ปัจจัยทางคลินิกที่ส่งผลต่อระดับยาวาร์ฟารินนอกช่วงการรักษา โรงพยาบาลศีขรภูมิ
คำสำคัญ:
International normalized ratio (INR), วาร์ฟารินเกินขนาด, อาการไม่พึงประสงค์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางคลินิกที่ส่งผลต่อระดับยาวาร์ฟารินนอกช่วงการรักษาในโรงพยาบาลศีขรภูมิ มีรูปแบบการศึกษาคือ retrospective cohort โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนและฐานข้อมูลผู้ป่วยคลินิกวาร์ฟารินตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 30 เมษายน 2567 ใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อแสดงค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณเพื่อหาตัวแปรอิสระที่มีความสัมพันธ์กับค่า INR นอกช่วงการรักษา
ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยทั้งหมด 117 ราย มีอายุเฉลี่ย 69.25±11.62 ปี เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60.68 โรคที่มีข้อบ่งชี้มากที่สุดคือ Atrial fibrillation ร้อยละ 83.76 และมีผู้ป่วย 16 ราย ร้อยละ 13.68 ที่มีค่า TTR น้อยกว่าร้อยละ 65 อาการไม่พึงประสงค์ที่พบมากที่สุด ได้แก่ เลือดออกตามไรฟัน ร้อยละ 3.42 (4 ราย) จากการวิเคราะห์ หาปัจจัยที่สัมพันธ์กับผู้ป่วยที่มีค่าการแข็งตัวของเลือดในช่วงเป้าหมายน้อยกว่าร้อยละ 65 เพิ่มความเสี่ยงระดับยาวาร์ฟารินสูงกว่าช่วงการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (odd ratio =12.235, p=0.003)
References
พิกรม อโศกบุญรัตน์, ฑิภาดา สามสีทอง. ผลของการพัฒนาการบริบาลทางเภสชักรรมในคลินิกวารฟ์าริน ณ โรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2564;17(4):61-72.
คณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาโรคหัวใจ สำนักบริหารการสาธารณสุข. คู่มือการดำเนินการตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาโรคหัวใจ เรื่อง การบริหารจัดการหน่วยดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด. กรุงเทพมหานคร: โอ-วิทย์ (ประเทศไทย); 2559.
สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาผู้ป่วยด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทาน พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2553.
สุภารัตน์ วัฒนสมบัติ. ยาต้านการแข็งตัวของเลือด : warfarin. ไทยไภษัชยนิพนธ์ (ฉบับการศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์) 2553;5(1):87-98.
สาวิตรี เหล่าไพบูลย์กุล, อังคณา ช่วยชัย, ศิวกร บันลือพืช, ภาธร บรรณโศภิษฐ์, สิรปภา มาตมูลตรี, วรรณดี คงเทพ. ปัญหาจากการใช้ยาของผู้ป่วยนอกที่ได้รับยาวาร์ฟารินที่มีค่า INR นอกช่วงการรักษาโดยการเยี่ยมบ้านในอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” 2562;11(4):1-7.
อภิชาติ จิตต์ซื่อ, สุวิมล ยี่ภู่, ตุลายา โพธารส, จันทรัสม์ เสกขุนทด, ปิยะนุช ทิมคร. การศึกษาความรขู้องผู้ป่วยและปัญหาจากการใช้ยาวาร์ฟาริน ณ แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศูนย์วชิระภูเก็ต. สงขลานครินทร์เวชสาร 2558;33(2):84-92.
Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement 1970;30(3):607-10.
อภิชัย มาสุขใจ. การศึกษาทดสอบความถูกต้องของปัจจัยที่ใช้พยากรณ์การใช้ยาวาร์ฟารินที่ไม่ได้ประสิทธิภาพในคนไทยที่มีภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะแบบสั่นระริกที่ไม่ได้เกิดจากลิ้นหัวใจผิดปกติ (วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพ: คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2565.
Krittathanmakul S, Silapachote P, Pongwecharak J, Wongsatit U. Effects of pharmacist counseling on outpatients receiving warfarin at Songklanagarind Hospital. Songklanagarind Medical Journal 2020;24(2):93-9.
Haas S, Camm AJ, Bassand J-P, Angchaisuksiri P, Cools F, Corbalan R, et al. Predictors of NOAC versus VKA use for stroke prevention in patients with newly diagnosed atrial fibrillation: results from GARFIELD-AF. American heart journal 2019;213:35-46.
Oh S, Goto S, Accetta G, Angchaisuksiri P, Camm AJ, Cools F, et al. Vitamin K antagonist control in patients with atrial fibrillation in Asia compared with other regions of the world: real-world data from the GARFIELD-AF registry. International journal of cardiology 2016;223:543-7.
Takahashi H, Wilkinson GR, Caraco Y, Muszkat M, Kim RB, Kashima T, et al. Population differences in S‐warfarin metabolism between CYP2C9 genotype‐matched Caucasian and Japanese patients. Clinical Pharmacology & Therapeutics 2003;73(3):253-63.
ทิพย์สุมล รักศิลธรรม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับวาร์ฟารินเกินขนาดของคลินิกวาร์ฟาริน โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์. วารสารแพทย์เขต 4-5 2566;42(3):381-90.
เจนจิราตันติ วิชญวานิช, รังสิมา ไชยาสุ. ผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟารินของโรงพยาบาลปัตตานี. วารสารเภสัชกรรมไทย 2562;5(2):108-19.