สภาพการณ์เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ในมารดาหลังคลอดบุตรคนแรก

ผู้แต่ง

  • นวพร มามาก อาจารย์พยาบาล โครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • สุภาวดี นาคสุขุม อาจารย์พยาบาล โครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • วันเพ็ญ ถี่ถ้วน พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชลบุรี กระทรวงสาธารณสุข
  • อรวรรณ ดวงใจ อาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วงค์ชญพจณ์ พรหมศิลา อาจารย์พยาบาล โครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

คำสำคัญ:

สภาพการณ์เลี้ยงลูกด้วยนมแม่, การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว, มารดาหลังคลอดบุตรคนแรก

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงสำรวจนี้คณะผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในมารดาหลังคลอดบุตรคนแรก กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังคลอดในตึกสูติกรรมหลังคลอด โรงพยาบาลชลบุรี จำนวน 150 ราย เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบความเที่ยงและความเชื่อมั่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาแก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
     ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ลักษณะครอบครัวขยาย อาชีพรับจ้าง ทำงานนอกบ้าน รายได้เฉลี่ยครอบครัว 13,495.42 บาทต่อเดือน (SD = 16,419.5) ความรู้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= =13.86, SD = 1.42) ทัศนคติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x}=63.4, SD = 3.54) การรับรู้สมรรถนะในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x}=51.43, SD= 8.06) ได้รับการสนับสนุนจากพยาบาลระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=8.12, SD = 1.22) ได้รับการสนับสนุนจากสามีระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=5.49, SD= 0.78) คะแนนสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 112 , SD= 13.1) และผลการติดตามอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวที่ 7, 14, 45 วัน และ 6 เดือน พบว่าอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวเท่ากับร้อยละ 78, 79, 40, และ 37 ตามลำดับ  

References

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือฝึกอบรม ในงานอนามัยแม่และเด็ก. กรุงเทพ: สำนักส่งเสริมสุขภาพ; 2559.

World Health Organization. Health topics of breastfeeding. [Internet]. 2016 [cited 2021 Mar 31]. Available from: https://www.who.int/health-topics/breastfeeding#tab=tab_2

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สาธารณสุขร่วมกับเครือข่าย ตั้งเป้าปี 68 เด็กไทยอย่างน้อยร้อยละ 50 กินนมแม่อย่างเดียวถึง 6 เดือน [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2564]. เข้าถึงจาก: https://www.anamai.moph.go.th/mobile_detail.php?cid=76&nid=12470

Centers for Disease Control and Prevention. Breastfeeding and Caring for Newborns [Internet]. 2021 [cited 2021 Mar 31]. Available from: https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/need-extra-precautions/pregnancy-breastfeeding.html#breastfeeding

คณะอนุกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2562-2564. แนวทางเวชปฏิบัติของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่องการดูแลรักษาสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด-19 [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2564]. เข้าถึงจาก: https://www.rtcog.or.th/home/wp-content/uploads/2020/03/CPG-Covid-Preg-20Mar20.pdf

Moore ER, Coty MB. Prenatal and Postpartum Focus Groups with Primiparas: Breastfeeding Attitudes, Support, Barriers, Self-efficacy, and Intention. J Pediatr Health Care. 2006;20(1):35-46.

อุษณีย์ จินตะเวช, เทียมศร ทองสวัสดิ์, ลาวัลย์ สมบูรณ์. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระยะเวลาในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวของมารดาหลังคลอด. พยาบาลสาร. 2557;42(1):133-144.

ภัทรพร ชูประพันธ์, วีณา เที่ยงธรรม, ปาหนัน พิชยภิญโญ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนของแม่ในเขตภาคกลางตอนล่าง. Graduate Research Conference, มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2557;1:1723-1732.

โบว์ชมพู บุตรแสงดี. การส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2557;7(1):1-9.

สุวรรณา ชนะภัย, นิตยา สินสุกใส, นันทนา ธนาโนวรรณ, วรรณา พาหุวัฒนกร. ความรู้ ทัศนคติ การรับรู้สมรรถนะในตนเอง และการสนับสนุนจากสามีและพยาบาล ในการทำนายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 สัปดาห์. Journal of Nursing Science. 2557;32(1):51-60.

อุษา วงศ์พินิจ. บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาล. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2558;8(1):24-33.

อัมพร เกษมสุข, เต็มดวง บุญเปี่ยมศักดิ์, วันเพ็ญ สุขส่ง. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อความเชื่อด้านสุขภาพ และระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี. 2558;40(3):177-184.

อุษณีย์ จินตะเวช, เทียมศร ทองสวัสดิ์, ลาวัลย์ สมบูรณ์. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา และการสนับสนุนทางสังคมต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา และอัตราการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวของมารดาหลังคลอด. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2558;27(2):34-47.

ศิริวรรณ ทุมเชื้อ, อัญญา ปลดเปลื้อง. การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยการสนับสนุนของครอบครัว. วารสารศูนย์การศึกษาแพทย์สาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2558;32(1):6-16.

นวพร มามาก, กมลรัตน์ เทอร์เนอร์. บทบาทพยาบาลกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสามีหรือญาติเพื่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. วารสารกองการพยาบาล. 2559;43(3):114-126.

อารีรัตน์ วิเชียรประภา, ขนิษฐา เมฆกมล, กรรณิการ์ แซ่ตั๊ง, เกษณี พรหมอินทร์, สมลักษณ์ ศรีวิรัญ. รูปแบบการจัดการตนเองของมารดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน: กรณีศึกษามารดาหลังคลอด ตำบลบ่อ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี. 2560;28(2):29-41.

มาลีวัล เลิศสาครศิริ. การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาวัยรุ่นหลังคลอด: บทบาทพยาบาลและครอบครัว. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2562;12(1):1-13.

ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช. คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง (Yamane) 2563 [สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2564]. เข้าถึงจาก: https://hpc11.go.th/me-working-age/yamane/index

Spanier GB. Measuring dyadic adjustment: New scales for assessing the quality of marriage and similar dyads. [Internet]. 1976 [cited 2021 Mar 31]. Available from: https://www.jstor.org/journal/jmarriagefamily

ลำพงษ์ ศรีวงค์ชัย, จันทร์เพ็ญ ชินคำ, อัจฉรา วริลุน, สุรีพร ศรีโพธิ์อุ่น. การพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในมารดาหลังคลอดบุตรคนแรกและครอบครัว. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2564;18(3):99-112.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30