA, Edwards RW, Thurman PJ, Kelly KJ, Beauvais F. Community readiness for community change. Tri-Ethnic Center Readiness Handbook 2nd edition. 2014.

ชัยวัฒน์ สิงห์หิรัญนุสรณ์, กฤษดา ดำขำ, อรุณรัตน์ อรุณเมือง. การพัฒนารูปแบบการให้บริการระบบข้อมูลกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข. วารสารวิชาการสาธารณสุข. กรกฎาคม-สิงหาคม 2565;31(4):666-712.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือปฏิบัติงานสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ระดับอำเภอการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ. นนทบุรี: กองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

จินดาพร อุปภัมถ์, คณัฐวุฒิ หลวงเทพ, ศิริธร บัวขจร. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำจังหวัดศรีษะเกษ. วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (Online). 2566;70-85.

ไพรัช ไล้ทอง, รัญชน์รวี ส่งศิริ. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังติดตามการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำจังหวัดชัยนาท. วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (Online). 2567;12-25.

กิตติภัทร อบอุ่น. รูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพของร้านชำในชุมชน อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2566;539-545.

บุญที เจริญรัตน์. ปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2566;23(2)

ชนบท บัวหลวง, ญานันท์ ใจอาจหาญ. ความพร้อมของชุมชนในการจัดการปัญหามารดาวัยรุ่น กรณีศึกษา: ชุมชนจังหวัดลพบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2562;38(2):12-21.

สายันห์ ศิลาโชติ. การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 2563;543-556.

อภิญญา ตันทวีวงศ์. คู่มือเบื้องต้นการขับเคลื่อนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้วยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.); 2563.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ.2565. นนทบุรี: บริษัท พิมพ์สิริพัฒนา จำกัด; 2566.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30