ประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจในการป้องกันการกลับป่วยซ้ำโรคปอดบวมในเด็กป่วยโรคปอดบวมของผู้ดูแลเด็กในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม

ผู้แต่ง

  • มลฤดี บรรเทา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย

คำสำคัญ:

โปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจ, การป้องกันการกลับป่วยซ้ำโรคปอดบวม, ผู้ดูแลเด็ก

บทคัดย่อ

     การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจในการป้องกันการกลับป่วยซ้ำโรคปอดบวมในเด็กป่วยโรคปอดบวมของผู้ดูแลเด็กในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลเด็กป่วยโรค ปอดบวม 2 กลุ่ม ๆ กลุ่มละ 17 คน เครื่องมือวิจัย คือโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจในการป้องกันการกลับป่วยซ้ำโรคปอดบวม ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนระภายในกลุ่มด้วยสถิติ Wilcoxon Sign Rank test การทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ Mann - whitney U - test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
     ผลวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้เกี่ยวกับการกลับป่วยซ้ำโรคปอดบวมและพฤติกรรมของผู้ดูแลในการป้องกันการกลับป่วยซ้ำโรคปอดบวมสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้เกี่ยวกับการกลับป่วยซ้ำโรคปอดบวมและพฤติกรรมของผู้ดูแลในการป้องกันการกลับป่วยซ้ำโรคปอดบวมมีความแตกต่างกันกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ดังนั้นควรส่งเสริมการรับรู้ในการป้องกันการกลับป่วยซ้ำโรคปอดบวมในเด็กป่วยโรคปอดบวมให้กับผู้ดูแลเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ดูแลเด็กป่วยที่มีอายุสูง

References

Montella S, Corcione A, Santamaria F. Recurrent Pneumonia in Children: A Reasoned Diagnostic Approach and a Single Centre Experience [Internet]. 2017 [cited 2023 Nov 2]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc

World Health Organization. Pneumonia in children [Internet]. 2016 [cited 2023 Nov 2]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/pneumonia

Hoang KL, Ta AT, Pham VT. Severe recurrent pneumonia in children: Underlying causes and clinical profile in Vietnam [Internet]. 2021 [cited 2023 Nov 2]. Available from: https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S204908012100426X

กรมควบคุมโรค. โรคปอดบวม, ปอดอักเสบ (Pneumonia) [Internet]. 2562 [cited 2023 Nov 2]. Available from: https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=21

โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย. สถิติการรักษาตัวเด็กป่วยโรคปอดบวมหอผู้ป่วยกุมาร. 2566.

Portmann MP, Soto-Martínez M. Recurrent lower respiratory tract infections in children [Internet]. 2014 [cited 2023 Nov 2]. Available from: http://www.medicalobserver.com.au/news/recurrent-lower-respiratory-tract-infections-in-children

Sakulkhoo R. Incidence and risk factors for recurrent pneumonia. Buddhachinaraj Med J. 2014;31(1):46-53.

เกศกนก เข็มคง. ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในโรงพยาบาลสุโขทัย. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่. กรุงเทพมหานคร: สามลดา; 2550.

World Health Organization. Pnuemonia [Internet]. 2013 [cited 2023 Nov 2]. Available from: http://www.who.int/entity/mediacentre/factsheets/fs331/en/

กุลรัศมิ์ ชำนินอก. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติของมารดาสำหรับการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคปอดบวมในเด็ก. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2559.

สุทธินี สุปรียาพร, พัชราภรณ์ อารีย์, สุธิศา ล่ามช้าง. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลเด็กโรคปอดบวมซ้ำ. พยาบาลสาร. 2564;48(1):146-159.

Kirolos A, Ayede AI, Williams LJ, Fowobaje KR, Nair H, Bakare AA, et al. Care seeking behaviour by caregivers and aspects of quality of care for children under five with and without pneumonia in Ibadan, Nigeria. J Health Glob. 2018;8(2):1-9.

Ndu IK, Ekwochi U, Osuorah CD, Onah KS, Obuoha E, Odetunde IO, et al. Danger Signs of Childhood Pneumonia: Caregiver Awareness and Care Seeking Behavior in a Developing Country [Internet]. 2015 [cited 2023 Nov 2]. Available from: https://www.hindawi.com/journals

Rogers RW, Prentice-Dunn S. Protection Motivation Theory. In: Gochman DS, editor. Handbook of Health Behavior Research I: Personal and Social Determinants. New York: Plenum Press; 1997. p. 113-32.

Best JW. Research in Education. 3rd ed. New Jersey: Prentice Hall Inc.; 1997.

สุจิน เพชรมาก. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้มารดาต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลเด็กโรคปอดบวม. กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง; 2564.

ปิยฉัตร ปะกังสำภู, เสามาศ คุณล้าน เถื่อนนาดี. ผลของโปรแกรมพัฒนาการรับรู้ความสามารถของผู้ดูแลต่อพฤติกรรมการดูแล และอัตราการกลับมารักษาซ้ำด้วยโรคปอดอักเสบในเด็ก 0-5 ปี. วารสารการพยาบาลและการดูสุขภาพ. 2561;36(3):99-106.

วราภรณ์ ผาทอง, คณะ. ประสิทธิผลของการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเด็กโรคปอดบวมโรงพยาบาลแพร่. วารสารโรงพยาบาลแพร่. 2563;28(2):35-49.

ศิราณี อิ่มน้ำขาว, วิภาดา ดวงพิทักษ์, ไรจูณ กุลจิติพงศ์, อลิสา ผาบพุทธา. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมต่อความสามารถของผู้ดูแลเด็กโรคปอดบวม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2565;19(3):165-76.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30