ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามข้อกฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณาตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ของสถานพยาบาลในจังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • กมลภัทร์ สวัสดิ์โกศล เภสัชกรชำนาญการ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี

คำสำคัญ:

การคุ้มครองผู้บริโภค, โฆษณา, การปฏิบัติตามกฎหมาย, พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามข้อกฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณาตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 ของสถานพยาบาลในจังหวัดกาญจนบุรี ประชากรคือสถานพยาบาลเอกชนในจังหวัดกาญจนบุรี โดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมการโฆษณา ความรู้ ความคิดเห็น และประวัติการถูกลงโทษตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติทดสอบไคสแควร์        ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามจำนวน 182 คน (ร้อยละ 57.41) สถานพยาบาลที่ปฏิบัติตามข้อกฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณาตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ครบถ้วน ร้อยละ 85.2 สถานพยาบาลปฏิบัติตามข้อกฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณาตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 บางส่วน ร้อยละ 11.5 และสถานพยาบาลที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณาตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ร้อยละ 3.3 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ปัจจัยระดับการศึกษา (P = 0.048) ปัจจัยลักษณะสถานพยาบาล (P = 0.001) ปัจจัยช่องทางที่ใช้โฆษณา (P < 0.001) ปัจจัยวัตถุประสงค์การโฆษณา (P < 0.001) ปัจจัยความรู้เกี่ยวกับการโฆษณาตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 (P < 0.001) ทัศนคติต่อข้อกฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณา (P = 0.03) การถูกตักเตือนโดยเจ้าหน้าที่ (P < 0.001) และการถูกดำเนินคดี (P < 0.001) มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค. สถิติข้อมูลการร้องทุกข์จากผู้บริโภค ปีงบประมาณ 2556-2565. เข้าถึงได้จาก: https://www.ocpb.go.th/graph_views.php?graph_id=25.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. ประกาศกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและค่าใช้จ่ายในการโฆษณาหรือประกาศเกี่ยวกับสถานพยาบาล พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 136 ตอนเพิเศษ 289 ง (ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562).

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2551 (ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551).

รายการสถานพยาบาลเอกชน [อินเทอร์เน็ต]. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 30 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://info.kanpho.go.th/healthsys/web/index.php.

สาวิตรี มุณีรัตน์. การประเมินผลการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญํติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559 ในเขตสุขภาพที่ 10. นนทบุรี: ศูนย์วิศวกรรมการแพทย์ที่ 10 (อุบลราชธานี) กองวิศวกรรมการแพทย์; 2563.

วิภา ศิริสวัสดิ์. การศึกษาโฆษณาของสถานพยาบาลเอกชนในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2562;13(31):92-104.

อลงกรณ์ เปกาลี, ลักขณา เติมศิริกุลชัย. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ.2535 ของผู้ประกอบการร้านบริการอินเตอร์เน็ตและเกมส์ กรุงเทพมหานคร. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 2556;43(1):30-41.

วาสิฎฐี ตั้งสัตยาธิษฐาน. ผลของการพัฒนาการให้คำแนะนำการขออนุญาตโฆษณาสถานพยาบาลเอกชนในจังหวัดอุดรธานี. วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ. 2566;3(1):248-59.

ทิพวัลย์ พรมมร. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 ของผู้ประกอบการร้านค้าปลีก อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. วารสาริชาการสาธารณสุขชุมชน. 2563;6(1):100-9.

อดินันท์ พรหมพันธ์ใจ. ผลกระทบเชิงกฎหมายในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อการให้บริการทันตกรรม. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์. 2562;69(2):217-36.

อดุลย์ ลาภะแนน. การศึกษาสถานการณ์การฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลของคลินิกเอกชนในจังหวัดอุดรธานี. วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ. 2560;6(2):15-21.

ประภา สุดราม, ภาวัต ชาวพัฒนวรรณ. อุปสรรคในกระบวนการบังคังใช้พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 เพื่อควบคุมการโฆษณาสถานพยาบาล. วารสารเกษมบัณฑิต. 2562;20(2):200-9.

ดวงใจ บรรทัพ, จิราพร ชมพิกุล. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ.2535 กรณีศึกษารถสาธารณะชนิดรถแท็กซี่. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2560.

Bloom. Taxonomy Of Educational Objectives, Handbook I: The Cognitive Domain. New York: David McKay Co Inc; 1956.

Best. Research in education. New Jersy: Prentice Hall.Inc; 1997.

อัจฉราวรรณ เมืองมีศรี, สุรชาติ ณ หนองคาย. การรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามกฎหมายว่าด้วยการโฆษณาสถานพยาบาล. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย. 2558;11(1):10-6.

การมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 4 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nso.go.th/nsoweb/nso/survey_detail/jJ.

DIGITAL 2023 THAILAND [อินเทอร์เน็ต]. 2023 [เข้าถึงเมื่อ 20 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.insightera.co.th/digital-2023-thailand/.

สมนึก ฮาเส็ม. การโฆษณาที่ไม่ถูกต้องทางสื่อออนไลน์ของคลินิกเสริมความงาม. 2560.

ชฎากร บุญสิน. การศึกษาประสิทธิผลโปรแกรมส่งเสริมการโฆษณาของสถานพยาบาลเอกชนในจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น. 2564;2(3):42-55.

สยามรัฐ. เอาจริง! จับผิดโฆษณา "คลินิกศัลย์" เกลื่อนโซเชียลฯเว่อร์เจอฟัน! [เข้าถึงเมื่อ 29 มกราคม]. เข้าถึงได้จาก: https://siamrath.co.th/n/21384.

สงวน สุทธิเลิศอรุณ. พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษราพิพัฒน์; 2545.

Goodin M, McAllister I. Evaluating compliance with Australia's first smoke-free public places legislation. Tob Control. 1997;6(4):326-31.

Yapp C, Fairman R. Factors affecting food safety compliance within small and medium-sized enterprises: implications for regulatory and enforcement strategies. Food Control. 2006;17(1):42-51.

Chang S-H, Delgermaa V, Mungun-Ulzii K, Erdenekhuu N, Odkhuu E, Huang S-L. Support for smoke-free policy among restaurant owners and managers in Ulaanbaatar, Mongolia. Tobacco Control. 2009;18(6):479-84.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30