ต้นทุนฐานกิจกรรมของการบริการแพทย์ทางไกล โรงพยาบาลบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • สาลินี มูลเขียน นักศึกษาในหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อภิรดี นันท์ศุภวัฒน์ รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ต้นทุนฐานกิจกรรม, ต้นทุนการรักษา, การแพทย์ทางไกล

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนต่อครั้งของการบริการแพทย์ทางไกล โรงพยาบาลบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ และเปรียบเทียบต้นทุนฐานกิจกรรมของการบริการแพทย์ทางไกล โรงพยาบาลบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ กับอัตราการจ่ายชดเชยที่ได้รับการจัดสรรจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ด้วยการวิเคราะห์ต้นทุนฐานกิจกรรม (ABC) ของแคปแลนและคูเปอร์ (Kaplan & Cooper) ในการประมาณค่าต้นทุนกิจกรรมในการบริการแพทย์ทางไกลสำหรับผู้ป่วยนอก กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) พจนานุกรมกิจกรรมการบริการแพทย์ทางไกล 2) แบบบันทึกปริมาณเวลา และ 3) แบบบันทึกต้นทุน เครื่องมือดังกล่าวผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน เก็บข้อมูลด้วยการสังเกตและบันทึกเอกสารทางการเงิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา
     ผลการศึกษา พบว่า ต้นทุนต่อหน่วยของการบริการแพทย์ทางไกลสำหรับผู้ป่วยรายใหม่เท่ากับ 264.37 บาทต่อครั้ง และต้นทุนต่อหน่วยสำหรับผู้ป่วยรายเก่าเท่ากับ 201.11 บาทต่อครั้ง เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราค่าชดเชยที่ได้รับการจัดสรรจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 100 บาทต่อครั้ง พบว่า ต้นทุนต่อหน่วยของการบริการแพทย์ทางไกลสำหรับผู้ป่วยรายใหม่สูงกว่าอัตราการจ่ายชดเชยของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเท่ากับ 164.37 บาท ส่วนต้นทุนต่อหน่วยของการบริการแพทย์ทางไกลสำหรับผู้ป่วยรายเก่าสูงกว่าอัตราการจ่ายชดเชยของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเท่ากับ 101.11 บาท

References

ไพศาล มุณีสว่าง. รายงานโครงการพัฒนาต้นแบบของเทคโนโลยีที่ช่วยในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบทโดยผ่านเครือข่ายดิจิทัลความเร็วสูง. 2561 [cited 2024 Jan 24]. Available from: https://btfp.nbtc.go.th/portfolio/2558/1415.aspx

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการพัฒนาองค์กรสมรรถนะสูง กระทรวงสาธารณสุข MoPH – 4T. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. 2566.

World Health Organization. Telemedicine: Opportunities and developments in Member States: report on the second global survey on eHealth. Global Observatory for eHealth Series. 2010;18(2):153–155.doi: 10.4258/hir.2012.18.2.153

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. แนวทางการพัฒนาองค์กรสมรรถนะสูง กระทรวงสาธารณสุข MoPH - 4T. กระทรวงสาธารณสุข. 2566.

อนุวัฒน์ ศุภชิติกุล, อดิศวร์ หลายชูไทย, วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร, สุกัลยา คงสวัสดิ์. ความรู้เบื้องต้นในการวิเคราะห์ต้นทุนของสถานบริการสาธารณสุข. วิทยาลัยการสาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. 2539.

วิเชียร เทียนจารุวัฒนา, ถาวร สกุลพาณิชย์, ดิชพงศ์พงศ์ ภัทรชัย, ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย. คู่มือการศึกษาต้นทุนสถานบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กระทรวงสาธารณสุข. 2554.

Dooley MJ, Simpson KN, Simpson AN, Nietert PJ, Williams D, King K, McElligott JT. A Modification of Time-Driven Activity-Based Costing for Comparing Cost of Telehealth and In-Person Visits. Telemed e-Health. 2022;28(10):1393-1394.

Morrow C, Woodbury M, Simpson AN, Almallouhi E, Simpson KN. Determining the Marginal Cost Differences of a Telehealth Versus an In-person Occupational Therapy Evaluation Session for Stroke Survivors Using Time-driven Activity-based Costing. Arch Phys Med Rehabil. 2023;104(4):547-553. doi: 10.1016/j.apmr.2022.11.006

ดาราวรรณ รองเมือง, อินทิรา สุขรุ่งเรือง, สราพร มัทยาท, ภัทรพงศ์ อุดมพัฒน์, อติญาณ์ ศรเกษตริน, สุทธานันท์ กัลป์กะ, พีระเดช สำรวมรัมย์, เบญจพร รัชตารมย์, อนันต์ กนกศิลป์. การพัฒนาระบบการแพทย์ทางไกลเพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง บทเรียนจากการระบาดของโควิด 19. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2566;17(1):108-127.

Kaplan RS, Cooper R. Cost and effect: Using integrated cost systems to drive profitability and performance. Massachusetts. 1998.

โรงพยาบาลบ้านโคก. Service profile OPD ปี 2566. งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลบ้านโคก. 2566.

วิภาวัณย์ อรรณพพรชัย, ชวภณ กิจหิรัญกุล. การประยุกต์ใช้ระบบการแพทย์ทางไกลเพื่อการพัฒนาคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบท. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2564;7(3):258-271.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30