ผลของโปรแกรมการจัดการความเจ็บปวดหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง หอผู้ป่วยสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน

ผู้แต่ง

  • ณัฐชยา แสงสี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ:

โปรแกรมการจัดการความเจ็บปวด, ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง

บทคัดย่อ

     การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ ทำการเก็บข้อมูลทั้งก่อนและหลังการทดลอง Two-group pretest – posttest designs เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการจัดการความเจ็บปวดหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง หอผู้ป่วยสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มละ 30 คน ดำเนินการศึกษาระหว่าง มีนาคม ถึง มิถุนายน พ.ศ. 2567
     ผลการวิจัย มารดาผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง กลุ่มทดลอง ก่อนการใช้โปรแกรม มีความรู้เฉลี่ย 7.7 (S.D.= 1.49) หลังการใช้โปรแกรมมีความรู้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 14.9 (S.D.= 0.35) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระดับ (p-value < 0.0001) ในกลุ่มควบคุม ก่อนการใช้โปรแกรมความรู้เฉลี่ย 8.6 (S.D.= 1.49) หลังการใช้โปรแกรมมีความรู้เฉลี่ย 10.4 (S.D.= 1.49) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p-value < 0.0001) พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยผลต่าง 7.2 เพิ่มขึ้นซึ่งมากกว่ากลุ่มควบคุมมีค่าคะแนนเฉลี่ยผลต่าง 1.8 และเมื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยผลต่างพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p-value < 0.0001) พบว่า คะแนนผลการประเมินความรุนแรงความปวดของหญิงตั้งครรภ์หลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เมื่อครบ 72 ชั่วโมง ค่าคะแนนผลการประเมินความรุนแรงความปวดของหญิงตั้งครรภ์หลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง กลุ่มทดลอง ค่าคะแนนเฉลี่ย 1.0 (S.D.= 0.00) ซึ่งน้อยกว่า กลุ่มควบคุม ที่มีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.9 (S.D.= 0.31) เมื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ย พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทีระดับ .05 (p-value < 0.0001)

References

สุพรรษา จิตรสมและคณะ. 2565. การจัดการความปวดหลังผ่าตัดคลอดบุตร. วารสารศูนย์อนามัย ที่ 9 ปีที่ 16 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2565: 868 – 881.

สุวชัย อินทรประเสริฐ. 2566. คู่มือตั้งครรภ์และเตรียมคลอด. “เจ็บท้องคลอดเป็นอย่างไร”. www.momjunction.com, www.wikihow.com (by Wikivisual) : สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2567.

วรลักษณ์ สมบูรณ์พร. 2562. การผ่าท้องคลอดบุตร การผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง (Caesarean section). แหล่งข้อมูล https://haamor.com/ 27 กรกฎาคม 2562: สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2567.

หอผู้ป่วยสูตินรีเวชกรรม. 2565. สถิติด้านการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง. โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน: สกลนคร.

พิสณุ ฟองศรี. การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์; 2554.

สรายุทธ กันหลง. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือการวิจัยhttp://www.ipernity.com/blog/252172/477413: สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2567.

ยุทธ ไกยวรรณ์. หลักสถิติวิจัยและการใช้โปรแกรม SPSS. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: 2553.

บุญเรียง ขจรศิลป์. เทคนิคการอ่านและตีความหมายจากผลการวิเคราะห์ทางสถิติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ: 2554.

ทวีศักดิ์ แก้วเปี้ย และคณะ. 2566. ผลของโปรแกรมการจัดการความปวดอย่างมีแบบแผนต่อความปวดและการปฏิบัติตนหลังผ่าตัดช่องท้องในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บช่องท้อง. วารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2566: 68 – 81.

สายสมร ศักดาศรี. 2565. ผลของโปรแกรมการจัดการอาการปวดของหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องหอผู้ป่วยนรีเวช โรงพยาบาลน่าน. https:://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://www.nanhospital.go.th/uploads/pdfs/4e34b3f614fb029233e2f4bf78df4971.pdf: 20 มกราคม 2567.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30